Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56620
Title: | พัฒนาการของการศึกษาวิทยาศาสตร์ในประเทศไทย : รายงานผลการวิจัย |
Other Titles: | Development of science education in Thailand |
Authors: | พิมพันธ์ เดชะคุปต์ |
Email: | [email protected] |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Subjects: | วิทยาศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน -- ไทย วิทยาศาสตร์ -- หลักสูตร การศึกษา -- หลักสูตร -- ไทย |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประมวลข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการของการศึกษาวิทยาศาสตร์ในประเทศไทย ตั้งแต่พุทธศักราช 2438 จนถึงพุทธศักราช 2540 และ 2) เพื่อวิเคราะห์การศึกษาวิทยาศาสตร์ในประเทศไทยที่เกี่ยวกับปรัชญา นโยบาย เป้าหมาย หลักสูตร การจัดการเรียนการสอน และการวัดและประเมินผล เป็นการวิจัยโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงประวัติศาสตร์เพื่อวิเคราะห์เนื้อหาที่เก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและสิ่งตีพิมพ์ของหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับการศึกษาวิทยาศาสตร์ ผลการวิจัย พบว่า 1)พัฒนาการของการศึกษาวิทยาศาสตร์ในประเทศไทย สามารถแบ่งได้เป็น 2 ช่วง คือ ช่วงพุทธศักราช 2438 - พุทธศักราช 2517 ซึ่งเป็นช่วงที่ยังไม่มีหลักสูตรการศึกษาวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะแต่มีการกำหนดให้เรียนวิชาวิทยาศาสตร์ทุกระดับชั้น มีจุดประสงค์การจัดการเรียนการสอนเพื่อให้นักเรียนนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินชีวิต เป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อ และการประกอบอาชีพ โดยเน้นด้านความรู้ความเข้าใจเป็นหลัก จนมาปีพุทธศักราช 2503 จึงได้เพิ่มจุดประสงค์ที่ครอบคลุมด้านทักษะกระบวนการและด้านเจตคติ และช่วงพุทธศักราช 2518 - พุทธศักราช 2540 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ได้เข้ามาร่วมพัฒนาการศึกษาวิทยาศาสตร์ โดยมีจุดประสงค์ที่เน้นให้นักเรียนเกิดกระบวนการในการแสวงหาความรู้และให้มีเจตคติ 2)ตั้งแต่พุทธศักราช 2438 - พุทธศักราช 2540 ปรัชญา นโยบาย และเป้าหมายการพัฒนาการศึกษาวิทยาศาสตร์ที่ได้รับการสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ การผลิตและพัฒนาบุคลากรทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การวิจัยเพื่อพัฒนาการศึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการพัฒนาหลักสูตร และการจัดการเรียนการสอน การจัดเนื้อหาในวิชาวิทยาศาสตร์มีพัฒนาการจากการจัดตามองค์ความรู้จากต่างประเทศมาเป็นการจัดเนื้อหาในวิชาวิทยาศาสตร์ที่คำนึงถึงธรรมชาติของนักเรียนมากขึ้น กลยุทธ์การสอนมีพัฒนาการที่เน้นการบรรยายมาเป็นการใช้กลยุทธ์การสอนที่เน้นแนวการสอนแบบสืบสอบและเน้นกระบวนการแก้ปัญหาผ่านการใช้สื่อการสอนที่เป็นของจริง ซึ่งได้รับความสำคัญเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง การวัดผลและประเมินผลมีพัฒนาการจากการวัดด้านความรู้ความเข้าใจโดยมีเจ้าหน้าที่จากรัฐเป็นผู้ดำเนินการสอบเป็นหลัก มาเป็นการวัดและประเมินผลที่มีระบบชัดเจน มีทั้งการสอบข้อเขียนและภาคปฏิบัติ และให้ครูผู้สอนเป็นผู้ดำเนินการสอบ ส่วนการกำหนดอัตราเวลาเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ในรอบหนึ่งสัปดาห์ ตั้งแต่พุทธศักราช 2438 - พุทธศักราช 2540 ไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก |
Other Abstract: | The purpose of this research project were to 1)process the data of development of science education in Thailand from the years 1895 to 1997 2)analyze the data focused on philosophy, policies, goals, curriculum, instruction and assessment and evaluation of science education in Thailand. This study used historical research methodology to conduct documentary content analysis of primary and secondary source document concerning science education. The research results were as follows : 1) The development of science education in Thailand can be divided into two periods. The first period from the years 1895 to 1974, there were no specific science education curriculum available but science courses were assigned in all educational levels. The objective of science education in the beginning of this period was to emphasize the knowledge for applying in daily life, further studying, and career, until 1960 the objectives had been covered process skill and attitude. The second period from the years 1975 to 1997, institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST) was officailly established and participated in the development of science education national curriculum, which the objectives were focused on developing the process of seeking knowledge and attitudes in students. 2)From the years 1895 to 1997, the national philosophy, policies, and goals for the development of science education were consistently supported including the production and development of scientific and technological staff, doing research in science and technology education, and the development of curriculum and instruction. The nature of students were more concerned for organizing science content. In the same way, the teaching strategies had evolved from lecture to the approaches that focused on inquiry and problem solving by using concrete materials. Assessments and evaluations had evolved from a cognitive focused to the system that included written and practical exams, which the examiners were teachers instead of the government staff. Furthermore, structured learning time in science had not changed much. |
Discipline Code: | 0804 |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56620 |
Type: | Technical Report |
Appears in Collections: | Edu - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pimpan_Dachakupt_Research_2017.pdf | 2.19 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.