Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46826
Title: | รายงานการศึกษาวิจัยเพื่อแก้ปัญหาเรื่องเสียงรบกวนจากสนามยิงปืน |
Other Titles: | การแก้ปัญหาเรื่องเสียงรบกวนจากสนามยิงปืน : รายงานการวิจัย |
Authors: | วรสัณฑ์ บูรณากาญจน์ เดโช สุขเกษม สราวุธ โสนะมิตร อรรถพล ชูสุวรรณ ภัทรภณ บูรณากาญจน์ สุภรินี จีระพันธุ์ |
Email: | [email protected], [email protected], [email protected] [email protected], [email protected] ไม่มีข้อมูล ไม่มีข้อมูล [email protected], [email protected] |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
Subjects: | การดูดซับเสียง สถาปัตยสวนศาสตร์ สนามยิงปืน -- การออกแบบ สนามยิงปืน -- เสียงรบกวน การควบคุมเสียงรบกวน Absorption of sound Architectural acoustics Rifle-ranges -- Design Rifle-ranges -- Noise Noise control |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ค่าการสะท้อนเสียงของสนามยิงปืน เมื่อติดตั้งวัสดุดูดซับเสียง โดยใช้ฉนวนใยแก้ว 4 ตารางเมตร RT60 อยู่ระหว่าง 0.71-0.94 วินาที ลดลงจากเดิม 0.08-0.48 วินาที (ค่าจากการคำนวนประมาณ 0.89 วินาที) ผลการเก็บข้อมูลเปรียบเทียบก่อนและหลังการใช้ฉนวนทดสอบจำนวน 4 ตารางเมตร พบว่า 1. ความดังเสียงกระสุนขนาด .22 มีความดังลดลงเฉลี่ย 5 ถึง 10 เดซิเบล (dBA) 2. ความดังเสียงกระสุนขนาด .38 มีความดังลดลงเฉลี่ย 2 ถึง 5 เดซิเบล (dBA) 3. ความดังเสียงกระสุนขนาด .45 มีความดังลดลงเฉลี่ย 2 ถึง 5 เดซิเบล (dBA) เมื่อติดตั้งฉนวนบริเวณช่องยิง ผนังด้านหลังช่องยิง ฝ้าเพดาน และคานด้านหน้าช่องยิง ค่า NRC ประมาณ 1.05 รวมพื้นที่ประมาณ 140-150 ตารางเมตร จะสามารถลดปริมาณความดังเสียงประมาณ และค่าการสะท้อนเสียง RT-60 ประมาณ 0.56 วินาที ตามผลการคำนวณ ผลการทดสอบกรณีศึกษา โดยการใช้วัสดุดูดซับเสียงจำนวน 4 ตารางเมตร เพื่อเก็บข้อมูลความดังเสียง ตลอดจนการลดความดังเสียงสะท้อนภายในสนามยิงปืนเบื้องต้น ของสนามยิงปืนระยะ 25 เมตร สรุปได้ว่า การใช้วัสดุดูดซับเสียงที่ผู้วิจัยกำหนด สามารถลดความดังเสียงลงได้ 2 ถึง 10 เดซิเบล และลดค่าการสะท้อนเสียงของห้องลงได้ ประมาณ 0.05 วินาที การใช้ฉนวนที่มีพื้นที่เพียง 4 ตารางเมตร เป็นเพียงพื้นที่ประมาณ ร้อยละ 3 ของพื้นที่ดูดซับเสียงในการออกแบบและเสนอแนะของนักวิจัย ดังนั้น การใช้วัสดุดูดซับเสียงเพื่อติดตั้ง บนฝ้าเพดาน ผนังด้านหลัง ผนังด้านข้างพื้นที่ช่องยิง และผนังกั้นระหว่างช่องยิงนั้น จะสามารถช่วยลดความดังของเสียงลงได้ การใช้สนามยิงปืนโดยปกติ จะมีแหล่งกำเนิดเสียงมากที่สุด เพียง 8 จุด ตามช่องยิง ซึ่งพลังงานเสียงที่ก่อให้เกิดความดังนั้น จะมีพลังงานและความดังเพิ่มขึ้นไม่เกิน 10 เดซิเบล (dBA) เมื่อผู้ใช้สนามยิงปืนพร้อมๆ กัน ดังนั้น การติดตั้งวัสดุดูดซับเสียงตามที่ผู้วิจัยเสนอยังสามารถดูดซับเสียงได้ เพียงพอกับปริมาณแหล่งกำเนิดเสียง เมื่อผู้ใช้สนามยิงปืน ใช้เครื่องป้องกันเสียงครอบที่หู จะช่วยป้องกันความดังเสียงได้อีกระดับหนึ่ง การลดความดังเสียงจากสนามยิงปืนที่ไปรบกวนสภาพแวดล้อมภายนอกนั้น หากความดังของเสียงไม่มากกว่า 80 ถึง 90 เดซิเบล ซึ่งเป็นค่าความดังของเสียงที่เกิดขึ้นจากท้องถนนสาธารณะ ที่มีแหล่งกำเนิดเสียงจากรถยนต์ มอเตอร์ไซค์ และรถบรรทุกสาธารณะ ซึ่งผู้ที่อยู่โดยรอบได้ยินเสียงที่ความดังในระดับนี้เป็นประจำทุกวัน |
Description: | เสนอต่อ มูลนิธิเครือข่ายพลังงาน-เกษตรสีเขียว (The Foundation of Green Energy and Agriculture Network) |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46826 |
Type: | Technical Report |
Appears in Collections: | CEBTE - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
vorasun_bu.pdf | 1.64 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.