Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53296
Title: ศิลาวรรณนาและธรณีเคมีของแร่เฟลด์สปาร์สีชมพูและสีขาวในหินแกรนิตของประเทศไทย
Other Titles: Petrography and geochemistry of pink and white feldspars in granites of Thailand
Authors: นนท์นริฐ พรเพชรรัศมีกุล
Advisors: ปัญญา จารุศิริ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: หินฟันม้า -- ไทย
หินแกรนิต -- ไทย
Feldspar -- Thailand
Granite -- Thailand
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: หินแกรนิตเป็นหินอัคนีแทรกซอนชนิดหนึ่งที่พบมากในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทยพบทั้งในลักษณะภูมิประเทศที่เป็นเทือกเขาและที่ราบ จากการสำรวจธรณีวิทยาของหินแกรนิต พบว่าสามารถแบ่งหินแกรนิตออกได้เป็น 3 แนวตามลักษณะเฉพาะตัวที่แตกต่างกัน โดยการศึกษาของ Charusiri และคณะ (1993) แบ่งได้เป็นหินแกรนิตแนวตะวันตก หินแกรนิตแนวตอนกลางและหินแกรนิตแนวตะวันออก หินแกรนิตประกอบด้วยแร่ที่สำคัญๆ ได้แก่ แร่เฟลด์สปาร์, แร่ควอรตซ์ และแร่ไบโอไทต์ หากวิเคราะห์ทางกายภาพของหินแกรนิตแล้วจะพบว่าหินแกรนิตมีสีที่หลากหลาย โดยแร่เฟลด์สปาร์จะเป็นแร่หนึ่งที่ทำให้หินแกรนิตนั้นมีสีต่างๆ ได้ ดังนั้นจึงวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างแร่เฟลด์สปาร์สีชมพูและสีขาวในหินแกรนิตทั้งด้านแร่วิทยาทางแสงและธรณีเคมี จากการศึกษาศิลาวรรณนาสามารถวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างแร่เฟลด์สปาร์สีชมพูและสีขาวได้ โดยที่แร่เฟลด์สปาร์สีชมพูภายใต้กล้องจุลทรรศน์แสงโพลาไรซ์จะพบลักษณะเนื้อที่มีรูปร่างของเพอร์ไทต์ และพบแร่ที่เกิดร่วมด้วย ได้แก่ แร่ควอรตซ์, แร่อะพาไทต์, แร่สฟีน, แร่ฮอร์นเบลนด์ และแร่ไบโอไทต์ที่มีพลีโอโคอิคสีเขียว แต่ในแร่เฟลด์สปาร์สีขาวจะพบลักษณะเนื้อที่ไม่มีรูปร่างของเพอร์ไทต์ และพบแร่ที่เกิดร่วมด้วย ได้แก่ แร่มัสโคไวต์และแร่ไบโอไทต์ นอกจากนี้ลักษณะความแตกต่างเคมีของแร่เฟลด์สปาร์ที่ทำให้แร่เฟลด์สปาร์มีสีชมพูคือธาตุ Al, Si, Mg, P, Zr, Sr, และ Pb ที่มีปริมาณน้อยกว่าในแร่เฟลด์สปาร์สีขาว แต่แร่เฟลด์สปาร์สีชมพูจะพบธาตุ Ca, Ti, Mn, Na, K, Fe, Ni, Cu, Rh, Ba, และ Hf จะมีปริมาณมากกว่าในแร่เฟลด์สปาร์สีขาว โดยธาตุที่ทำให้แร่เฟลด์สปาร์มีสีชมพูคือ ธาตุ Mn, Fe และ Ba ส่วนการวิเคราะห์ลักษณะ structural state และการเรียงตัวของธาตุในแร่เฟลด์สปาร์ จะพบว่าแร่เฟลด์สปาร์สีชมพูจะมีโครงสร้างที่แสดงลักษณะ structural state ที่สูงกว่าและมีการเรียงตัวของธาตุอะลูมิเนียมและธาตุซิลิกอนไม่ค่อยเป็นระเบียบ แสดงว่าแร่เฟลด์สปาร์สีชมพูมีการเย็นตัว ณ อุณหภูมิที่สูงกว่าแร่เฟลด์สปาร์สีขาว ซึ่งสอดคล้องกับการวิเคราะห์อุณหภูมิในการเกิดแร่เฟลด์สปาร์ โดยใช้วิธีของ Putirka (2008) พบว่าแร่เฟลด์สปาร์สีชมพูเกิด ณ อุณหภูมิช่วง 550 – 650 ซึ่งสูงกว่าอุณหภูมิของแร่เฟลด์สปาร์สีขาวที่เกิด ณ อุณหภูมิช่วง 450 – 500 อีกทั้งแร่ที่ร่วมด้วยกับแร่เฟลด์สปาร์สีชมพูก็เป็นแร่ที่เกิดที่อุณหภูมิสูงด้วยเช่นกัน
Other Abstract: Granite is the one of plutonic rocks that has been found abundantly in Southeast Asia. Granite in Thailand was found in both of mountain range and plain. The mapping of granite by Charusiri et.al.(1993) was divided granite into three belts, there are Eastern belt granite, Central belt granite, and Western belt granite. General characteristics of granite contain major minerals i.e. feldspar, quartz, and biotite. As a result of physical properties, found that granite varies in color: white, pink, gray, dark gray to black. Color of granite causes by color of feldspar, therefore, this project aimed to determine the difference between pink and white feldspars in granite of Thailand by petrography and mineral chemistry. From the petrographic study, feldspar was identified to pink and white, feldspar under polarizing microscope was observed to be irregular perthitic texture and associated minerals with pink feldspar consists of quartz, apatite, sphene and green pleochroic biotite while white feldspar is regular perthitic texture under microscope and associated minerals with white feldspar consists of muscovite and biotite. Moreover, the different of mineral chemical characteristics influence to the color of pink and white feldspar. Pink feldspar contains Al, Si, Mg, P, Zr, Sr, and Pb less than white feldspar but contains Ca, Ti, Mn, Na, K, Fe, Ni, Cu, Rh, Ba, and Hf more than white feldspar whereas pink-colored of feldspar causes by Mn, Fe and Ba. The mineral rock-forming for Al-Si order indicate that pink feldspar belongs to a higher structural state or disordered triclinic phase. That means pink feldspar occurs in higher temperature condition than white feldspar. Corresponding to geothermometric calculations were carried out using two-feldspar thermometry. The method of Putirka (2008) found that pink feldspar occur in 550 – 650 that higher than white feldspar ( about 450 – 500 ) and associated minerals with pink feldspar are high temperature minerals.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2554
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53296
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
report_Nontnarit PH..pdf8.36 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.