Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5611
Title: | การประเมินค่าทางพันธุกรรมของลักษณะปริมาณน้ำนมในโคนมลูกผสมโดยใช้บันทึกผลผลิตในวันทดสอบ |
Other Titles: | Genetic evaluation of milk Yields in crossbred dairy cattle using test day records |
Authors: | สายัณห์ บัวบาน |
Advisors: | จันทร์จรัส เรี่ยวเดชะ ศักดิ์ชัย โตภาณุรักษ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected], [email protected] [email protected] |
Subjects: | น้ำนม โคนม การประมาณค่าพารามิเตอร์ พันธุกรรม |
Issue Date: | 2543 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้เพื่อประมาณค่าพารามิเตอร์ทางพันธุกรรม และประเมินค่าการผสมพันธุ์สำหรับลักษณะปริมาณน้ำนมในวันทดสอบ และลักษณะปริมาณน้ำนมที่ 305 วัน พร้อมทั้งเปรียบเทียบผลที่ได้จากการวิเคราะห์ทั้งสองลักษณะโดยใช้แฟ้มข้อมูลที่ประกอบด้วยแม่โคนมที่ให้น้ำนมสมบูรณ์ในระยะการให้นมครั้งแรก อย่างน้อย 150 วัน จำนวน 645 ตัว การประมาณค่าองค์ประกอบความแปรปรวน (ความแปรปรวนทางพันธุกรรม ความแปรปรวนของสภาพแวดล้อมถาวร และความแปรปรวนของความคลาดเคลื่อน) สำหรับปริมาณน้ำนมในระยะการให้นมที่ 305 วันใช้โมเดลบันทึกผลิตน้ำนมในระยะการให้นมที่ 305 วัน (305-day lactation model, 305DLM) และปริมาณน้ำนมในวันทดสอบใช้โมเดลบันทึกผลผลิตน้ำนมในวันทดสอบ (test day model, TDM) ด้วยวิธี Restricted maximum likelihood (REMl) ผลการศึกษาพบว่าองค์ประกอบความแปรปรวนของความคลาดเคลื่อนจากการจำแนกกลุ่มที่มีการจัดการและสภาพแวดล้อมเดียวกันด้วย ฝูง-วันทดสอบ มีค่าต่ำกว่าการจำแนกด้วย ฝูง-ปี-ฤดูกาลตลอด 15.64 เปอร์เซ็นต์ ค่าอัตราพันธุกรรมของปริมาณน้ำนมในวันทดสอบมีค่าต่ำกว่าหรือใกล้เคียงกับปริมาณน้ำนมในระยะการให้นมที่ 305 วัน ค่าสหสัมพันธ์ทางพันธุกรรมระหว่างปริมาณน้ำนมในวันทดสอบกับปริมาณน้ำนมในระยะการให้นมที่ 305 วันมีค่าสูงกว่า 0.76 การหาความสัมพันธ์ระหว่างค่าการผสมพันธุ์จาก TDM กับ 305DLM ด้วย Pearson correlation และ Spearman rank correlation ได้ค่าสูงกว่า 0.87 ทั้งข้อมูลทั้งหมดและข้อมูลบางส่วน แสดงให้เห็นว่าค่าการผสมพันธุ์สำหรับปริมาณน้ำนมในวันทดสอบมีความสัมพันธ์อย่างสูงกับปริมาณน้ำนมในระยะการให้นมที่ 305 วัน ดังนั้นสามารถสรุปได้ว่าปริมาณน้ำนมในวันทดสอบสามารถใช้แทนปริมาณน้ำนมในระยะการให้นมที่ 305 วันสำหรับประเมินค่าทางพันธุกรรมของโคนมได้โดยใช้ TDM ที่เหมาะสม |
Other Abstract: | This study was designed to estimate genetic parameters and breeding values (EBVs) for test day and 305-day milk yields, and to compare the results of both analyses using data file containing 645 complete first lactations of at least 150 days. Variance component estimates, namely additive, permanent environmental and residual, for 305-day milk yields using 305-day lactation model (305DLM) and for test day milk yields using test day models (TDMs) were estimated by restricted maximum likelihood (REML) method. Residual variance from the model that defined contemporary group with herd-test date (HTD) was 15.64% lower than the defined contemporary herd-year-season (HYS) group. Heritability estimates of TD milk yields from all TDMs were lower than or close to the corresponding estimates for 305-day milk yields. Genetic correlation between TD milk yields and 305-day milk yield were high (rgg>0.76). Correlations between TDM and 305DLM that calculated by Pearson correlations and Spearman rank correlations were high (r>0.87) for both full data and reduced data. These analyses showed that EBVs for TD milk yields were highly correlated with EBVs for 305-day milk yields. Therefore, the results can be concluded that TD milk yields may replace the 305-day milk yields for genetic evaluation of dairy cattle using suitable TDMs. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การปรับปรุงพันธุ์สัตว์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5611 |
ISBN: | 9743472886 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Vet - Theses |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.