Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6180
Title: | การเฝ้าระวังเชื้อแบคทีเรียเอนเตอร์โรค๊อคคัส และซาลโมเนลล่าที่ดื้อยาในไก่เนื้อ : รายงานผลการวิจัย |
Other Titles: | Monitoring of antimicrobial resistance Enterococcus and Salmonella spp. in broilers |
Authors: | ธงชัย เฉลิมชัยกิจ จิโรจ ศศิปรียจันทร์ มณฑล เลิศวรปรีชา |
Email: | [email protected] [email protected], [email protected] ไม่มีข้อมูล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์ ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | เอนเตอร์โรคอคคัส การดื้อยา ไก่เนื้อ ซาลโมเนลลา |
Issue Date: | 2546 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์ลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | จากการศึกษาในปี พ.ศ. 2545 โดยทำการตรวจตัวอย่างอุจจาระไก่พื้นเมือง (ไก่บ้าน) ของเกษตรกรรายย่อยที่เลี้ยงปล่อยในชนบทและตัวอย่างอุจจาระไก่เนื้อในฟาร์ม (ไก่ฟาร์ม) ที่เลี้ยงในระบบอุตสาหกรรมพบว่าความชุกของเชื้อซาลโมเนลล่าเท่ากับ 1 และ 5% ตามลำดับ โดยพบเชื้อซาลโมเนลล่าในตัวอย่างเนื้อไก่บ้าน ตัวอย่างเนื้อไก่จากซุปเปอร์มาร์เก็ตและจากตลาดสดเท่ากับ 13, 19 และ 64% ตามลำดับ ซึ่งซีโรวาร์ของเชื้อซาลโมเนลล่าที่พบในแต่ละกลุ่มตัวอย่างมีความหลากหลายแต่ซีโรวาร์ที่พบสูงถึง 43.5% ในตัวอย่างอุจจาระไก่ฟาร์ม คือ S. Enteritidis ส่วนในตัวอย่างเนื้อไก่จากซุปเปอร์มาร์เก็ตและจากตลาดสดพบว่าเป็น S. Enteritidis 16 และ 9.2% ตามลำดับ ทั้งนี้ การปนเปื้อนของเชื้อซาลโมเนลล่าในตัวอย่างเนื้อไก่จากซุปเปอร์มาร์เก็ตและจากตลาดสดพบว่าลดลงกว่าที่ตรวจพบในปี พ.ศ. 2543 ซึ่งพบสูงถึง 48 และ 90% ตามลำดับ สำหรับอัตราการดื้อยาของเชื้อซาลโมเนลล่าที่แยกได้จากตัวอย่างอุจจาระไก่ฟาร์มพบว่าดื้อต่อยา Ampicillin 21.7%, Chloramphenicol 17.4%, Kanamycin 17.4%, Nitrofurantoin 13%, Tetracycline 17.4%, Nalidixic acid 78.3%, Ciprofloxacin 8.7%, Furazolidone 17.4% และ Sulfamethoxazole 13% โดยมีความไวรับ 100% ต่อยา Sulfamethoxazole+Trimethoprim ทั้งนี้ เชื้อซาลโมเนลล่าที่แยกได้จากตัวอย่างอุจจาระไก่บ้านพบว่ามีอัตราการดื้อต่อยาต้านจุลชีพ Ampicillin, Tetracycline, Ciprofloxacin, Furazolidone และ Sulamethoxazole สูงกว่าเชื้อที่แยกได้จากตัวอย่างอุจจาระไก่ฟาร์มซึ่งแตกต่างจากข้อมูลที่ตรวจพบในปี พ.ศ. 2543 ซึ่งเชื้อที่แยกได้จากตัวอย่างอุจจาระไก่บ้านมีอัตราการดื้อต่อยาต่ำกว่ามาก การตรวจหาเชื้อเอ็นเดอโรค๊อคคัยในตัวอย่างอุจจาระไก่บ้านและไก่ฟาร์มพบว่าเป็นEnterococcus fecalis 46 และ 41% และ E. faecium 42 และ 36% ตามลำดับ โดยเชื้อเอ็นเดอโรค๊อคคัสที่แยกได้จากตัวอย่างอุจจาระไก่บ้านมีอัตราการดื้อต่อยา Chloramphenicol, Kanamycin, Tetracycline, Erythromycin, Streptomycin, Nitrofurantoin และ Tylosin ต่ำกว่าเชื้อที่แยกได้จากตัวอย่างอุจจาระไก่ฟาร์มมาก ยกเว้นการดื้อต่อยา Vancomycin ซึ่ง E. fecalis และ E. faecium ที่แยกได้จากตัวอย่างอุจจาระไก่ฟาร์มมาก ยกเว้นการดื้อต่อยา Vancomycin ซึ่ง E. fecalis และ E. faecium ที่แยกได้จากตัวอย่างอุจจาระไก่บ้านพบ 4 และ 8.8% ตามลำดับ ในขณะที่เชื้อที่แยกได้จากตัวอย่างอุจจาระไก่ฟาร์มพบ 2 และ 0.8% ตามลำดับ ผลจากการวิจัยนี้แสดงนัยว่าการปนเปื้อนของเชื้อซาลโมเนลล่ายังคงอยู่ค่อนข้างสูง นอกจากนี้การดื้อต่อยาของเชื้อซาลโมเนลล่าต่อยากลุ่ม Fluoroquinolones ยังคงสูงมาก ดังนั้นควรให้ความสำคัญในการรณรงค์ให้มีการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างรอบคอบและเหมาะสมในอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์เพื่อป้องกันและชลอปัญหาเชื้อดื้อยาแก่ผู้เกี่ยวข้องรวมทั้งในสถาบันการศึกษาสัตวแพทย์ |
