Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2618
Title: การแช่เย็นและการแช่แข็งตัวอ่อนสุกร : รายงานผลการวิจัย
Other Titles: Chilling and freezing of pig embryos
Authors: มงคล เตชะกำพุ
วันเพ็ญ อดุลยานุภาพ
จินดา สิงห์ลอ
Email: [email protected]
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาสูติศาสตร์เธนุเวชวิทยาและวิทยาการสืบพันธุ์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาสูติศาสตร์เธนุเวชวิทยาและวิทยาการสืบพันธุ์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาสูติศาสตร์เธนุเวชวิทยาและวิทยาการสืบพันธุ์
Subjects: สุกร--ตัวอ่อน
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาความเป็นไปได้ในการแช่เย็นและแช่แข็งตัวอ่อนสุกร โดยเก็บตัวอ่อนอายุ 7 วันจากสุกรสาวหลังกระตุ้นด้วยฮอร์โมน เพรกแนนท์ แมร์ ซีรั่ม โกนาโดโทรปิน และฮิวแมน โคริโอนิกโกนาโดโทรปิน ในอัตราส่วน 400:200 ไอยู แบ่งเป็น 4 การทดลอง คือ การทดลองที่ 1 แช่เย็นตัวอ่อนระยะ morula, early blastocyst, blastocyst และ expanded blastocyst จำนวน 48 ตัวอ่อน ที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส ในน้ำยา TCM199 2.5 Hepes+10%DMSO นาน 1, 6, 12 และ 24 ชม. ผลปรากฏว่าหลังเลี้ยงนาน 24 ชม. ไม่มีตัวอ่อนใดรอดเลยหลังจากเก็บไว้ การทดลองที่ 2 แช่แข็งตัวอ่อนระยะ blastocyst และ expanded blastocyst จำนวน 69 ตัวอ่อนแบบใช้ลดอุณหภูมิช้าๆ โดยลดอุณหภูมิจาก -6 องศาเซลเซียส จนถึง -30 องศาเซลเซียส ด้วยความเร็ว 0.3 องศาเซลเซียส/นาที แล้วแช่ในไนโตรเจนเหลว -196 องศาเซลเซียส โดยให้ตัวอ่อนแขวนลอยในน้ำยา TCM 199 2.5 Hepes ที่มีสารป้องกันการแช่แข็ง 3 ชนิด คือ 1.5M glycerol, 1.5M DMSO และ 1.5M ethylene glycol ผลการศึกษาพบว่าตัวอ่อนมีสภาพปกติหลังทำละลาย 47.8%(33/69) ในน้ำยาที่มี ethylene glycol เป็นสารป้องกันการแช่แข็ง มีอัตรารอดเท่ากับ 54.3%(13/24) เทียบกับ glycerol 44%(11/25) และ DMSO 45%(9/20) การทดลองที่ 3 แข่แข็งตัวอ่อนระยะ blastocyst และ expanded blastocyst แบบวิทรีฟิเกชั่น ในน้ำยา VS3a (6.5M glycerol+6%BSA) จำนวน 102 ตัวอ่อน ที่มีขนาดแตกต่างกัน 3 ขนาดคือ ขนาดเล็ก (<150 micrometre) ขนาดกลาง (150-300 micrometre) และขนาดใหญ่ (>300 micrometre) ผลการศึกษาพบว่าตัวอ่อนรอดจากการแช่แข็งเท่ากับ 59.8%(61/102) โดยตัวอ่อนขนาดกลางและขนาดใหญ่มีของอัตรารอดสูงกว่าขนาดเล็กเท่ากับ 65.7%(23/35), 65.6%(21/32) เปรียบเทียบกับ 48.6%(17/35) (P>0.05) ตามลำดับ การทดลองที่ 4 นำตัวอ่อนระยะ blastocyst และ expanded blastocyst ไปแช่ในสารละลายที่มีไซโตคาลาซิน-บี ในขนาดความเข้มข้น 5.0, 7.5 และ 10 microgram/ml นาน 30 นาที แล้วจึงนำไปแช่แข็งแบบวิทรีฟิเกชั่น เช่นเดียวกับการทดลองที่ 3 ผลการศึกษาพบว่าตัวอ่อนที่แช่ในสารไซโตคาลาซิน-บี มีแนวโน้มของอัตรารอดสูงกว่า 60%(50/84) กลุ่มควบคุมที่ไม่ได้สัมผัสกับสารไซโตคาลาซิน-บี เท่ากับ 46.4%(13/28) (P>0.05) โดยในแต่ละกลุ่มได้อัตรารอดหลังทำละลายเท่ากับ 46.4%(13/28), 65%(17/26) และ 67%(20/30) ตามลำดับ จากการศึกษานี้พบว่ามีความเป็นไปได้ในการแช่แข็งตัวอ่อนแบบใช้ความเร็วช้าๆ และแบบวิทรีฟิเกชั่น โดยการให้ตัวอ่อนสัมผัสกับสารไซโตคาลาซิน-บี ก่อนการแช่แข็งสามารถเพิ่มอัตรารอดของตัวอ่อนหลังแช่แข็งและทำละลายได้
Other Abstract: The feasibility of embryo chilling and freezing in the pig was studied. Pig embryos at day 7.0, morula, early blastocyst, blastocyst, expanded blastocyst were collected from PMSG/HCG (400:200 iu) stimulated gilts. Four experiments were conducted : Experiment I : Embryos at different stages (n = 48) were cooled to 4 C in TCM 199 2.5 Hepes + 10% DMSO for 1, 6, 12 and 24 hrs. After culture for 24 hrs, no embryos can develop. Experiment II : Embryos at blastocyst and expanded blastocyst (n = 69) were slowly frozen to -196 C by using the rate of 3 C/min. from -7 C to -30 C in TCM 199 2.5 Hepes supplemented with 1.5 M glycerol or 1.5 M DMSO or 1.5 M ethylene glycol. After thawing, the average normality rate was 47.8% (33/69) which was not significantly higher (P>0.05) in ethylene glycol group, 54.3% (13/24) compared to 44% (11/25) in glycerol and 45% (9/20) in DMSO groups. Experiment III : Embryos at blastocyst and expanded blastocyst (n = 102) were frozen by vitrification technique. The embryos were exposed to 25% VS3a (6.58 M glycerol + 6% BSA) for 20 min., 65% VS3a for 1 min. and 100% VS3a for 45 sec., then loaded into 0.25 ml plastic straw with 100% VS3a. The straws were directly plunged into liquid nitrogen (-196 C). The average normality rate of the embryos was 59.8% (61/102), small (100300 micro) sizes were 48.6% (17/35), 65.6% (21/32) and 65.7% (23/35, respectively. Experiment IV: Embryos were exposed to cytochalasin-B with the concentrations of 5, 7.5 and 10 microgram/ml for 30 min. before vitrification as Exp III, compared to control without exposing to cytochalasin-B. The results revealed higher survival in cytochalasin-B groups than in the control, 60% (50/84) vs 46.4% (13/28) (P<0.05). The survival rates in 5, 7.5 10 microgram/ml were 46.4% (13/28), 65.4% (17/26) and 66.7% (20/30), respectively. We concluded from these studies that pig embryos can be frozen by a conventional slow freezingor vitrificantion technique. An exposure of cytochalasin-B increases the survival rate of pig embryos after thawing.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2618
Type: Technical Report
Appears in Collections:Vet - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
MongkolChi.pdf4.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.