Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12318
Title: | การนำเสนอรูปแบบกระบวนการพัฒนาประชาสังคมสำหรับสภาวัฒนธรรมจังหวัด |
Other Titles: | Proposed process models of civil society development for provincial cultural councils |
Authors: | กาสัก เต๊ะขันหมาก |
Advisors: | ชนิตา รักษ์พลเมือง นันทสาร สีสลับ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | [email protected] ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | วัฒนธรรม สภาวัฒนธรรมจังหวัด การเรียนรู้ ประชาสังคม |
Issue Date: | 2541 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบกระบวนการพัฒนาประชาสังคมเพื่อการดำเนินงานวัฒนธรรมของสภาวัฒนธรรมจังหวัด และศึกษาความเป็นไปได้และปัจจัยเงื่อนไขที่เกี่ยวข้อง โดยเลือกสภาวัฒนธรรมจังหวัด 6 แห่งเป็นกรณีศึกษาคือเชียงราย ลพบุรี นครปฐม สุโขทัย น่าน และนนทบุรี ใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจและเชิงคุณภาพ โดยวิธีการศึกษาเอกสาร สัมภาษณ์กลุ่ม สังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม และการศึกษาความคิดเห็นจากเครือข่ายเครือญาติภาคีสมาชิก และกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านวัฒนธรรม ด้านกระบวนการเรียนรู้ และด้านการพัฒนาประชาสังคม รูปแบบกระบวนการพัฒนาประชาสังคมสำหรับสภาวัฒนธรรมจังหวัดที่นำเสนอ ได้รับการตรวจสอบความเป็นไปได้และปัจจัยเงื่อนไขจากกลุ่มผู้กำหนดนโยบายในการดำเนินงานวัฒนธรรม และกลุ่มผู้ปฏิบัติงานในการพัฒนาประชาสังคมสำหรับสภาวัฒนธรรมจังหวัด ผลการวิจัยพบว่า 1. การเกิดขึ้นของประชาสังคมสำหรับสภาวัฒนธรรมจังหวัดนอกจากจะเกิดจากการส่งเสริมและสนับสนุนของสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติแล้ว สิ่งสำคัญคือความตระหนักในคุณค่าและความสำคัญของงานวัฒนธรรมของหน่วยงาน และองค์กรทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคชุมชน ภาคธุรกิจและภาควิชาการที่มาร่วมกันปรึกษาหารือและตกลงจัดตั้งสภาวัฒนธรรมจังหวัดขึ้น โดยมีการกำหนดวัตถุประสงค์ ข้อตกลงร่วมกัน และมีกรรมการบริหารเป็นผู้รับผิดชอบการดำเนินงาน 2. ประชาสังคมเพื่อการดำเนินงานวัฒนธรรมของสภาวัฒนธรรม สามารถพัฒนา ขยายและดำรงอยู่จนสามารถรับผิดชอบการดำเนินงานวัฒนธรรมของท้องถิ่นและของจังหวัดได้ โดย 2.1 การสร้างเครือข่ายเครือญาติภาคีสมาชิกทั้งในแนวตั้งและแนวนอนให้สามารถ "ถักทอ" และ "เชื่อมโยง" กันได้อย่างแข็งแรง และจัดโครงสร้างการบริหารให้สอดรับกับชีวิตวัฒนธรรม จนสร้างจิตสำนึกและความมั่นใจในการดำเนินงานวัฒนธรรม เกิดการรวมตัวกัน และมีการเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายดำเนินงานวัฒนธรรม 2.2 การมีกระบวนการเพื่อให้สามารถดำเนินงานวัฒนธรรมได้ ซึ่งประกอบด้วย (1) กระบวนการทางวัฒนธรรม ได้แก่ กระบวนการถ่ายทอดวัฒนธรรม กระบวนการสร้างสรรค์ทางวัฒนธรรมและกระบวนการปรับปรนทางวัฒนธรรม (2) กระบวนการเรียนรู้ ได้แก่ การจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่อง การประชุมสัมมนา การศึกษาดูงาน การใช้สื่อและสื่อสารมวลชน โดยมีลักษณะเป็นกระบวนการกลุ่ม การดำเนินงานวัฒนธรรมจริง จากปัญหาในชีวิตจริงและเชื่อมโยงเป็นเครือข่าย (3) กระบวนการจัดการ ได้แก่ การสร้างและจูงใจให้ดำเนินงานวัฒนธรรมตามภาระหน้าที่และรวมตัวกันเป็นสภาวัฒนธรรมจังหวัด การจัดลำดับความสำคัญของวัตถุประสงค์ การปรับตัวเข้ามาซึ่งกันและกัน และการจัดรูปแบบความสัมพันธ์ในแนวนอนมากกว่าแนวตั้ง 3. ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง คือ 3.1 ปัจจัยภายใน ได้แก่ ผู้นำซึงเป็นประธานและคณะกรรมการบริหาร การประชุมปรึกษาหารือกันเป็นเนืองนิจ การขยายและเชื่อมโยงเครือข่ายเครือญาติ การดำเนินงานวัฒนธรรมที่แก้ปัญหาและพัฒนาวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่น การมีส่วนร่วมของเครือข่ายเครือญาติาภาคีสมาชิกและประชาชน และการมีกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรมจังหวัด 3.2 ปัจจัยภายนอก ได้แก่ การส่งเสริมและสนับสนุนจากนโยบายของรัฐ และจากองค์กรเกี่ยวข้อง |
