Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2025
Title: การวิเคราะห์ตัวแปรจำแนกกลุ่มมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่สำเร็จการศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต โดยใช้เวลาศึกษาภายในสองปีการศึกษาและมากกว่าสองปีการศึกษา : รายงานผลการวิจัย
Authors: บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร
Email: [email protected]
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Subjects: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์--หลักสูตร
พยาบาลศาสตร์--การศึกษาและการสอน
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์การวิจัยคือ เพื่อวิเคราะห์ตัวแปรจำแนกกลุ่มมหาบัณฑิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่สำเร็จการศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต โดยใช้เวลาศึกษาสองปีการศึกษาและมากกว่าสองปีการศึกษา รวบรวมข้อมูลจากมหาบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2542-2545 จำนวน 306 คน แบ่งเป็นกลุ่มมหาบัรฑิตที่ใช้เวลาศึกษาสองปีการศึกษาจำนวน 166 คน และมากกว่าสองปีการศึกษา จำนวน 137 คน วิธีดำเนินการวิจัย ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 กำหนดกรอบความคิดการวิจัย โดยทบทวนวรรณกรรมร่วมกับการสัมภาษณ์ ขั้นที่ 2 สร้างแบบสอบถาม ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาของแบบสอบถามโดยผู้เชี่ยวชาญ แบบสอบถามแต่ละส่วนมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาระหว่าง .70-.95 ขั้นที่ 3 รวบรวมข้อมูล โดยส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ รวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 20 กันยายน ถึงวันที่ 19 ธันวาคม 2546 ได้รับแบบสอบถามที่ข้อมูลครบถ้วยจำนวน 293 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 95.75 ของจำนวนแบบสอบถามที่ส่งทั้งหมดวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติวิเคราะห์จำแนกกลุ่ม (Discriminant Analysis) ด้วยวิธีขั้นตอน (Stepwise) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ตัวแปรจำนวน 4 ตัวแปรที่สามารถจำแนกกลุ่มมหาบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตโดยใช้เวลาศึกษาภายในสองปีการศึกษา ได้แก่ ลาศึกษาเต็มเวลา ลักษณะนิสัยการทำวิทยานิพนธ์ คะแนนเฉลี่ยสะสมระดับปริญญาโท และคะแนนสอบภาษาอังกฤษ ส่วนตัวแปรจำนวน 3 ตัวแปรที่สามารถจำแนกกลุ่มมหาบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตโดยใช้เวลาศึกษามากกว่าสองปีการศึกษา ได้แก่ ศึกษาสาขาวิชาการบริหารการพยาบาล ภาคนอกเวลาราชการ ไม่ได้ลาศึกษา และศึกษาสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ โดยตัวแปรทั้ง 7 ตัวแปร สามารถร่วมกันพยากรณ์กลุ่มมหาบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตที่ใช้เวลาศึกษาภายในสองปีการศึกษาและมากกว่าสองปีการศึกษาได้ร้อยละ 53.3 2. สมการจำแนกกลุ่มสามารถพยากรณ์การเป็นสมาชิกกลุ่มที่ใช้เวลาศึกษาภายในสองปีการศึกษา ได้ถูกต้องร้อยละ 91.9 และสามารถพยากรณ์การเป็นสมาชิกกลุ่มที่ใช้เวลาศึกษามากกว่าสองปีการศึกษาได้ถูกต้องร้อยละ 79.7 โดยสามารถพยากรณ์การเป็นสมาชิกกลุ่มได้ถูกต้องโดยเฉลี่ยร้อยละ 86.3
Other Abstract: The purpose of this research was to determine the variables discriminating the graduates of Chulalongkorn University, completed the master of nursing science program within two academic years nd more than two academic years. Data were collected from 306 graduates who graduated during 1999-2002. The number of graduates completed the MNS program within two academic and years and more than two academic years were 166 and 137 respectively. Three main steps were conducted. The first step was to conduct for research framework concept by literature reviewed and interviewed through semi-structured format. A total of 22 person participated for interviewed. Of these, 4 were instructors and 18 were graduates. The second step was to developm the questionnaires. The questionnaires were judged to be acceptable by the panel of experts. Cronbach's alpha coefficient of each questionnaires ranged from .70-.95. The third step was to collected data. The questionnaires were mailed to the graduates. Data were collected during September 20, 2003-December 19, 2003. A total of completed questionnaires were 293. There was 95.75 percent of the total questionnaires. The data were analyzed by using discriminant analysis with stepwise method. Research findings were as follows: 1. The 4 variables discriminating the graduates completed the MNS program within two academic years were full time leave for study, research-minded habits, grade point average of MNS program and English score. The 3 variables discriminating the graduates completed the MNS program more than two academic years were stdy in nursing administration field (weaken program), study without leave, and study in nursing sciences field. All of these 7 variables accounted for 53.3 percent of the variance. 2 The percent correctly discriminant frunction the graduates completed the MNS program within two academic years and more than two academic years were 91.9 and 7937 percent within two years and more than two academic years were 91.9 and 79.7 percent respectively. The average percent correctly discriminant fuction was 86.3.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2025
ISBN: 97413312115
Type: Technical Report
Appears in Collections:Nurse - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Boonjai.pdf2.12 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.