Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11881
Title: | เซลล์ต้นกำเนิดตัวอ่อน : รายงานวิจัย |
Other Titles: | Embryonic stem cell |
Authors: | กำธร พฤกษานานนท์ รัฐจักร รังสิวิวัฒน์ ปราณี นำชัยศรีค้า วิชชุดา อานนท์กิจพานิช ประมวล วีรุตมเสน |
Email: | [email protected] [email protected] ไม่มีข้อมูล ไม่มีข้อมูล ไม่มีข้อมูล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Subjects: | สเต็มเซลล์ตัวอ่อน |
Issue Date: | 2550 |
Publisher: | คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | เซลล์ต้นกำเนิดตัวอ่อนมนุษย์ เป็นเซลล์ที่แยกได้จากเซลล์ของตัวอ่อนในระยะก่อนฝังตัว เซลล์ ต้นกำเนิดตัวอ่อนแสดงคุณสมบัติที่สำคัญคือ สามารถแบ่งตัวได้โดยไม่มีขีดจำกัด และสามารถเปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์ทุกชนิดที่พบในร่างกาย ปัจจุบันเซลล์ต้นกำเนิดตัวอ่อนถูกสร้างขึ้นในห้องปฏิบัติการในหลายๆ ประเทศ ประเทศไทยมีศักยภาพเพียงพอที่จะสร้างเซลล์ต้นกำเนิดมนุษย์เพื่อใช้ในการวิจัยทางด้านชีววิทยาโมเลกุล การพัฒนาของตัวอ่อน หรือเพื่อการรักษาโดยใช้เซลล์ การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะสร้างสายพันธุ์เซลล์ต้นกำเนิดจากตัวอ่อนมนุษย์ โดยแบ่งการศึกษาออกเป็นสองระยะ ระยะแรกศึกษาสภาวะที่เหมาะสมที่คาดว่าน่าจะสามารถสร้างเซลล์ต้นกำเนิดตัวอ่อนได้ โดยเลือกใช้ตัวอ่อนกลุ่มที่มีการเจริญผิดปกติ หลังการปฏิสนธิภายนอกร่างกาย ทดสอบวิธีการแยกและเลี้ยงเซลล์ inner cell mass บนเซลล์พี่เลี้ยงชนิดต่างๆ กัน นำผลที่ได้ประยุกต์ใช้กับการวิจัยในระยะที่สอง ซึ่งระยะนี้ใช้ตัวอ่อนกลุ่มที่มีการเจริญเป็นปกติหลังการปฏิสนธิภายนอกร่างกาย และได้รับการแช่แข็งมาก่อน ผลการวิจัยในระยะแรกใช้ตัวอ่อนที่เจริญผิดปกติจำนวนสิบตัวอ่อน พบว่าตัวอ่อนที่เซลล์ inner cell mass ถูกแยกด้วยวิธี immunosurgery ไม่สามารถเกาะบนเซลล์พี่เลี้ยง ตัวอ่อนที่ไม่สามารถแยกเซลล์ inner cell mass และเลี้ยงร่วมกับเซลล์พี่เลี้ยงทั้งใบสามารถเกาะบนเซลล์พี่เลี้ยงจำนวนแปดในเก้าใบ และหนึ่งใบสามารถสร้างกลุ่มเซลล์ที่มีลักษณะคล้ายเซลล์ต้นกำเนิดระยะแรก แต่เกิดการ differentiation หลังจาก passage ที่หนึ่ง การวิจัยระยะที่สองใช้ตัวอ่อนที่เจริญปกติและผ่านการแช่แข็งทั้งหมดยี่สิบหกตัวอ่อน พบว่าตัวอ่อนยี่สิบสามตัวอ่อนสามารถเกาะบนเซลล์พี่เลี้ยง ตัวอ่อนสามารถสร้างกลุ่มเซลล์ที่มีลักษณะคล้ายกับเซลล์ต้นกำเนิดตัวอ่อนในระยะแรกจำนวนสามกลุ่มเซลล์ และในจำนวนสามกลุ่มเซลล์นี้สามารถร้างเซลล์ต้นกำเนิดตัวอ่อนได้หนึ่งเซลล์ไลน์ ซึ่งเซลล์ไลน์ดังกล่าวนี้ได้ทดสอบคุณลักษณะบางประการพบว่าให้ผลบวกต่อ alkaline phosphatase และ Oct-4 นอกจากนั้นยังสามารถเปลี่ยนแปลง เป็นโครงสร้างที่เรียกว่า embryoid body ซึ่งเป็นความสามารถในการเปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์ที่ทำหน้าที่จำเพาะ ขณะนี้เซลล์ไลน์ดังกล่าวกำลังถูกเพิ่มจำนวนและทดสอบคุณสมบัติของการเป็นเซลล์ต้นกำเนิดตัวอ่อนเพิ่มเติม เพื่อใช้ในกระบวนการวิจัยในขั้นตอนต่อไป |
Other Abstract: | Human embryonic stem cells (hESCs) can be derived from the pluripotent cels of pre-implantation embryos. These hESCs can be renew themselves indefinitely and differentiated into variety of cell types in human body. To date, hESC lines have been derived in many laboratories around the world. Thailand has the potential to derived hESCs and those hESCs can be used for studying biomedical, embryo development or cell therapy. This study was aimed to find the most suitable conditions for derivation of hESCs. The study was divided into two experiments, experiment 1, culturing the abnormal development of fertilized emryos on different type of feeder cels and investigatation the effect of inner cel mass (ICM) isolation method on the derivation of hESCs. Experiment II, isolation of hESCs from frozen-thawed normal development of fertilized embryos. The results in experiment showed that the ICM which isolated by immunosurgery method cannot attached on the feeder. while eight out of nine which the whole blastocyst have been cultured can attached on the feeder. One blastocyst can form outgrowth but differentiated after first passaging. Experiment II, twenty-three out to twenty-six frozen thawed normal development of fertilized embryos attached on the feeder layer. Three outgrowths were formed after initial plating and on hESC line was established. This newly established hESC line was characterized and showed positive results for alkaline phosphatase and Oct-4 staining. Furthermore, this hESC line was able to form embryoid body which confirms their differentiation potential and this new hESC line is undergoing for characterization. |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11881 |
Type: | Technical Report |
Appears in Collections: | Med - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
kumthorn_embryonic50.pdf | 2.52 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.