Other Abstract: | The objectives of this study were to develop process models of civil society for provincial cultural councils as well as to study the possibilities and related factors in applying the models. Six provincial cultural councils from Chiang Rai, Lopburi, Nakhon Pathom, Sukhothai, Nan and Nonthaburi were selected as case studies. Qualitative research methodologies namely, documentary study, in-depth interview and non-participant observation, as well as questionniares were imployed to collect the data. The proposed process medels were validated by means of group interview of cultural policy makers and those participated in provincial cultural councils' activities. Findings were as follows: 1. Civil society for provincial cultural councils was originated and supported by the Office of the National Culture Commission. But, most important was the awareness of cultural values of the 5 parties: namely the public, private, business, community, an academic sectors, who must seek an agreement upon organizing the cultural councils and sharing their constituted commitment. 2. Civil society for provincial cultural councils could be developed, expanded and sustained through the formulation of the following processes. 2.1 Building networks among the parties, both horizontally and vertically, in order that they could "weave" and "link" strongly together. When combinding with the organization structured in line with their cultural life, the civil society would become concious and have confidence in implementating cultural activities. They would form active groups and linkages for activities. 2.2 The processes essential for implementing cultural activiites of the civil society consisted of: (1) The cultural process-cultural transmission, cultural acculturation and cultural adjustment. (2) The learning process-continuing cultural activities, conferences, group discussions, study tour, and utilization of media and mass media. These processes should be on group bases and the activities should be based onthe real-situation problems and linkages of the networks. (3) The management process-initiating and encouraging sensitivities in binding people into networking for cultural activities, prioritizing the organization objectives and formulating horizontal rather than vertical relationships among the participants. 3. Some important factors affecting the success of civil society were: (1) internal factors-civil society leaders, both the President and the Executive Board, continuing group meetings and discussions, extension and linkages of network, cultural activities organized to solve problems and develop the way of community living, the community participation of network and the provision of provincial cultural promotion fund and (2) extenal factors-the promotion and support from the state policy and related organizations. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | พัฒนศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12318 |
ISBN: | 9743314776 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Kasak_Te_front.pdf | 1.17 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Kasak_Te_ch1.pdf | 1.17 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Kasak_Te_ch2.pdf | 3.16 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Kasak_Te_ch3.pdf | 1.59 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Kasak_Te_ch4.pdf | 8.8 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Kasak_Te_ch5.pdf | 3.74 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Kasak_Te_ch6.pdf | 2.35 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Kasak_Te_ch7.pdf | 1.84 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Kasak_Te_back.pdf | 938.65 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.