Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14673
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปทีป เมธาคุณวุฒิ-
dc.contributor.advisorวิจิตร ศรีสอ้าน-
dc.contributor.authorอลงกต ยะไวทย์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2011-02-22T08:57:58Z-
dc.date.available2011-02-22T08:57:58Z-
dc.date.issued2549-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14673-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549en
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ของการวิจัยเป็นการศึกษาพัฒนาการการสร้างประสบการณ์วิชาชีพให้กับนักศึกษา และแนวคิดการจัดสหกิจศึกษาของสถาบันการศึกษาทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ด้วยการเปรียบเทียบสมรรถนะการจัดการสหกิจศึกษาระหว่างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีกับสถาบันอุดมศึกษาต่างประเทศ และนำเสนอรูปแบบการจัดการสหกิจศึกษาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ศึกษาเฉพาะวิธีการจัดการสหกิจศึกษาขององค์กรหรือหน่วยงานกลางที่ทำหน้าที่ประสานงานสหกิจศึกษาภายในสถาบันอุดมศึกษาเพื่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษากับสถานประกอบการในการสร้างประสบการณ์วิชาชีพให้กับนักศึกษาเฉพาะหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต ที่มีระยะเวลาการศึกษาตลอดหลักสูตร 4 ปีการศึกษาขึ้นไป ในการวิจัยได้ทำการศึกษาทฤษฎีการเรียนรู้ที่เน้นประสบการณ์และทฤษฎีการเรียนรู้ที่เน้นสภาพจริง และรูปแบบการจัดการสหกิจศึกษาของมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก 19 สถาบัน เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการจัดการสหกิจศึกษาใน 3 กระบวนการหลัก คือ (1) การจัดการองค์กรประสานงานสหกิจศึกษา (2) การจัดการกิจกรรมสหกิจศึกษา และ (3) การจัดบริการงานและอาชีพที่ต่อเนื่องจากสหกิจศึกษา ปัจจัยแห่งความสำเร็จที่ได้จากความวิเคราะห์จะถูกพัฒนาไปเป็นตัวชี้วัดการจัดการสหกิจศึกษา ซึ่งประกอบด้วยเกณฑ์การพิจารณา ระดับ และค่าน้ำหนัก แล้วทำการปรับปรุงตามความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ หลังจากการรวบรวมข้อมูลจากสถาบันต่างๆพบว่ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสวินเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย เป็นสถาบันที่มีการจัดการสหกิจศึกษาที่ดีและได้รับการยอมรับจากทั่วโลก จึงเลือกเป็นคู่เปรียบเทียบสมรรถนะกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จากการรวบรวมข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เอกสาร การสัมภาษณ์ และการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานจากบุคคลทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งสองมหาวิทยาลัย พบว่าวิธีการจัดการของสุรนารีต่ำกว่าสวินเบิร์น 15 ตัวชี้วัด เท่ากัน 7 ตัวชี้วัด และสูงกว่า 1 ตัวชี้วัด โดยสุรนารีมีค่าคะแนนรวม 70.30 คะแนน สวินเบิร์น 95.30 คะแนน มีช่วงห่างโดยรวม 25 คะแนน จึงนำวิธีการจัดการที่ดีของแต่ละมหาวิทยาลัยมาพัฒนาเป็นร่างรูปแบบการจัดการสหกิจศึกษา แล้วนำมาหาความต้องการร่วมกันของผู้ที่เกี่ยวข้อง และตรวจสอบรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จนได้รูปแบบการจัดการสหกิจศึกษาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีที่เป็นวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุดดังนี้ (1) การบริหาร การจัดการโครงสร้างองค์กร และการบริหารกลยุทธ์ของหน่วยประสานงานสหกิจศึกษา (2) การกำหนดตำแหน่งและแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบของบุคลากร (3) การจัดทรัพยากรและระบบสารสนเทศสนับสนุนกิจกรรมสหกิจศึกษา (4) การจัดภาคปฏิบัติงานสหกิจศึกษา (5) การจัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมนักศึกษาก่อนไปปฏิบัติงาน (6) การจัดหางานที่เอื้อต่อการเรียนรู้จากประสบการณ์ (7) การให้คำปรึกษาและแก้ไขปัญหา (8) การจัดกิจกรรมคัดเลือกนักศึกษาเข้าปฏิบัติงานในสถานประกอบการ(9) การจัดประสบการณ์วิชาชีพให้กับนักศึกษาในสถานประกอบการ (10) การจัดค่าตอบและสวัสดิการให้กับนักศึกษา (11) การจัดนิเทศงานสหกิจศึกษา (12) การประเมินผลประสบการณ์ที่นักศึกษาได้รับ (13) การปฏิบัติงานสหกิจศึกษาต่างประเทศ (14) การจัดกิจกรรมให้บริการงานและอาชีพที่ต่อเนื่องจากสหกิจศึกษาen
