Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12032
Title: แผนการวิจัยเรื่อง การศึกษาภูมิคุ้มกันวิทยาเชิงลึกของโรคเท้าช้าง : มุ่งสู่การป้องกันภาวะเท้าช้างและการกำจัดโรคอย่างถาวร : รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
Other Titles: การศึกษาภูมิคุ้มกันวิทยาเชิงลึกของโรคเท้าช้าง : มุ่งสู่การป้องกันภาวะเท้าช้างและการกำจัดโรคอย่างถาวร
Advanced immunological study of lymphatic filariasis : towards prevention of chronic pathology and permanent disease elimination
Authors: สุรางค์ นุชประยูร
Email: [email protected]
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Subjects: โรคเท้าช้าง
วิทยาภูมิคุ้มกัน
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: โรคเท้าช้าง (Lymphatic filariasis) เกิดจากหนอนพยาธิ 2 ชนิดหลักคือ Wuchereria bancrofti และ Brugia malayi ทางองค์การอนามัยโลกได้กำหนดให้โรคเท้าช้างเป็นโรคทางปรสิตที่ควรกำจัดให้หมดไปภายในปี พ.ศ. 2563 โดยมีแนวทางหลักในการควบคุมและป้องกันโรคเท้าช้างคือการจัดให้มีโปรแกรมการรักษาแบบหมู่ โดยให้ยา diethylcarbamazine (DEC) ร่วมกับยา albendazole แก่ประชากรในพื้นที่ที่มีความชุกของโรคสูง และการควบคุมพยาธิภาวะ ปัญหาที่สำคัญของการรักษาโรคเท้าช้างคือ การใช้ยา DEC ที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาหลังการรักษา กลไกของการเกิดพยาธิสภาพของโรคและการเกิดปฏิกิริยาหลังการรักษายังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดได้ จึงเป็นอุปสรรคที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการกำจัดโรคเท้าช้าง การศึกษาภูมิคุ้มกันวิทยาเชิงลึกของโรคเท้าช้างจะช่วยให้การกำจัดโรคสำเร็จลงได้อย่างยั่งยืน การศึกษานี้ได้สำรวจโรคเท้าช้างในประชากรทั้งหมด 7,898 ราย (อายุ 22.63+-16.56; 1-80 ปี) ที่อาศัยอยู่ใน 6 อำเภอซึ่งเป็นแหล่งชุกชุมของโรคเท้าช้าง ได้แก่ อำเภอแม่สอด พบพระ ท่าสองยาง แม่ระมาด อุ้มผาง ในจังหวัดตากและอำเภอสังขละบุรีในจังหวัดกาญจนบุรี พบโรคเท้าช้างในประชากรจำนวน 49 ราย คิดเป็นอัตราความชุก 0.62% โดยเป็นเพศชาย 36 ราย (73.5%) (อายุ 32.22+-17.47; 4-80 ปี) และเพศหญิง 13 ราย (26.5%) (อายุ 33.54+-16.28; 13-60 ปี) และจากการติดตามการรักษาในประชากรจำนวน 65 ราย พบการเกิดปฏิกิริยาหลังการรักษาในประชากรจำนวน 17 ราย (26.2%) จากการศึกษารูปแบบการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันของโรคเท้าช้าง พบระดับไซโตไคน์ที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบ ได้แก่ interleukin-6 (IL-6) และ tumor necrosis factor-alpha (TNF-alpha) สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในผู้ป่วยโรคเท้าช้างที่มีพยาธิสภาพเรื้อรัง (โครงการย่อยที่ 1) และได้ทบทวนวรรณกรรมตลอดจนค้นหาจากฐานข้อมูลได้ยีน peptidoglycan-associated lipoprotein (pal) และ heat shock protein 60 (hsp60) ที่น่าสนใจเพื่อโคลนและสร้างโปรตีนที่ใช้ศึกษาทางอิมมูนวิทยา (โครงการย่อยที่ 2) ตลอดจนได้ยีนเป้าหมาย (toll-like receptor 2; tlr-2) ในศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรม (โครงการย่อยที่ 3) โครงการ “การศึกษาภูมิคุ้มกันวิทยาเชิงลึกของโรคเท้าช้าง : มุ่งสู่การป้องกันภาวะเท้าช้างและการกำจัดโรคอย่างถาวร” ซึ่งประกอบด้วย 3 โครงการย่อยนี้เป็นโครงการวิจัยต่อเนื่อง 3 ปี (พ.ศ. 2550-2552) ขณะนี้อยู่ในระหว่างการศึกษาระดับไซโตไคน์ที่เกี่ยวข้องกับการต้านการอักเสบและระดับแอนติบอดีต่อแบคทีเรียโวลบาเชียในผู้ป่วย นอกจากนี้ได้ศึกษาโปรตีนทั้งหมดของพยาธิโรคเท้าช้างและแบคทีเรียโวลบาเชียเพื่อหาโปรตีนเป้าหมายที่สำคัญต่อการเกิดพยาธิสภาพของโรคเท้าช้างต่อไป รวมทั้งได้คัดเลือกยีนในระบบภูมิคุ้มกันที่สัมพันธ์กับการเกิดพยาธิสภาพของโรค และการเกิดปฏิกิริยาหลังการรักษาของโรคเท้าช้าง เพื่อศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรม และพัฒนาตัวติดตามเพื่อพยากรณ์การเกิดภาวะเท้าช้างและการเกิดปฏิกิริยาหลังการรักษาต่อไป
