Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52015
Title: | แผนที่ความเร็วคลื่นเฉื่อนระดับตื้นและการแบ่งชนิดของดินเพื่อประเมินผลกระทบจากแผ่นดินไหว บริเวณอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย : รายงานวิจัย |
Other Titles: | Shear-wave velocity mapping and site classification of soil for earthquake hazard evaluation in Amphoe Muang, Changwat Chiang Rai, northern Thailand. |
Authors: | ฐานบ ธิติมากร |
Email: | [email protected] |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Subjects: | คลื่นเฉือน แรงเฉือนของดิน การสำรวจด้วยคลื่นไหวสะเทือน คลื่นไหวสะเทือน แผ่นดินไหว -- ไทย -- เชียงราย |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | จังหวัดเชียงรายเป็นจังหวัดหนึ่งทางภาคเหนือที่มีโอกาสได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว นอกจากหลักฐานแผ่นดินไหวในอดีตแล้ว จังหวัดเชียงรายยังตั้งอยู่ใกล้กับรอยเลื่อนมีพลังทั้งในประเทศไทยและประเทศใกล้เคียง นอกจากนั้นแล้วอำเภอเมืองจังหวัดเชียงรายอยู่บนดินตะกอนที่ยังไม่แข็งตัว ซึ่งตะกอนที่เกิดจากการสะสมตัวจากตะกอนแม่น้ำกก ซึ่งชั้นดินตะกอนเหล่านี้อาจก่อให้เกิดปัญหากับฐานรากอาคารหรือสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ได้เมื่อเกิดแผ่นดินไหวขึ้น โดยเฉพาะคุณสมบัติการขยายแรงแผ่นดิน ซึ่งคุณสมบัติดังกล่าวสามารถจะประเมินได้จากค่าความเร็วคลื่นเฉือนของดิน ซึ่งโดยทั่วไปแล้วดินอ่อนจะค่าความเร็วคลื่นเฉือนต่ำและมักจะมีความสามารถในการขยายแรงแผ่นดินไหวได้มากกว่าดินแข็ง ในงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการทำแผนที่ความเร็วคลื่นเฉือนของดินในบริเวณอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย และแผนที่ชนิดของดินตามข้อกำหนดของหน่วยงาน NEHRP โดยที่ความเร็วคลื่นเฉือนของดินนั้นจะใช้วิธีการวิเคราะห์จากคลื่นพื้นผิวหรือที่เรียกว่าวิธี MASW ในงานวิจัยนี้ได้ทำการเก็บข้อมูล MASW จำนวน 30 จุด ครอบคลุม กลุ่มดินทั้งหมด 5 กลุ่ม ที่พบในพื้นที่ศึกษา จากข้อมูลความเร็วคลื่นเฉือนที่ได้จากวิธี MASW ได้นำมาหาค่าเฉลี่ยที่ระดับความลึก 0 ถึง 30 เมตร และนำมาแบ่งชนิดตามข้อกำหนดของ NEHRP จากผลการสำรวจสามารถจัดจำแนกดินออกได้ 2 ชนิดคือ ดินชนิด C ที่มีความเร็วคลื่นเฉือนเฉลี่ย Vs(₃₀) เท่ากับ 418 m/s และดินชนิด D ที่มีความเร็วคลื่นเฉือนเฉลี่ย Vs(₃₀) เท่ากับ 338 m/s และพื้นที่ส่วนใหญ่ของอำเภอเมืองนั้นประกอบไปด้วยดินชนิด D เป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นจึงมีโอกาสก่อให้เกิดปัญหาต่อสิ่งก่อสร้างที่อยู่บนดินชนิดนี้ได้หากเกิดแผ่นดินไหวในบริเวณใกล้เคียง |
Other Abstract: | Chiangrai city is located in the northern part of Thailand and is a high risk area to be affected by the earthquake ground motion. Because the city is laid on the soft sediments of a alluvium deposits of Kok river, these soils underneath the city can amplify ground motions thereby increasing earthquake damage. The ground motion amplification of soils can be estimated by using their averaged shear wave velocity down to 30 meters (Vs(₃₀)). Amplification of soils can be inferred from shear wave velocity that the soft soils with the low Vs values have the ability to expand ground vibration more than high Vs values. Consequently the main objective of this study is to create the soil classification map of the city using the (Vs(₃₀)). In this study, we use the MASW (Multi-channel Analysis of Surface Wave) techniques to determine Vs of soils. We collected seismic data over 30 locations covering in 5 soill units. We then calculated the Vs(₃₀) in each test site and used it to classify the soil classes based on the recommendations of the 2003 National Earthquake Hazards Reduction Program (NEHRP). Finally we developed the NEHRP site classification map of the study area. The results reveal that the Vs(₃₀) values of the near mountain zone and the natural levee can be classified as site class C with the average Vs(₃₀) of 418 m/s. However the northern valley plain and eastern floodplain which cover most of the study area are classified as site class D with the average Vs(₃₀) of 338 m/s. Based on the site-classification map, we can conclude that the main part of the study area is under substantial risk of soil amplification. |
Discipline Code: | 0207 |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52015 |
Type: | Technical Report |
Appears in Collections: | Sci - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Thanop_th.pdf | 3.54 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.