Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11834
Title: | บทบาทของพระแม่เมืองกับความสุขของคนในครอบครัวและคนในบ้านเมือง |
Authors: | ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต |
Email: | [email protected] |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ |
Subjects: | สตรีในวรรณกรรม |
Issue Date: | 2547 |
Publisher: | คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Citation: | วารสารภาษาและวรรณคดีไทย. 21(ธ.ค. 2547),27-65 |
Abstract: | พระแม่เมืองหรือพระมเหสีในวรรคดีนิทานของไทยประเภทลายลักษณ์มีบทบาทสำคัญต่อการรังสรรค์ความสุขของคนในครอบครัวและของคนในบ้านเมือง สำหรับบทบาทในครอบครัวนั้นพระแม่เมืองมุ่งให้เกิดความสุขภายและสุขใจแก่ทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งแก่สวามี พระแม่เมืองช่วยโน้มน้าวใจคนในครอบครัวไม่ให้ทำผิดและช่วยป้องกันภยันตรายต่าง ๆ ให้แก่เขาเหล่านั้น บทบาทดังกล่าวสะท้อนความซื่อสัตย์และความจงรักภักดีที่พระแม่เมืองมีต่อสวามี รวมทั้งความรักและความห่วงใยที่มีต่อคนในครอบครัวนอกจากจะเลี้ยงพระโอรสและพระธิดาให้เติบโตและรู้จักหน้าที่แล้วพระแม่เมืองยังปลูกฝังคุณธรรมให้แก่พระโอรสและพระธิดาด้วย การกระทำดังกล่าวนับว่าช่วยสร้างพลเมืองที่ดีให้แก่สังคมและบ้านเมือง บทบาทที่กล่าวมาข้างต้นเป็นหน้าที่หลักของพระแม่เมืองในฐานะพระมเหสีและพระมารดาซึ่งก็ตรงกับหน้าที่ของภรรยาและของมารดาทั่วไปในสังคม มีข้อสังเกตว่าบทบาทของพระแม่เมืองเพื่อความสุขของคนในครอบครัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อความสุขของสวามีนั้นเป็นเรื่องสำคัญที่มีการเน้นย้ำและปรากฏในคำสอนของพระแม่เมืองที่ทรงสอนพระธิดาให้ทำตามอย่างเมื่อได้เป็นมเหสี บางครั้งพระแม่เมืองช่วยปฏิบัติราชกิจและให้กำลังใจสวามีหรือพระญาติวงศ์ให้ปฏิบัติภารกิจได้สำเร็จ นอกจากนี้พระแม่เมืองยังสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ในขณะที่สวามีทรงแก้ไขไม่ได้ ลักษณะเช่นนี้สะท้อนให้เห็นความมีสติในช่วงวิกฤต ความฉลาด และความเป็นผู้นำ แม้ว่าตามปรกติจะเป็นเพียงผู้ตามที่ดีของสวามีเท่านั้น ส่วนด้านความสุขของคนในบ้านเมือง พระแม่เมืองสามารถปกครองประเทศได้ในขณะที่พระสวามีมิได้อยู่ในบ้านเมืองหรือเจ็บป่วย นอกจากนี้ยังสามารถสรรหาคนที่ดีมาเป็นกษัตริย์พระองค์ใหม่แทนที่กษัตริย์พระองค์เดิมที่สวรรคต นอกเหนือจากนี้พระแม่เมืองบางองค์ยังสามารถต่อสู้กับศัตรูของบ้านเมืองได้อีกด้วย แม้ว่าบทบาทข้อหลังนี้จะพบน้อยในวรรณคดีนิทานสมัยโบราณแต่ก็เห็นได้ชัดเจนในวรรณคดีสมัยรัตนโกสินทร์บางเรื่อง ซึ่งเป็นสมัยที่สถานภาพและความรู้ของผู้หญิงมีสูงกว่าในสมัยก่อน หน้าที่พิเศษดังกล่าวสะท้อนบทบาทของของพระแม่เมืองนอกเหนือจากที่มีอยู่ในครอบครัวแล้วยังแสดงถึงความรักที่มีต่อราษฎรและความสามารถด้านการปกครองที่ทัดเทียมชาย การศึกษาครั้งนี้ทำให้เห็นพฤติกรรม ความมีน้ำใจ และความฉลาดของพระแม่เมืองในฐานมเหสี พระมารดา และผู้ปกครองที่มีอิทธิพลต่อความสุขสมบูรณ์ ของคนในครอบครัวและของคนในบ้านเมืองอย่างชัดเจน |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11834 |
ISSN: | 0857-0086 |
Type: | Article |
Appears in Collections: | Arts - Journal Articles |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Chonlada_bod.pdf | 22.24 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.