Other Abstract: Lymphatic filariasis, caused by Wuchereria bancrofti and Brugia malayi, is targeted to be eliminated globally as a public health problem by the year 2020. The main intervention tool employed by the national elimination program is mass drug administration (MDA) of diethylcarbamazine (DEC) and albendazole to endemic populations, and control of morbidity. One of the serious concerns with this mass chemotherapeutic approach to control lymphatic filariasis is that it can be accompanied by adverse reactions, thus, compromising compliance. However, the exact etiology of the adverse reactions is largely unknown. Advanced researches on immunology, and pathogenesis in lymphatic filariasis are needed to develop potential tools to sustain success in lymphatic filariasis elimination. In this study, the results of the evaluation of the bancroftian filariasis elimination program in Thailand were analysed. All of 7,898 individuals (age 22.63+-16.56; 1-80 yrs) from 6 districts in Tak (Mae Sot, Phop Phra, Tha Song Yang, Mae Ramat, and Umphang districts), and Kanchanaburi province (Sangklaburi district), Thailand, were screened for circulating filarial antigenemia. The prevalence of bancroftian filariasis was 0.62%. Out of the 49 antigenemic cases, there were 36 (73.5%) males (age 32.22+-17.47; 4-80 yrs) and 13 (26.5%) females (age 33.54+_16.28; 13-60 yrs). Of the 65 follow-up patients, adverse reactions were recorded in 17 (26.2%). The interleukin-6 (IL-6) and tumor necrosis factor-alpha (TNF-alpha) levels were significantly increased in the patients with chronic pathology compared to the endemic normals (p<0.05) (subproject 1). Analysis of available database suggested that peptodiglycan-associated lipoprotein (pal) and heat shock protein (hsp60) were interesting genes for cloning and expression for immunological study (subproject 2). Furthermore, the toll-like receptor-2 (tlr-2) was a candidate gene to study polymorphism. (subproject 3). This project is a 3-year project (2550-2552). The levels of anti-inflammatory cytokines and antibodies against Wolbachia are under investigation. Furthermore, proteomic studies of filarial and Wolbachia proteins were performed to identify the target antigens associated with the pathology and adverse reactions. Moreover, the immunological genes associated with the pathology and adverse reactions were analysed to study single nucleotide polymorphism (SNP) and further develop the biomarkers for chronic pathology and adverse reactions.
Description: คณะผู้ร่วมวิจัย: จินตนา จิรถาวร, อนุพงค์ สุจริยากุล, วิวรพรรณ สรรประเสริฐ, พรพรรณ จรัสสิงห์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12032
Type: Technical Report
Appears in Collections:Med - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Surang_advan50.pdf4.75 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.