Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45332
Title: | คุณลักษณะของฟิล์มบางแทนทาลัมไนไตรด์บนแผ่นฐานแก้วและโพลีอิไมด์ โดยการเคลือบด้วยวิธีรีแอคทีฟสปัตเตอร์ริง |
Other Titles: | Characteristics of tantalum nitride thin films on glass and polyimide substrates deposited by reactive sputtering |
Authors: | สมัชชา วรธำรง |
Advisors: | สมชัย รัตนธรรมพันธ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | แทนทาลัม ฟิล์มบาง สปัตเตอริง (ฟิสิกส์) Tantalum Thin films Sputtering (Physics) |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | แทนทาลัมไนไตรด์ (TaN) เป็นวัสดุที่มีการใช้งานอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากคุณสมบัติเฉพาะตัวที่เป็นจุดเด่นคือ มีความแข็งแรงในเชิงกลสูง ทนต่อการเกิดปฏิกิริยาทางเคมี และมีความเสถียรภายใต้อุณหภูมิสูง ฟิล์มบางของ TaN นิยมนำไปใช้เป็นชั้นป้องกันการแพร่ซึมและเป็นฟิล์มตัวต้านทานในวงจรรวม ในงานวิจัยนี้ ฟิล์ม TaN ถูกเคลือบลงบนแผ่นฐานแก้ว และโพลีอิไมด์ (PI) ด้วยวิธีรีแอคทีฟสปัตเตอร์ริงภายใต้บรรยากาศของแก๊ส Ar และ N₂ สัดส่วนของแก๊สผสม กำลังที่ใช้ในการสปัตเตอร์ริง และความดันบรรยากาศได้ถูกควบคุมเพื่อใช้เป็นตัวแปรในการทดลอง จากนั้นโครงสร้างผลึก ลักษณะของผิวหน้า ความต้านทานไฟฟ้า และอัตราการเคลือบฟิล์ม จะถูกตรวจสอบด้วยวิธี X-ray diffraction (XRD) atomic force microscope (AFM) 4-point probe และ stylus profilometer ตามลำดับ จากผลการวัด XRD แสดงให้เห็นว่าโครงสร้าง TaN (111) และ (200) จะก่อตัวขึ้นเมื่อ N₂ ถูกใส่เข้ามาในระบบ โครงสร้างผลึกของฟิล์มจะเริ่มเปลี่ยนไปเป็นอสัญฐานทีละน้อยเมื่อทำการเพิ่มปริมาณของ N₂ ลักษณะผิวหน้า ความต้านทานไฟฟ้า และอัตราการเคลือบฟิล์มมีผลสัมพันธ์กับปริมาณสัดส่วนของ N₂ ภายในระบบเช่นกัน อัตราการเคลือบฟิล์มมีค่าสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เมื่อทำการเพิ่มกำลังที่ใช้ในการสปัตเตอร์ริง ความดันในการทำงานจะส่งผลต่ออัตราการเคลือบฟิล์มที่มีค่าน้อยลง ผลกระทบจากชนิดของแผ่นฐานส่งผลให้เกิดความแตกต่างในอัตราการเคลือบ และโครงสร้างของฟิล์มบนแผ่นฐานแก้วและ PI |
Other Abstract: | Tantalum nitride (TaN) has wide range of applications in electronics industry due to its interesting properties, such as high mechanical strength, chemical inertness and thermal stability at high temperature. In this research, thin films of Tantalum nitride were deposited on glass and polyimide substrates by reactive sputtering method under N₂/Ar atmosphere. Gas mixture, sputtering power, and working pressure were varied as processing parameters. Crystal structure, surface morphology, electrical resistivity and deposition rate of the films were investigated by X-Ray Diffraction (XRD), Atomic Force Microscope (AFM), 4-point probe method, and stylus profilometer. XRD results showed that TaN (111) and (200) was formed when N₂ was introduced to the system. Film crystal structure gradually transformed to amorphous while increasing the amount of N₂. Surface morphology, electrical resistivity, and deposition rate also correlate with N2 ratio. Deposition rate increases monotonically with an increase in sputtering power. Working pressure influences in lower deposition rate. Effect of substrate results in difference deposition rate and crystal properties of the films on glass and PI substrates. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมไฟฟ้า |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45332 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.2021 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2011.2021 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Samatcha_vo.pdf | 1.83 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.