Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1865
Title: | ผลของการเตรียมเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลต่อความกลัวของผู้ป่วยเด็กวัยก่อนเรียน |
Other Titles: | The effect of preparation for hospitalization on fear of preschool patients |
Authors: | วิภาดา แสงนิมิตรชัยกุล, 2520- |
Advisors: | [email protected] |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | เด็กวัยก่อนเข้าเรียน ความกลัว โรงพยาบาล |
Issue Date: | 2546 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเป็นสถานการณ์หนึ่งที่เด็กวัยก่อนเรียนหวาดกลัวเป็นอย่างมาก ทำให้เด็กขัดขืนไม่ร่วมมือในการรักษาพยาบาล อีกทั้งยังส่งผลให้มีปัญหาด้านพฤติกรรมและอารมณ์ หรืออาจมีพัฒนาการไม่สมวัย จึงจำเป็นต้องช่วยลดความกลัวของเด็กที่เกิดขึ้นเมื่อเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเตรียมเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลต่อความกลัวของผู้ป่วยเด็กวัยก่อนเรียน กลุ่มตัวอย่างคือเด็กวัยก่อนเรียนอายุ 3-6 ปี จำนวน 32 คนที่เข้ารับการรักษาในสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีและโรงพยาบาลสมุทรสาคร แบ่งเป็น 2 กลุ่มโดยการสุ่มเข้ากลุ่มทดลองหรือกลุ่มควบคุมและจับเข้าคู่กันด้วยการพิจารณาจากอายุของเด็ก กลุ่มทดลองได้รับการเตรียมเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลโดยใช้การเล่นแบบบทบาทสมมติร่วมกับการมีส่วนร่วมของบิดามารดาเพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับสาเหตุของการเข้าโรงพยาบาล การแยกจากบิดามารดา กิจกรรมทั่วไปและการรักษาพยาบาลที่ผู้ป่วยเด็กต้องเผชิญในช่วงแรกรับใหม่ กิจกรรมนี้จัดขึ้นที่ตึกผู้ป่วยนอกก่อนที่ผู้ป่วยเด็กจะเข้าพักในหอผู้ป่วย ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เก็บรวบรวมข้อมูลจากการประเมินความกลัวของผู้ป่วยเด็กในช่วงแรกรับใหม่โดยใช้แบบสังเกตพฤติกรรมความกลัวที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเองซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาและความเที่ยงของการสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติทดสอบที (t test dependent) ผลการวิจัย พบว่า ผู้ป่วยเด็กกลุ่มที่ได้รับการเตรียมเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมีความกลัวน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
Other Abstract: | Hospitalization is one of the major sources of fear in preschool children which lead to children's uncooperation with medical-nursing treatment, behavioral problems, emotional distress, as well as delayed growth and development. Reducing fear in hospitalized preschool children is thus necessary. The purpose of this experimental study was to investigate the effect of preparation for hospitalization on fear of preschool patients. Subjects were 32 preschool patients, ranging in age from 3 to 6, admitted to Queen Sirikit National Inistute of Child Health and Samutsakorn Hospital. Subjects were assigned into experimental and control groups by random assignment and matched pair technique. The experimental group received information about reasons for hospitalization, separation from parents, routines and procedures at admission through role play and parental participation. The information was given in terms appropriate to children' s age. This preparation was provided at OPD before admission to the pediatric units. The control group received routine preparation by staff nurses. Children' s fear during admission situation was collected by the Fear Behavior Scale developed by the researcher. Its content validity and interrater reliability were established prior data collection. Data were analyzed by t test dependent. It was found that fear of preschool patients receiving preparation for hospitalization was significantly less than that of the control group, at the .05 level. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 |
Degree Name: | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | พยาบาลศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1865 |
ISBN: | 9741746393 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Nurse - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Wipada.pdf | 1.02 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.