Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2020
Title: ศึกษาความต้องการการสนับสนุนของผู้ดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวี ในเขตกรุงเทพมหานคร : รายงานการวิจัย
Other Titles: ความต้องการการสนับสนุนของผู้ดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวี ในเขตกรุงเทพมหานคร : รายงานการวิจัย
A study of supporting needs of care givers of HIV infected person in Bangkok Metropolitan Area
Authors: พวงเพ็ญ ชุณหปราณ
สุรีพร ธนศิลป์
สัจจา ทาโต
Email: [email protected]
[email protected]
[email protected]
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Subjects: โรคเอดส์--ผู้ป่วย--การดูแล
การติดเชื้อเอชไอวี--ไทย--กรุงเทพฯ
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการการสนับสนุนด้านความรู้ ด้านเศรษฐกิจ ด้านจิตใจและอารมณ์ ด้านทรัพยากร ด้านแหล่งสนับสนุนและปัญหาการดูแลของผู้ดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวีในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างคือผู้ดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวีจำนวน 60 คน เลือกโดยการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก เทปและเครื่องบันทึกเสียง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาจากคำสัมภาษณ์ที่ได้จากการถอดเทปเป็นรายบรรทัด เปรียบเทียบข้อความอย่างต่อเนื่อง จัดหมวดหมู่ข้อมูลไว้เป็นพวก ๆ เชื่อมโยง อธิบายความหมายของข้อความรวมทั้งสิ่งที่เกิดขึ้น และเสนอข้อความที่มีความหมาย ผลการวิจัยมีดังต่อไปนี้ ผู้ดูแลต้องการสนับสนุนด้านความรู้ในเรื่องเชื้อที่ทำให้เกิดโรค อาการในระยะต่าง ๆ การรักษา การติดต่อของโรค การดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวี เพราะความรู้ที่ผู้ดูแลมีอยู่นั้นผิวเผิน ผู้ดูแลต้องการให้มีการให้ความรู้โดยการใช้สื่อโทรทัศน์และวิทยุ เพราะส่วนใหญ่เป็นผู้มีการศึกษาระดับประถมศึกษา ความต้องการการสนับสนุนด้านเศรษฐกิจพบว่าผู้ดูแลทั้งหมดมีหนี้สินจากการดูแลและต้องการสนับสนุนค่ายาจากทองทุนและสังคมสงเคราะห์ ความต้องการการสนับสนุนด้านจิตใจและอารมณ์ ผู้ดูแลต้องการเปิดเผยความลับกับใครคนหนึ่งที่ไว้ใจได้ แต่ต้องการปกปิดเพื่อนบ้าน ผู้ร่วมงาน ต้องการไม่ให้คนรังเกียจ ให้กำลังใจ ปลอบใจ อย่าซ้ำเติม ให้คำปรึกษาและมาเยี่ยมเยียน ความต้องการการสนับสนุนด้านทรัพยากรพบว่า ผู้ดูแลต้องการน้ำยาฆ่าเชื้อแอลกอฮอล์ ผงโออาร์เอส ยาทาแผล ต้องการคนมาสับเปลี่ยนและต้องการเวลาเป็นของตัวเองบ้าง ความต้องการการสนับสนุนด้านแหล่งสนันสนุน ผู้ดูแลต้องการทราบแหล่งสนับสนุนเช่นคลินิกนิรนาม ฮอทไลน์ ศูนย์ดูแลติดเชื้อเอชไอวีในชุมชน ต้องการแหล่งกองทุนช่วยเหลือในเรื่องต่าง ๆ ต้องการให้เพิ่มเตียงในการรับผู้ติดเชื้อเอชไอวีในโรงพยาบาลให้มากขึ้น ต้องการให้โรงพยาบาลทุกแห่งยินดีรับผู้ติดเชื้อที่อาการหนักและต้องเข้าโรงพยาบาลบ่อย ๆ และไม่ต้องรอการเข้ารับการรักษาในห้องฉุกเฉินนานเกินไป สิ่งที่พบเพิ่มเตอมคือ ความต้องการการสนับสนุนด้านจิตวิญญาณ ผู้ดูแลต้องการการสนับสนุนจากศาสนา สิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ เพื่อทำให้เกิดความหวังและพลังใจ ปัญหาการดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวีคือ ไม่มีความรู้เพียงพอ ทำให้กลัวการติดเชื้อจากผู้ป่วย ปัญหาการเป็นหนี้สิน กลัวการถูกรังเกียจ ความยากลำบากในการหาเตียงให้ผู้ติดเชื้อในโรงพยาบาล สุขภาพทรุดโทรม ขาดรายได้ หมดแรง มีปัญหาด้านเพศสัมพันธ์กับคู่สมรส ความคับข้องใจในการเก็บความลับ
Other Abstract: The research was a qualitative research. The objectives were to study of supporting needs of care givers of HIV infected person in Bangkok Metropolitan Area in the aspects of knowledge, economic, psychological and emotional, resources and supportive agency. And also the problems in caring of HIV infected person. The samples were 60 care givers of HIV infected persons selected by purposive sampling. Research instruments were indepth interview form, tape and tape recorders. The data was analysed by transcribed of the content line by, comparing them cpntinuously, categorization, noted, developed and followed up linkage between categories. Explained the meaning of those categories, content, evidence, quoted of the meaningly sentences. The result were as followe: Supporting needs of care givers in the aspects of knowledge, they needed knowledge of disease agent, signs and symstoms in various stages, trearment, transmission and caring of HIV infected person. Their previous knowledge were very superficial. They prefered television, and radio as the media becuase most of them had primary education. In the aspect of economic, almost all of them had debt and need only the support for medicine from fund and social security. In the aspect of psychological and emotional sup[port they needed to reveal their secret with someone who can be trust, but in the meantime they wanted to conceal from the neighbour and co-workers. They did not want prejudice but needed mental support, mitigate, not to be blamed. They needed counselling and visitors. In the aspect of resources they needed antiseptic, alcohol, ORS powder, wound antiseptic. They needed someone to relief and having personal time. In the aspect of resources agencies, they needed to know about anonymous clinic, hotlines, HIV caring center in the community, funding agencies. They also needed hospital beds for HIV infected persond, the willingness to admitted serious ill HIV infected person, they did not want to wait for a long time in emergency unit before admitted. The emerging item was spiritual supporting need, they needed support from religion and the holy spirit for their hope, mental strength. Problems in caring of HIV infected person were lack of knowledge, fear of contageous, debt, prejudice, ahving difficulty in finding hospital bed for HIV infected person, deterioeated health, lack of income, exhausted, having sexual problems with spouse, and fustration while concealing of the secret.
Description: การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาภูมิปัญญาและการวิจัยเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ ทบวงมหาวิทยาลัย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2020
ISBN: 9748275795
Type: Technical Report
Appears in Collections:Nurse - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Puangpen(HIV).pdf6.87 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.