Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18281
Title: | การสอนสังคมศึกษาหน่วย "วันสำคัญของชาติ" ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ด้วยกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ |
Other Titles: | Teaching Social studies unit "national important days" in prathom suksa three through the group process method |
Authors: | ฉันทนา ภาคบงกช |
Advisors: | ทิศนา แขมมณี |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | สังคมศึกษา -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา) การศึกษาขั้นประถม -- ไทย กลุ่มสังคม |
Issue Date: | 2518 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วัตถุประสงค์ของการวิจัย การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลจากการสอนสังคมศึกษาด้วยกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ที่มีต่อพัฒนาการด้านสัมฤทธิผลทางการเรียนและทัศนคติด้านมนุษยสัมพันธ์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สมมติฐานของการวิจัย เมื่อสอบสังคมศึกษาด้วยกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์แล้ว นักเรียนจะมีพัฒนาการทางสัมฤทธิผลด้านการเรียนสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญและมีทัศนคติด้านมนุษยสัมพันธ์เปลี่ยนไปในทางดีขึ้น วิธีดำเนินการ ผู้วิจัยได้ศึกษาทฤษฏีและวิธีการเรียนการสอนด้วยกระบวนกลุ่มสัมพันธ์ หลังจากนั้นจึงสร้างหน่วยการสอนขึ้นทดลองใช้ 1 หน่อย เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างหน่วยการสอนที่จะใช้ทดลองจริงจำนวน 7 หน่วย ต่อไปผู้วิจัยได้สร้างแบบสอบขึ้น 2 ชุดคือ แบบสอบสัมฤทธิผลด้านการเรียนและแบบวัดทัศนคติด้านมนุษยสัมพันธ์ แล้วจึงทำการวิเคราะห์ปรับปรุงจนมีคุณภาพเชื่อถือได้ คือมีความเที่ยงและความตรงเชิงทำนาย หลังจากผู้วิจัยได้ทำการทดสอบก่อนการเรียนด้วยกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์โดยแบบสอบที่สร้างขึ้นทั้ง 2 ชุด แล้วจึงทำการทดลองนักเรียน 91 คน เป็นเวลา 11 สัปดาห์ และได้ทำการทดสอบสัมฤทธิผลด้านการเรียนและทัศนคติด้านมนุษยสัมพันธ์ของนักเรียนด้วยแบบสอบชุดเดิม นอกจากนี้ผู้วิจัยยังได้ศึกษาทัศนคติด้านมนุษยสัมพันธ์ของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยวิธีกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์เพิ่มเติมโดยให้นักเรียนเขียนบรรยายความรู้สึกและความคิดเห็นของตน ผลการวิจัย ผลการวิจัยวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับจากการทดลองสอนปรากฏว่า นักเรียนที่เรียนด้วยกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์โดยส่วนรวมหรือพิจารณาเป็นกลุ่ม เก่ง ปานกลาง และอ่อน มีสัมฤทธิผลด้านการเรียนสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 ส่วนพัฒนาการทางทัศนคติด้านมนุษยสัมพันธ์ของนักเรียนโดยส่วนรวมมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 และพบว่า นักเรียนกลุ่มเก่งและปานกลางมีพัฒนาการทางทัศนคติที่ระดับ .01 ในขณะที่นักเรียนกลุ่มอ่อนมีพัฒนาการทางทัศนคติที่ระดับ .05 นอกจากนั้นยังพบว่า หลัวจากการเรียนด้วยกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์แล้ว ทัศนคติด้านมนุษยสัมพันธ์ของนักเรียนกลุ่มอ่อนแตกต่างเฉพาะกับกลุ่มเก่งอย่างมีนัยสำคัญ สรุปว่า เมื่อเรียนด้วยกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์แล้ว นักเรียนมีพัฒนาการด้านสัมฤทธิผลทางการเรียนสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ และมีทัศนคติด้านมนุษยสัมพันธ์เปลี่ยนแปลงในทางดีขึ้น สมดังสมมติฐาน |
Other Abstract: | Purposes: The purpose of this study was to find out if there was a significant change in achievement and attitudes of Prathom Souks Three students after learning social studies through the Group Process Method. Procedure: First, the researcher studied the theory and principles of teaching through the Group Process Method. Then, Social Units were designed, tried out, and improved for field-testing. The researcher also constructed two sets of tests: an achievement test, and an atti¬tudes test. These tests were statistically reliable and valid. After the students were pre-tested, the researcher taught 7 Social Units to 91 students for 11 weeks. Then the students were post-tested. The researcher also tried to collect data about students' attitudes by asking them to express their feelings and opinions in written statements. Results: The analysis of data collected from field-testing showed that after learning social studies through the Group Process Method, 91 Prathom Souks Three students' achievement were significantly improved at the .01 level. The high, average and low groups of students also improved at the .01 level of significance. The students' attitudes as a whole improved at the .01 level, but the low group improved at the .05 level. In conclusion, it could be said that this study met the hypothesis that after learning through the Group Process Method, the students' achievement and attitudes would be significantly improved. However there was a significant difference in attitudes only between the high and low groups. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2518 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ประถมศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18281 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Chantana_Pa_front.pdf | 367.4 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Chantana_Pa_ch1.pdf | 603.06 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Chantana_Pa_ch2.pdf | 872.92 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Chantana_Pa_ch3.pdf | 394.88 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Chantana_Pa_ch4.pdf | 300.6 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Chantana_Pa_ch5.pdf | 340.12 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Chantana_Pa_back.pdf | 1.81 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.