Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42975
Title: พฤติกรรมการสอนและรูปแบบการอนุมานสาเหตุของครูผู้สอนนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ในโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมระดับประถมศึกษา
Other Titles: TEACHING BEHAVIORS AND ATTRIBUTIONS OF TEACHERS OF STUDENTS WITH LEARNING DISABILITIES IN ELEMENTARY MAINSTREAMING SCHOOLS
Authors: พิชยา กองกาญจนาทิพย์
Advisors: ชนิศา ตันติเฉลิม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: ครู -- การประเมิน
ครูสอนเด็กที่เป็นปัญหา
Teachers -- Rating of
Teachers of problem children
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงสำรวจมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการสอนของครูผู้สอนนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ในโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล และ 2) เพื่อศึกษารูปแบบการอนุมานสาเหตุของครูผู้สอนนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ในโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูผู้สอนนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้จำนวน 239 คน ในโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมระดับประถมศึกษา จำนวน 64 แห่ง เครื่องมือในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามพฤติกรรมการสอนของครูผู้สอนนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ และ แบบสอบถามรูปแบบการอนุมานสาเหตุพฤติกรรมการสอนของครูผู้สอนนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ครูผู้สอนนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ในโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมระดับประถมศึกษา มีพฤติกรรมการสอนที่เกี่ยวข้องกับ 6 ด้านเรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปน้อยได้ดังนี้ 1) การจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ 2) การจัดเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา 3) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 4) การวัดและประเมินผล 5) การวางแผนการจัดการเรียนรู้ และ 6) การทำวิจัยในชั้นเรียน 2. ครูผู้สอนนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้มีรูปแบบการอนุมานสาเหตุพฤติกรรมการสอนทั้งในสถานการณ์เชิงบวกและเชิงลบว่าเป็นสาเหตุที่เกิดจากครูผู้สอนนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ หากสถานการณ์เชิงบวกและเชิงลบนั้นเกิดขึ้นอีกสาเหตุจะเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง และสาเหตุนั้นส่งผลต่อนักเรียนคนอื่นๆ
Other Abstract: The purposes of this research were: 1) to study teaching behaviors of teachers of student with learning disabilities in elementary mainstreaming schools and 2) to study attributional style of teachers of student with learning disabilities in elementary mainstreaming schools. The participants comprises of 239 teachers who are teaching student with learning disabilities in 64 elementary mainstreaming schools. The research instruments were questionnaire on teaching behaviors of teachers of student with learning disabilities and questionnaire on attributional style of teachers of student with learning disabilities. Data analysis uses frequency, percentage, mean, median and standard deviation The research results were summarized as follows: 1. Most of the teachers who teach student with learning disabilities in elementary mainstreaming schools ranked six factors of teaching behaviors from the most to the least: 1) educational environment 2) assertive technology, media, services, and related educational assistance 3) learning activities 4) measurement and evaluation 5) instructional plan, and 6) classroom action research 2. Most of the teachers who teach student with learning disabilities in elementary mainstreaming schools were attribution for bad and good events because of internal factor, stable factor and global factor.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยาการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42975
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.443
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.443
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5483400827.pdf5.7 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.