Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12983
Title: ผลิตภัณฑ์เจลและแผ่นแปะแผลของสารสกัดพอลิแซคคาไรด์จากเปลือกทุเรียน : รายงานการวิจัย
Other Titles: Gel and dressing patch of polysaccharide gel from durian fruit-hulls
Authors: สุนันท์ พงษ์สามารถ
พนิดา วยัมหสุวรรณ
นฤพร สุตัณฑวิบูลย์
Email: [email protected]
[email protected]
[email protected]
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์
Subjects: โพลิแซคคาไรด์
แผ่นปิดแผล
เปลือกทุเรียน -- วิเคราะห์และเคมี
Issue Date: 2549
Publisher: คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การสกัดสารเจลพอลิแซกคาไรด์ หรือ PG จากเปลือกของผลทุกเรียน (Durio zibethinus Murr.) ได้สารสกัด PG 9-10% ของน้ำหนักเปลือกแห้ง เตรียมผล PG ด้วยวิธีอบแห้งและป่นเป็นผงได้ผงสีขาวอมส้มของ PGมีขนาด 222.28-301.68 µm สมารถเตรียมผงแห้ง microparticle ของ PG ได้โดยวิธี spry dried โดยใช้ 0.5% ของสารละลาย PG ในน้ำ จากการวิเคราะห์ทางเคมี พบว่า PG เป็นสารคาร์โบไฮเดรตพวก polysaccharide องค์ประกอบมีโครงนร้างของ α-helix และมีน้ำตาลพวก uronic acid มี aldose และ ketose sugar และ pentose sugar มีองค์ประกอบของแร่ธาตุ ได้แก่ Na Ca เป็นส่วนใหญ่ มี K และ Mg ปานกลาง แร่ธาตุที่พบน้อย คือ Fe Zn Cu และ Mn ผง PG เมื่อละลายในน้ำจะพองตัวและมีลักษณะเป็นเจลข้นหนืด PG มีคุณสมบัติของการก่อเจลได้ มีลักษณะการไหลแบบ Non-newtonian ชนิด pseudoplastic PG มีรูปแบบของ IR Rpectra เป็นลักษณะเฉพาะของสาร pectic polysaccharide ปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อความหนืดของ PG ได้แก่ กรด-ด่าง electrolytes โดยเฉพาะ divalent cation จะเพิ่มความหนืดของ PG แอลกอฮอล์พวก ethanol และ isopropanol จะเพิ่มความหนืดและที่ความเข้มข้นสูงจะตกตะกอน PG รวมทั้งอุณหภูมิมีผลต่อความหนืด ที่อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส จะลดความหนืดของ PG แต่เมื่อลดอุณหภูมิลงความหนืดกลับเพิ่มขึ้นคงเดิม แต่ที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส จะทำให้ความหนืดลดลงอย่างถาวร PG มีคุณสมบัติของสารก่อฟิล์มสามารถนำมาขึ้นรูปเป็นแผ่นฟิล์มบางได้ การเติม plasticizer ได้แก่ glycerin propylene glycol PEG 400 หรือ PEG 6000ที่ความเข้มข้น 10, 15, 30 หรือ 2% ของน้ำหนัก PG จะทำให้ได้แผ่นฟิล์มที่มีคุณสมบัติที่ดีขึ้น มีความอ่อน ยืดหยุ่น และแข็งแรงมากขึ้น ไม่แข็งและเปราะง่าย การเตรียมตำรับเจลจาก PG สามารถพัฒนาสูตรตำรับ PG gel base ได้ผลิตภัณฑ์เจลที่น่าพอใจเป็นเจลใสสีเหลืองอ่อน มีความคงตัวดีหลังการทดสอบ stability test โดยผ่าน Heating-cooling cycle 4 รอบ สามารถเตรียมสูตรตำรับ PG gel/Sa และ PG gel/LA ที่ผสมตัวยาลอกผิว Salicylic acid และ Lactic acid ตามลำดับได้ผลิตภัณฑ์ที่น่าพอใจมีความคงตัวดี การเตรียมผลิตภัณฑ์แผ่นแปะเยื่อเมือกช่องปากที่ผสมตัวยา Triamcinolone acetonide และตัวยา Micoazole ได้ผลิตภัณฑ์แผ่นแปะที่ปลดปล่อยตัวยา triamcinolone และ miconazole ได้หมดในระยะเวลารวม 2 ชม. และ 20 ชม. ตามลำดับ
Other Abstract: Polysaccharide gel (PG) was extracted from fruit-hulls of Durian (Durio zibethinus Murr.), total yield of PG was 9-10% of dried fruit-hulls. PG powder was prepared by hot-air oven dried of PG and group to powder. The pale beige color powder with 222.28-301.68 µm diameter was obtained. Microparticle of PG was also prepared by spray dried of 0.5% PG solution. Chemical analysis indicated that PG was carbohydrate of polysaccharide with α-helical structure, sugar compositions were uronic acid, aldose and ketone sugars and pentose sugar. Mineral contents were Na and Ca as a major content and the other lower content was K and Mg, while Fe, Zn, Cu and Mn were very low in PG. PG was swelled and dissolved in water to from a viscous gel. PG showed property of gelling agent with pseudoplastic behavior type of rheology. The profile of IR Spectra showed specific band of pectic polysaccharide. Factors effecting the viscosity of PG was acid-base; electrolytes, especially divalent cations increased PG viscosity; alcohol, ethanol and isopropanol increased viscosity but at high alcohol concentration precippitated PG. Increasing temperature to 70 oc resulted in decreasing viscosity of PG but viscosity was reversed to normal after cool down to room temperature. At high temperature of 100 oc permanently decreased viscosity of PG. PG exhibited film forming property, a thin film was cast on glass plate from PG casting solution. Plasticizer such as glycerin, propylene glycol, PGE 400 or PGE 6000 at concentration of 10, 15, 30 or 2 % based on PG weight was used to increase softness, elasticity and toughness of PG film. Formation of PG gel base was developed, the gel product was satisfactorily prepared. A pale yellow clear gel was obtained. The PG gel base product was stable after testing stability by Heating-cooling Cycle for 4 cycle. Formation of PG gel/SA and PG gel/LA adding with keratolytic drugs such as salicylic acid and lactic acid, respectively, were developed successfully. Formation of dressing film adding with salicylic acid was also developed, satisfactory dressing film was successfully prepared. Formulation of mucoadhesive films adding drugs, triamcinolone acetonide or micronazole, were satisfactorily prepared. The mucoadhesive films released triamcinolone and miconazole by 2 hrs and 20 hrs, respectively.
Description: ผู้ช่วยงานวิจัย: วราภรณ์ เกิดดิษฐ์, จิตติมา เลิศชัยพร, ธนพร เตชะทวีไพศาล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12983
Type: Technical Report
Appears in Collections:Pharm - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sunant_Gel.pdf5.86 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.