Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61227
Title: | การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความหลากหลายทางพันธุกรรมของตัวรับของของฮอร์โมนเอสโตรเจนชนิดอัลฟ่าและการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบของผู้ป่วยชายไทย ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ |
Other Titles: | Associaton between estrogen receptor α polymorphism and coronary heart disease in Thai male patients at King Chulalongkorn Memorial Hospital |
Authors: | ดารกา โควินทเศรษฐ |
Advisors: | ธิติ สนับบุญ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ หลอดเลือดโคโรนารีย์ -- โรค -- การวินิจฉัยโรค หลอดเลือดโคโรนารีย์ -- โรค -- ผู้ป่วย -- ไทย ตัวรับเอสโตรเจน ภาวะพหุสัณฐานทางพันธุกรรม King Chulalongkorn Memorial Hospital Coronary heart disease -- Diagnosis Coronary heart disease -- Patients -- Thailand Estrogen -- Receptors Genetic polymorphisms |
Issue Date: | 2553 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ที่มา ฮอร์โมนเอสโตรเจนเชื่อว่ามีบทบาทในการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ การออกฤทธิ์ของฮอร์โมนดังกล่าวจะผ่านทางตัวรับประกอบด้วย 2 ชนิดได้แก่ ชนิดอัลฟ่าและเบต้า เชื่อว่าตัวรับของฮอร์โมนเอสโตรเจนนี้พบที่เยื่อบุผนังและกล้ามเนื้อเรียบของหลอดเลือด การมีความหลากหลายทางพันธุกรรมของตัวรับฮอร์โมนนี้อาจส่งผลให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้ วัตถุประสงค์ในการศึกษา ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความหลากหลายทางพันธุกรรมของตัวรับของฮอร์โมนเอสโตรเจนชนิดอัลฟ่ากับการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบในผู้ป่วยชายไทยรวมถึงความสัมพันธ์กับปัจจัยอื่นๆได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูงและภาวะอ้วน วิธีการศึกษา ผู้ป่วยชายไทยที่ทำการสวนหลอดเลือดหัวใจ หากพบมีการตีบของหลอดเลือดโคโรนารีมากกว่า 50% จัดอยู่ในกลุ่มหลอดเลือดหัวใจตีบจำนวน 85 คนและผู้ที่สวนหลอดเลือดหัวใจพบมีการตีบของหลอดเลือดโคโรนารีน้อยกว่า 50% จัดอยู่ในกลุ่มควบคุมจำนวน 85 คน ทำการตรวจหาความหลากหลายทางพันธุกรรมของตัวรับของฮอร์โมนเอสโตรเจนโดยวิธีมาตรฐาน ผลการศึกษา พบว่าความหลากหลายทางพันธุกรรมของตัวรับฮอร์โมนเอสโตรเจนชนิดอัลฟ่าตำแหน่ง c.454-397T>C ในกลุ่มหลอดเลือดหัวใจตีบและกลุ่มควบคุมไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ รวมถึงไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างการเกิดหลากหลายทางพันธุกรรมของตัวรับของฮอร์โมนเอสโตรเจนชนิดอัลฟ่ากับปัจจัยอื่นๆ เช่นกัน สรุปผลการศึกษา ความหลากหลายทางพันธุกรรมของตัวรับฮอร์โมนเอสโตรเจนชนิดอัลฟ่า ไม่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบในผู้ชายไทย |
Other Abstract: | Background : Estrogens have favorable effects on the cardiovascular system. Their genomic effects are exerted via the estrogen receptor alpha (ERα) and beta (ERβ) which are expressed in endothelial cells and vascular smooth muscle cells. Polymorphisms of the estrogen receptors may be associated with cardiovascular disease. Objectives : To investigate the association between an ERα polymorphism (c.454-397T>C) with coronary heart disease in Thai male patients and other risk factors including diabetes mellitus, hypertension, dyslipidemia and obesity. Methods : A cross-sectional case-control study, 85 patients with more than 50% coronary stenoses (CAD group) and 85 patients with less than 50% coronary stenoses (control group). The c.454-397T>C genotype were determined by standard method of polymerase chain reaction and restriction fragment length polymorphism. Results : The frequency of the ERα c.454-397T>C polymorphism was similar in the CAD group and the control group (P-value = 0.18). In addition no association between ERα c.454-397T>C polymorphism and other diseases were demonstrated. Conclusions : The result indicates that the c.454-397T>C polymorphism of ERα is not associated with of coronary heart disease in Thai male patients. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | อายุรศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61227 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1682 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2010.1682 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Daraka Kowintasate.pdf | 1.65 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.