Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52699
Title: | การตั้งคำถามเชิงวิพากษ์กับอัตลักษณ์เติร์กในเยอรมนีใน พระจันทร์กลืนดาว (Der Mond isst die Sterne auf) ของดีเลค ซาพท์จีโอกลู (Dilek Zaptcioglu) |
Authors: | ศิริพร ศรีวรกานต์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | วรรณกรรมเยาวชน อัตลักษณ์ชาติพันธุ์ |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Citation: | วารสารอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 42,1(ม.ค.-มิ.ย. 2556) : 215-247 |
Abstract: | บทความเรื่องนี้ศึกษาวรรณกรรมสำหรับเยาวชนของเยอรมันเรื่อง พระจันทร์กลืนดาว (Der Mond isst die Sterne auf) ของดีเลค ซาพท์จีโอกลู (Dilek Zaptcioglu) ผู้ประพันธ์ผูกเรื่องให้ตัวบทดำเนินเรื่องในช่วงทศวรรษ 1990 อันเป็นระยะเวลาซึ่งโศกนาฏกรรมที่เคยเกิดขึ้นกับชาวยิวช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้หวนกลับมาสร้างความน่าสะพรึงกลัวให้แก่ชาวเติร์กในเยอรมนี คนเติร์กรุ่นพ่อมองปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับชาวต่างชาติผู้มาอาศัยอยู่ในสังคมเยอรมันว่าสิ่งที่เกิดขึ้นกับชาวเติร์กในปัจจุบันมีความคล้ายคลึงกับสิ่งที่เคยเกิดขึ้นกับชาวยิวในอดีต กล่าวคือ มีการถูกกดขี่ในลักษณะคล้ายกัน ทำให้เขาประสบกับภาวะหลอนจากการยึดโยงชาวเติร์กเข้ากับชาวยิว และการยึดโยงความทรงจำเกี่ยวกับนาซีในอดีตเข้ากับนาซีใหม่หรือนีโอนาซี (Neo-Nazi) แม้จะดูเหมือนว่าตัวละครพ่อเป็นคนรุ่นเก่าที่ไม่สามารถต่อรองทางอัตลักษณ์ แต่อันที่จริงแล้วพ่อไม่ได้เป็นเช่นนั้น อย่างไรก็ตาม พ่อมีความขัดแย้งในตนเอง เห็นได้จากการที่พ่อมีสองบ้าน พ่อแต่งงานและดำเนินชีวิตครอบครัวทั้งกับหญิงชาวเยอรมันและหญิงชาวเติร์กในเวลาเดียวกัน ตัวละครซึ่งเป็นตัวแทนของคนเติร์กรุ่นลูกที่แตกต่างไปจากคนรุ่นพ่อ ได้แก่ อัดนานกับเออเมอร์ ในขณะที่อัดนานรู้จักที่จะเล่นกับอัตลักษณ์และมีเล่ห์เหลี่ยมในการต่อรองอัตลักษณ์เพื่อผลประโยชน์ เออเมอร์กลับถูกวางอยู่ในฐานะผู้สังเกตการณ์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องคดีความของพ่อหรือความรุนแรงทางชาติพันธุ์ นั่นอาจบ่งบอกว่าเขาไม่ได้ผูกโยงตนเองกับชาติพันธุ์และสามารถผูกสัมพันธ์ได้กับทุกคน ผู้วิจัยเสนอว่าผู้ประพันธ์ตั้งคำถามเชิงวิพากษ์กับอัตลักษณ์เติร์กโดยใช้กลยุทธ์การต่อรองอัตลักษณ์และพื้นที่ทางสังคมของตัวละครเติร์กในสังคมเยอรมัน ในการใช้กลยุทธ์ดังกล่าว ผู้ประพันธ์เสนอความรุนแรงข้ามพ้นพรมแดนเชื้อชาติและส่งเสริมให้เด็กเยอรมันรุ่นใหม่จับกลุ่มเป็นเพื่อนกันโดยไม่แบ่งแยกเขาแยกเราซึ่งจะช่วยลดทอนความแปลกแยกระหว่างคนต่างวัฒนธรรมในสังคมเยอรมันได้ในระดับหนึ่ง |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52699 |
Type: | Article |
Appears in Collections: | Arts - Journal Articles |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Siriporn_Sr_Art2.pdf | 394.04 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.