Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50192
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง | en_US |
dc.contributor.advisor | สิริพันธุ์ สุวรรณมรรคา | en_US |
dc.contributor.author | วัชราภรณ์ เขื่อนวัง | en_US |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2016-12-01T08:02:08Z | - |
dc.date.available | 2016-12-01T08:02:08Z | - |
dc.date.issued | 2558 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50192 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนามาตรฐานและตัวบ่งชี้การปฏิบัติงานในสถานศึกษาของนิสิตนักศึกษาครู (2) พัฒนาแบบประเมินมาตรฐานการปฏิบัติงานในสถานศึกษาของนิสิตนักศึกษาครู (3) กำหนดเกณฑ์การประเมินมาตรฐานการปฏิบัติงานในสถานศึกษาของนิสิตนักศึกษาครู และ (4) ศึกษาการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากแบบประเมินมาตรฐานการปฏิบัติงานในสถานศึกษาของนิสิตนักศึกษาครู วิธีวิจัยเป็นการวิจัยและพัฒนา แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ (1) การพัฒนามาตรฐานและตัวบ่งชี้ฯ โดยการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการตรวจสอบความเหมาะสมโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (2) การพัฒนาแบบประเมินและกำหนดเกณฑ์การประเมินฯ แล้วตรวจสอบคุณภาพในด้านความตรงตามเนื้อหา ความตรงตามสภาพ ความสอดคล้องระหว่างผู้ประเมิน และความเที่ยงแบบความสอดคล้องภายใน และ (3) การประยุกต์ใช้แบบประเมินเพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับนิสิตนักศึกษาครู การเก็บรวบรวมข้อมูลแบ่งออกเป็น 4 ช่วง คือ (1) ก่อนปฏิบัติงานในสถานศึกษา (2) เดือนที่ 1 ของการปฏิบัติงานในสถานศึกษา (3) เดือนที่ 2 ของการปฏิบัติงานในสถานศึกษา และ (4) เดือนที่ 3 ของการปฏิบัติงานในสถานศึกษา โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากนิสิตนักศึกษาครู 8 คน ครูพี่เลี้ยง 8 คน และอาจารย์นิเทศก์ 4 คน แล้ววิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติบรรยาย และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. มาตรฐานการปฏิบัติงานในสถานศึกษาของนิสิตนักศึกษาครู ประกอบด้วย 3 มาตรฐาน 6 ตัวบ่งชี้ 30 คุณลักษณะ ดังนี้ มาตรฐานที่ 1 คือ สมรรถนะด้านความรู้และการจัดการเรียนรู้ มี 3 ตัวบ่งชี้ คือ การเตรียมแผนการจัดการเรียนรู้ การนำแผนการจัดการเรียนรู้ไปปฏิบัติการสอน และการวัดและประเมินผลการปฏิบัติการสอนของตนเอง มาตรฐานที่ 2 คือ สมรรถนะด้านการวิจัย มี 1 ตัวบ่งชี้ คือ การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน และมาตรฐานที่ 3 คือ สมรรถนะด้านการปฏิบัติตนเพื่อพัฒนาตนเอง มี 2 ตัวบ่งชี้ คือ การพัฒนาตนเอง และการพัฒนาการปฏิบัติงาน 2. แบบประเมินมาตรฐานการปฏิบัติงานในสถานศึกษาของนิสิตนักศึกษาครู เป็นมาตรประมาณค่า ที่มีเกณฑ์การให้คะแนนแบบรูบริค โดยแบบประเมินฯ มีความตรงตามเนื้อหา (IOC อยู่ในช่วง 0.70-1.00) มีความตรงตามสภาพ (อยู่ในช่วง 0.70-0.84) มีความสอดคล้องระหว่างผู้ประเมินอยู่ในระดับดี (R= 0.60) และมีความเที่ยงแบบความสอดคล้องภายใน (อยู่ในช่วง 0.50-0.90) 3. เกณฑ์การประเมินมาตรฐานการปฏิบัติงานในสถานศึกษาของนิสิตนักศึกษาครู แบ่งระดับคุณภาพเป็น 4 เกรด คือ เกรด 4 (ช่วงคะแนน 3.40 – 4.00) หมายถึง ดีเยี่ยม เกรด 3 (ช่วงคะแนน 3.20 – 3.39) หมายถึง ดี เกรด 2 (ช่วงคะแนน 3.00 – 3.19) หมายถึง พอใช้ และเกรด 1 (ช่วงคะแนน 2.20 – 2.99) หมายถึง ต้องปรับปรุง 4. ผลการประยุกต์ใช้แบบประเมินมาตรฐานการปฏิบัติงานในสถานศึกษาของนิสิตนักศึกษาครู พบว่า นิสิตนักศึกษาครูทั้ง 8 คน มีการเปลี่ยนแปลงดีขึ้น จากระดับคุณภาพควรปรับปรุง พัฒนาขึ้นเป็นระดับพอใช้ ดี และ ดีเยี่ยมตามลำดับ นอกจากนี้ นิสิตนักศึกษาครู ครูพี่เลี้ยง และอาจารย์นิเทศก์ มีความเห็นสอดคล้องกันว่าแบบประเมินฯ มีคุณลักษณะที่เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพการปฏิบัติงานในสถานศึกษาของนิสิตนักศึกษาครู และเป็นประโยชน์ในการพัฒนานิสิตนักศึกษาครูให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น | en_US |
