Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64194
Title: การเปลี่ยนแปลงสัณฐานวิทยาของสันดอนทรายในแม่น้ำมูลบริเวณ จังหวัดสุรินทร์
Other Titles: Morphological change of sand bar in the Mun river, Surin province
Authors: ภวัต วัฒนจารีกูล
Advisors: มนตรี ชูวงษ์
สุเมธ พันธุวงค์ราช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
[email protected]
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: แม่น้ำมูลเป็นแม่น้ำสายสำคัญของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ซึ่ง แม่น้ำมูลมีต้นกำเนิดจากเทือกเขาสันกำแพง จังหวัด นครราชสีมา สำหรับการศึกษาการวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์คือจัดทำแผนที่ธรณีสัณฐาน (Geomorphological map) ครอบคลุมขอบเขตที่ราบน้ำท่วมถึงในพื้นที่ศึกษาแม่น้ำมูล จำแนกประเภทและศึกษาการเปลี่ยนแปลงเชิงพื้นที่ของตะกอนทรายกลางแม่น้ำมูล โดยพื้นที่ศึกษาดังกล่าวอยู่ในเขตอำเภอ ท่าตูม และอำเภอ รัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ โดยในการศึกษาครั้งนี้ได้ใช้ข้อมูลจากภาพถ่ายทางอากาศเป็นหลักในการจำแนก ลักษณะธรณีสัณฐาน ชนิดของสันดอนทราย รวมไปถึงการหาค่าดัชนีธรณีสัณฐานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ค่าความกว้างของแม่น้ำ (Width) ค่าดัชนีความโค้งของแม่น้ำ (Sinuosity index) จากผลการศึกษาสามารถจำแนกชนิดของสันดอนทรายในพื้นที่ศึกษาได้ 5 ประเภท ดังนี้ Point bar Attached bar Mid Channel bar Multiple bars และ Side bar โดย Point bar เป็นชนิดที่มีปริมาณและผลรวมเชิงพื้นที่มากที่สุด ในส่วนแผนที่ธรณีสัณฐานในพื้นที่ศึกษาสามารถจำแนกออกได้เป็น 4 ชนิด ได้แก่ ที่ราบน้ำท่วมถึง (Flood Plain) ที่ราบสูง (Terrace) แม่น้ำสายหลัก คลอง (Canal) และ จากการศึกษาค่าดัชนีความโค้งพบว่าในพื้นที่ศึกษามีความโค้งตวัดที่ลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับในอดีต โดยค่าดัชนีความโค้งของแม่น้ำที่หาได้ในปี พ.ศ. 2557 มีค่าที่น้อยกว่าค่าดัชนีความโค้งที่หาได้ในปี พ.ศ. 2497 โดยลดลงจาก 1.919 มาเป็น 1.884 และจากการหาค่าความกว้างของแม่น้ำ (Width) พบว่าจากจุดเก็บข้อมูลส่วนใหญ่ค่าความกว้างของแม่น้ำที่วัดได้ในปี พ.ศ. 2557 มีค่ากว้างกว่า ค่าความกว้างแม่น้ำที่วัดได้ใน ปี พ.ศ. 2497
Other Abstract: The Mun River is the important river for the northeastern region of Thailand. The Mun originates in area of the Sankamphaeng range, near Nakhon Ratchasima. The Objective of this project is to create a geomorphological map, classify and study the changing of sand bar in study area. The study area is the Mun river and floodplain in amphoe Tha Tum and amphoe Rattanaburi district, Surin province. An interpretation in this study based on aerial photo aiming to classify type of sand bar and calculate Geomorphological index: sinuosity index: sinuosity index (SI) and width of the Mun river. As result, the sand bar in study area can be classified in to 5 types: point bar, attached bar, mid channel bar, multiple bars and side bar. Point bar is the max quantity and the max cumulative area of sand bar in the study ara. The geomorphological map was created by 4 features: flood plain, terrace, river and cannel. The sinuosity index slightly changed from the past. The sinuosity index of the Mun river from 1954 to 2014 had slightly decreased from 1.919 to 1.884. From calculating width of the Mun river, In many record points the width of the Mun river in 2014 is wider than width of the Mun river in 1954.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาธรณีวิทยา. คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2561
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64194
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pawat_W_Se_2561.pdf5.6 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.