Other Abstract: | In the year 2002 surveillance, the prevalence of Salmonella isolated from cloacal swabs of native-chicken raised in the rural area and broilers in intensive-farming system (farmed-chicken) were found 1 and 5%,respectively. While the contamination of Salmonella found in native-chicken meat, chicken meat bought from supermarkets and local-markets were 13, 19 and 64%, respectively. Various of Salmonella serovars were identified but S. Enteritidis was found in feces of farmed-chicken, chicken meat from supermarkets and local-markets were 43.5, 16, and 9.2%, respectively. The contamination of Salmonella in chicken meat from supermarkets and fresh-markets were lower than the year 2000 which were as high as 48 and 90%, respectively. Salmonella isolated from feces of farmed-chicken resisted to Ampicillin 21.7%, Chloramphenicol 17.4%, Kanamycin 17.4%, Nitrofurantoin 13%, Tetracycline 17.4%, Nalidixic acid 78.3%, Ciprofloxacin 8.7%, Furazolidone 17.4%, and Sulfamethoxazole 13% but all were susceptible to Sulfamethoxazole+Trimethoprim. Salmonella isolated from feces of native-chicken was resistance to Ampicillin, Tetracycline, ciprofloxacin, Furazolidone, and Sulfamethoxazole higher than strains from farmed-chicken. This results were different from the surveillance in the year 2000 which Salmonella isolated from feces of native-chicken had lesser resistance than strains strains from farmed-chicken. Enterococcus spp. Found in feces of native-chicken and farmed-chicken were E. fecalis 46 and 41% E. faecium 42 and 36%, respectively. Enterococci strains isolated from feces of native-chicken were found resisting to Chloramphenicol, Kanamycin, Tetracycline, Erythromycin, Streptomycin, Nitrofurantoin, and Tylosin lesser than strains from farmed-chicken, except Vancomycin which E. fecalis and E. faecium from native-chicken were resistance 4 and 8.8%, respectively while strains from farmed-chicken were resistance to Vancomycin 2 and 0.8%, respectively. This study revealed that there is still high contamination of Salmonella in chicken meat and the antimicrobial resistance is still a major problem, especially Fluoroquinolones. Therefore, the prudent use of antimicrobial drugs has to be continuing educated to all stakeholders and in the schools of veterinary medicine. |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6180 |
Type: | Technical Report |
Appears in Collections: | Vet - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Thongchai_broiler46.pdf | 2.74 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.