dc.description.abstractalternativeThe objective of this research is to study the development of co-operative educational management models providing professional experience for students in higher educational institutions both in Thailand and in other countries by benchmarking the competency of co-operative education management between Suranaree University of Technology and other foreign higher educational institutions and proposing the constructed model of the co-operative educational management. The study concentrates on only specific methods of the coordinating centers of co-operative education units within higher education institutions which coordinate between the institutions and the entrepreneurs in order to provide the professional experiences for only students in the four-year Bachelor of Engineering Degree program. In this research, experiential learning theory, authentic learning theory and models of nineteen higher educational institutions that are the world leaders in co-operative educational management have been studied. This study aims to analyze the key success factors of co-operative educational management in three important processes as follows: (1) The management of co-operative educational unit, (2) The management of cooperative educational activities, and (3) The management of job and career service after cooperative educational activities. Key success factors have been developed into co-operative educational management indicators consisting of criteria, level, and weighted value. All the indicators have been adjusted by the expert opinions. After collecting some data from the higher education institutions worldwide, it was found that Swinbume University of Technology, Australia possessed the best practice of co-operative educational management and this institution is recognized. Therefore, it is chosen as a benchmark for comparison with Suranaree University of Technology. According to the data collection by the document analysis, interview, and participation from all related parties of both universities who perform the duties, the research has shown that the method of co-operative education management of Suranaree is lower than that of Swinburne for 15 indicators, 7 indicator are equal, and 1 indicator is higher than that of Swinburne. The overall score of Suranaree and Swinburne was 70.30 and 95.30, respectively so this means the total gap was 25 scores. The best practices from each university are developed into the draft of co-operative education model in order to come up with the co-operative requirement among parties, and the pattern is examined by the expert. The result from the study was considered the best practices of co-operative education management model for Suranaree University of Technology as follows, (1) Administration, organizational structure, and strategic management of the co-operative educational unit, (2) Identification of positions and the staff’s responsibilities, (3)Allocation of resources and information systems to support co-operative educational activities, (4) Management of co-op work terms, (5) Management of preparatory activities for the co-op students before the placement, (6) management of job search to encourage students to learn from experiences, (7) Counseling and problem solving, (8) Management of selecting students for placement, (9) Provision of professional experience for students in the workplace, (10) Management of the compensation and welfare for students, (11) Management of site visit, (12) Assessment of student experiences, (13) Performing the co-operative education in foreign countries, and (14)Management of job and career service activities after placement.en
dc.format.extent4178086 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2006.761-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการบริหารการศึกษาen
dc.subjectการเรียนรู้แบบประสบการณ์en
dc.subjectการเปรียบเทียบจุดเด่น (การจัดการ)en
dc.titleการพัฒนารูปแบบการจัดการสหกิจศึกษาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีจากผลการเปรียบเทียบสมรรถนะกับสถาบันอุดมศึกษาต่างประเทศen
dc.title.alternativeDevelopment of the co-operative education management model of Suranaree University of Technology based on benchmarking with foreign higher educational institutionsen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาเอกes
dc.degree.disciplineอุดมศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisor[email protected]-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2006.761-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
alongkot.pdf4.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.