Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59283
Title: การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนพลศึกษาเพื่อพัฒนากระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณและความมีน้ำใจนักกีฬาของนักเรียนระดับประถมศึกษา
Other Titles: Development of a physical education instructional model to develop critical thinking processes and sportsmanship of elementary school students
Authors: ดนัย ดวงภุมเมศร์
Advisors: เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์
รัชนี ขวัญบุญจัน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
ไม่มีข้อมูล
Subjects: พลศึกษา
ความคิดและการคิด
ความคิดอย่างมีวิจารณญาณ
Physical education and training
Thought and thinking
Critical thinking
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนพลศึกษาเพื่อพัฒนากระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณและความมีน้ำใจนักกีฬาของนักเรียนระดับประถมศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็น นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดบางปะกอก เขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร ซึ่งใช้การคัดเลือก แบบเฉพาะเจาะจง ทำการแบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละ 40 คน โดยกลุ่มที่ 1 จัดการเรียนการสอนพลศึกษา เพื่อพัฒนากระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มที่ 2 จัดการเรียนการสอนพลศึกษาเพื่อพัฒนาความมีน้ำใจนักกีฬา กลุ่มที่ 3 จัดการเรียนการสอนพลศึกษาเพื่อพัฒนากระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณและความมีน้ำใจนักกีฬา และ กลุ่มที่ 4 จัดการเรียนการสอนพลศึกษาแบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียน การสอนพลศึกษา แบบทดสอบกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และแบบทดสอบความมีน้ำใจนักกีฬา ซึ่งได้รับ การตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) จากผู้ทรงคุณวุฒิ มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.8 - 1.0 มีค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เท่ากับ 0.75 และมีค่าความเชื่อมั่น ของแบบทดสอบความมีน้ำใจนักกีฬา เท่ากับ 0.91 ดำเนินการจัดการเรียนการสอนพลศึกษาเป็นระยะเวลา 16 สัปดาห์ ทำการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที(t-test for Dependent Sample) วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One – way Analysis of Variance) และเปรียบเทียบความแตกต่าง รายคู่โดยวิธีของตูกี (Tukey) ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการเรียนการสอนพลศึกษา เพื่อพัฒนากระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณและความมีน้ำใจ นักกีฬาของนักเรียนระดับประถมศึกษา ประกอบด้วยขั้นตอนการสอน 7 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นเตรียม 2) ขั้นอธิบาย และสาธิต 3) ขั้นฝึกปฏิบัติ4) ขั้นอภิปราย 5) ขั้นนำไปใช้ 6) ขั้นประเมิน และ7) ขั้นสรุป ซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้อง (Index of Item Objective Congruence) จากการประเมินของผู้ทรงคุณวุฒิเท่ากับ 1.0 มีคุณภาพเหมาะสมสามารถ นำไปใช้ได้ 2. ผลการจัดการเรียนการสอนพลศึกษา พบว่า 2.1 ค่าเฉลี่ยคะแนนการทดสอบกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ หลังการเรียนการสอนพลศึกษา ของกลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 3 สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และค่าเฉลี่ยคะแนนการทดสอบกระบวนการคิด อย่างมีวิจารณญาณหลังการเรียนการสอนพลศึกษาของกลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 3 สูงกว่ากลุ่มที่ 2 และกลุ่มที่ 4 อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.2 ค่าเฉลี่ยคะแนนการทดสอบความมีน้ำใจนักกีฬา หลังการเรียนการสอนพลศึกษาของกลุ่มที่ 1 กลุ่มที่ 2 กลุ่มที่ 3 และกลุ่มที่ 4 สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ค่าเฉลี่ยคะแนนการทดสอบความมีน้ำใจ นักกีฬาหลังการเรียนการสอนพลศึกษาของกลุ่มที่ 2 สูงกว่ากลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 4 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และค่าเฉลี่ยคะแนนการทดสอบความมีน้ำใจนักกีฬาหลังการเรียนการสอนพลศึกษาของกลุ่มที่ 3 สูงกว่ากลุ่มที่ 4 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purpose of this research was to develop a physical education instructional model to develop critical thinking processes and sportsmanship of elementary school students. The fourth grade students were selected by purposive selection from Watbangpakok School in Rajburana District, Bangkok. They were divided into 4 groups (each group consisted of 40 students): group 1 used the physical education instruction to develop critical thinking processes, group 2 used the physical education instruction to develop sportsmanship, group 3 used the physical education instruction to develop critical thinking processes and sportsmanship and group 4 used the physical education conventional instruction. The research instruments with 0.8 - 1.0 index of item objective congruence value were composed of lesson plans, critical thinking processes test with 0.75 reliability and sportsmanship test with 0.91 reliability. All subjects in each group were taught by the researcher for 16 weeks. The data were then analyzed in terms of means, standard deviation, t-test for dependent sample, one–way analysis of variance and Tukey’s test. The findings of this research were as follows: 1. The physical education instructional model to develop critical thinking processes and sportsmanship of elementary school students included 7 steps which were: 1) Introduction 2) Explanation and Demonstration 3) Practices 4) Discussion 5) Application 6) Assessment and 7) Conclusion. The index of item objective congruence (IOC) was equal to 1.0 which showed its quality and appropriateness for application. 2. The followings showed the results of physical education instructions: 2.1 The critical thinking processes scores of students in group 1 and group 3 were higher than before instruction at .05 level of significance. Students in group 1 and group 3 had higher critical thinking processes scores than students in group 2 and group 4 at .05 level of significance. 2.2 The sportsmanship scores of students in group 1, group 2, group 3 and group 4 were all higher than before instruction at .05 level of significance. Students in group 2 had higher sportsmanship scores than students in group 1 and group 4 at .05 level of significance while the students in group 3 had higher sportsmanship scores than students in group 4 at .05 level of significance.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: พลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59283
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.392
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.392
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Danai Duangphummes.pdf83.18 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.