dc.description.abstractalternative | The research objectives were to (1) develop standards and indicators for school practices of student teachers, (2) develop an evaluation form of the school practices standards, (3) determine evaluation criteria of the school practices standards, and (4) examine change in school practices of the student teachers as consequence of utilizing the evaluation form and criteria. The research and development approach was divided into 3 stages: (1) developing the standards and indicators through documentary research and experts judgment, (2) developing the evaluation form and the evaluation criteria also studying its content validity, concurrent validity, inter-rater reliability, and internal consistency, and (3) studying application of the evaluation form and criteria on changing of student teachers. The data collections were done four times: (1) before teaching practice, (2) first month of practice in schools, (3) second month of practice in schools, and (4) third month of practice in schools. The data were collected from eight student teachers, eight mentors, and four supervisors. The data were analyzed by using descriptive statistics and content analysis. The results were as follows: 1. The standards for school practices of student teachers composed of three standards, six indicators, and thirty attributes. Standard 1 was Knowledge and Instructional Competency comprising of three indicators, which were preparation of instructional management plans, application of learning management plans, and teaching performance evaluation. Standard 2 was Research Competency comprising of one indicator, which was classroom action research. Standard 3 was Performance Guidelines for Self-Improvement comprising of two indicators, which were self-improvement and performance development. 2. The evaluation form was rating scale type with a scoring rubric which had good property in content validity (IOC ranged from 0.70 to 1.00) concurrent validity ( ranged from 0.70 to 0.84), inter-rater reliability (IRR was 0.60), and internal consistency ( ranged from 0.50 to 0.90). 3. The evaluation criteria was used to judge quality of student teachers’ performance into 4 levels. They were level 4 means excellent (3.40 ≤ X ≤ 4.00), level 3 means good (3.20 ≤ X ≤ 3.39), level 2 means satisfactory (3.00 ≤ X ≤ 3.19), and level 1 means needed improvement (2.20 ≤ X ≤ 2.99), respectively. 4. The results of applying the evaluation form for school practices of student teachers shown that all the eight student teachers change their performance’s quality of school practices from needed improvement to satisfactory, good, and excellent, respectively. The student teachers, the mentors and the supervisors reflected that the evaluation form was suitable for and went along well with student teachers' teaching conditions, and was useful in supporting positive changes of student teachers. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1234 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ปริญญาดุษฎีบัณฑิต | - |
dc.subject | นักศึกษาครู -- การประเมินศักยภาพ | - |
dc.subject | Student teachers -- Rating of | - |
dc.title | การพัฒนาแบบประเมินมาตรฐานการปฏิบัติงานในสถานศึกษาของนิสิตนักศึกษาครู | en_US |
dc.title.alternative | Development of evaluation form for school practices standards of student teachers | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | en_US |
dc.degree.discipline | การวัดและประเมินผลการศึกษา | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | [email protected],[email protected] | en_US |
dc.email.advisor | [email protected],[email protected] | en_US |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2015.1234 | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5484241527.pdf | 7.92 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.