Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61867
Title: การศึกษาลดความผันผวนของราคาน้ำมันขายปลีก โดยการบริหารจัดการของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
Other Titles: A study on retail oil prices volatility reduction by Oil Fund management
Authors: วชิราภรณ์ จอมศิลป์
Advisors: วีรินทร์ หวังจิรนิรันดร์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: น้ำมันเชื้อเพลิง -- ราคา
เชื้อเพลิง -- ราคา
กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
Fuel -- Prices
Oil Fund
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: This study focuses on the volatility reduction of the gasoline and diesel retail prices by allocating the oil fund to invest in the ex-refinery oil prices and the margin of the oil fund is used to reduce the volatility of the retail oil prices from January 2008 to December 2011 on the condition that the oil fund still has 28,465 million baht as it had on 30th of December, 2010. Then three case studies are performed as follows; Case study 1: Assumption that we allocate 5,145.6 million baht or 13.56 percent of the oil fund for the gasoline investment and 3,186.6 million baht or 11.20 percent for the diesel, the standard deviation of gasoline will be decreased 1.41 percent and 0.92 percent for the diesel. Case study 2: Using the tendency of the gasoline retail prices calculated by the linear equations: Y = (-0.169X) + 28.49 and the diesel: Y = (-0.011X) + 28.82 as the database to indicate the volatility of the retail oil price. Assumption that we allocate 3,859.2 million baht or 13.56 percent of the oil fund for the gasoline investment to indicate the volatility of the retail oil price, the standard deviation of gasoline will be decreased for 1.09 percent while the standard deviation of diesel will be decreased for 3.40 percent if we allocate 19,119.6 million baht or 67.17 percent for the diesel investment. Case study 3: Assumption that we fix the average of sum taxes and various funds of the gasoline for 16.93 baht per liter and for diesel 8.23 baht per liter. The standard deviation of gasoline will be decreased 1.48 percent and 1.27 percent for the diesel. We found that at present the oil fund doesn't make the oil prices balanced. But just supports the LPG and NGV prices. In conclusion the three management mechanism can reduce the volatility of both gasoline and diesel retail prices, owing to the standard deviation are decreased. However, they will be effective when the ex-refinery oil prices are continuously increased or decreased. If the retail prices are reduced and then increased as a V-shape, the mechanism will be inactive. Moreover, the ex-refinery oil prices are gradually changed and the oil consumption trends to be increasing, the volatility reduction will be low effective.
Other Abstract: การศึกษานี้มุ่งเน้นการลดความผันผวนของราคาน้ำมันขายปลีกของกลุ่มเบนซินและดีเซลโดยจัดสรรเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมาลงทุนกับราคาน้ำมัน ณ โรงกลั่น และนำผลตอบแทนจากการลงทุนมาลดความผันผวนของราคาขายปลีกในช่วงเดือนมกราคม ค.ศ. 2008 ถึงเดือนธันวาคม ค.ศ. 2011 ตามเงื่อนไขที่กองทุนเชื้อเพลิงต้องมีขนาดเท่าเดิมอ้างอิงสถานะจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ณ วันที่ 30 ธันวาคม ค.ศ. 2010 ซึ่งมีเงินอยู่จำนวน 28,465 ล้านบาท การศึกษานี้แบ่งออกเป็น 3 กรณี ดังนี้ กรณีศึกษาที่ 1 :ถ้ากำหนดการจัดสรรเงินจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของกลุ่มน้ำมันเบนซิน 5,145.6 ล้านบาท หรือร้อยละ 18.08 และส่วนน้ำมันดีเซล 3,186.6 ล้านบาท หรือร้อยละ 11.20 ของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงทั้งหมด เมื่อมีการบริหารจัดการสามารถลดค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของกลุ่มเบนซินลง ร้อยละ 1.41 และส่วนน้ำมันดีเซลลดลง ร้อยละ 0.92 กรณีศึกษาที่ 2: ราคาแนวโน้มมาจากความสัมพันธ์สมการเชิงเส้นกำลังหนึ่งในรูปแบบ Yi = (-0.169X)+28.49 ของกลุ่มน้ำมันเบนซินและ Yi=(-0.011X)+28.82 ของน้ำมันดีเซลเป็นฐานข้อมูลในการวัดความผันผวน ถ้ากำหนดการจัดสรรเงินจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของกลุ่มน้ำมันเบนซิน 3.859.2 ล้านบาท หรือร้อยละ 13.56 และส่วนน้ำมันดีเซลเท่ากับ 19.119.6 ล้านบาท หรือร้อยละ 67.17 ของสัดส่วนกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงทั้งหมด เมื่อมีการบริหารจัดการสามารถลดค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของกลุ่มเบนซินลง ร้อยละ 1.09 และน้ำมันดีเซลลดลง ร้อยละ 3.40 กรณีศึกษาที่ 3: เมื่อใช้ค่าเฉลี่ยผลรวมของภาษีและกองทุนต่างๆ ของกลุ่มน้ำมันเบนซินเท่ากับ 16.93 และน้ำมันดีเซลเท่ากับ 8.23 บาทต่อลิตร สามารถลดค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของกลุ่มน้ำมันเบนซินลง ร้อยละ 1.48 และน้ำมันดีเซลลดลง ร้อยละ 1.27 ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมีหน้าที่รักษาระดับราคาน้ำมันขายปลีกภายในประเทศ แต่ในปัจจุบันทำหน้าที่ชดเชยราคาของ LPG และ NGV ทำหน้าที่ผิดวัตถุประสงค์ ในการศึกษากรณีที่ 1 และ 2 กำหนดให้ราคา ณ โรงกลั่นและราคาขายปลีกเป็นข้อมูลจริง เพื่อหาร้อยละการจัดสรรที่เหมาะในลงทุนเชื่อมโยงราคาน้ำมันที่ทำให้ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานน้อยที่สุด ส่วนการลงทุนเชื่อมโยงกับราคาน้ำมันอาจมีการปรับเปลี่ยนตามการเปลี่ยนแปลงราคาน้ำมัน จึงสรุปได้ว่า การลดความผันผวนของราคาขายปลีกของกลไกทั้ง 3 กรณีสามารถลดค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานทั้งในกลุ่มน้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซลกลไกนี้จะทำงานได้ดีเมื่อราคาน้ำมันขายปลีกเพิ่มสูงขึ้นหรือลดลงอย่างต่อเนื่องโดยมีแนวโน้มชัดเจน แต่มีข้อจำกัด คือ หากราคาน้ำมันขายปลีกลดต่ำลงแล้วเพิ่มสูงขึ้นในลักษณะแบบตัววีจะไม่เหมาะสมกับกลไกนี้ ถ้าหากราคาน้ำมันมีความผันผวนน้อย จะทำให้ลดความผันผวนได้น้อย เพราะปริมาณการใช้น้ำมันเพิ่มมากขึ้นเรื่อยในทุกปี แต่ขณะที่จำนวนเงินที่ใช้ในการลดความผันผวนเพิ่มขึ้นน้อย
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เทคโนโลยีชีวภาพ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61867
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.785
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.785
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wachiraporn Jomsin.pdf2.11 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.