Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18875
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวลัย พานิช-
dc.contributor.authorอาทิตย์ญา โพธิ์สวย-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.coverage.spatialกรุงเทพฯ-
dc.date.accessioned2012-03-29T07:39:45Z-
dc.date.available2012-03-29T07:39:45Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18875-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการนำค่านิยมทางพระพุทธศาสนาไปใช้ในชีวิตประจำวันของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 กรุงเทพมหานคร ที่มีลักษณะชีวสังคมภูมิหลังและฐานะทางเศรษฐกิจต่างกัน ตัวอย่างประชากร คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 433 คน จากโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความแปรปรวนทางเดียว และทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีการเชฟเฟ่ ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนนำค่านิยมทางพระพุทธศาสนาด้านการฝึกตน และด้านการพึ่งตน ไปใช้ใน ชีวิตประจำวันมาก และค่านิยมทางพระพุทธศาสนาด้านการให้ทาน ด้านความเมตตากรุณา ด้านความสันโดษ ด้านความไม่ประมาท ด้านการใช้ปัญญา ด้านการเห็นคุณค่าชีวิต และด้านความเป็นอิสระไม่ยึดติด นักเรียนนำไปใช้ในชีวิตประจำวันค่อนข้างมาก 2. การเปรียบเทียบการนำค่านิยมทางพระพุทธศาสนาไปใช้ในชีวิตประจำวัน 2.1. นักเรียนเพศชายและเพศหญิง นำค่านิยมทางพระพุทธศาสนาไปใช้ในชีวิตประจำวันไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2.2. นักเรียนที่ผู้ปกครองมีรายได้ต่างกัน นำค่านิยมทางพระพุทธศาสนาไปใช้ในชีวิตประจำวันไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.052.3. นักเรียนที่ผู้ปกครองประกอบอาชีพต่างกัน นำค่านิยมทางพระพุทธศาสนาไปใช้ในชีวิตประจำวันแตกต่างกัน โดยนักเรียนที่ผู้ปกครองไม่ประกอบอาชีพนำค่านิยมทางพระพุทธศาสนาไปใช้ในชีวิตประจำวันน้อยกว่าผู้ปกครองประกอบอาชีพรับราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ พนักงานบริษัทเอกชน ธุรกิจส่วนตัว/ค้าขาย เกษตรกร และรับจ้าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2.4. นักเรียนที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูต่างกัน นำค่านิยมทางพระพุทธศาสนาไปใช้ในชีวิตประจำวันแตกต่างกัน โดยนักเรียนที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตยนำค่านิยมทางพุทธศาสนาไปใช้ในชีวิตประจำวันมากกว่านักเรียนที่ได้รับ การอบรมเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05en
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to study and compare the Buddhist values applied in daily lives of ninth grade students in Bangkok metropolis with different biosocial background and economic status. The subject was consisted of 433 ninth grade students in schools under the Office of the Basic Education Commission in Bangkok metropolis. Data were collected by a set of questionnaires and analyzed by percentage, mean, standard deviation, one way ANOVA and Scheffe’s method which was used for paired-comparison. The results of the study were as follows: 1. Students frequently applied the Buddhist values of the self –training and the self-making for protection in daily lives and rather frequently applied the Buddhist values of charity, the loving –kindness and compassion, the contentment, the carefulness, using a knowledge, life-appreciation and the freedom. 2. The comparison of the Buddhist values applied in daily lives. 2.1 The Buddhist values applied in daily lives of male and female students were not significantly different at 0.05 level. 2.2 The Buddhist values applied in daily lives of students with different parents’ income were not significantly different at 0.05 level. 2.3 Performance on the Buddhist values applied in daily lives of students with different parents’ occupations were significantly different . The students whose parents were unemployed applied the Buddhist values in daily lives less than students whose parents were government officials, state enterprises officers, private sector officers, entrepreneurs, agriculturist and employers at 0.05 level of significance. 2.4 Students with different rearing practices were significantly different in applying the Buddhist values. Students with democratic rearing practice applied the Buddhist values more than students with laissez-fair rearing practice at 0.05 level of significance.en
dc.format.extent1699741 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2007.337-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectพุทธศาสนากับชีวิตประจำวันen
dc.subjectค่านิยมen
dc.titleการศึกษาการนำค่านิยมทางพระพุทธศาสนาไปใช้ในชีวิตประจำวันของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 กรุงเทพมหานครen
dc.title.alternativeA study of the buddhist values applied in daily lives of ninth grade students in bangkok metropolisen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineการสอนสังคมศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisor[email protected]-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2007.337-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
athitya_ph.pdf1.66 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.