Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64466
Title: | บทบาทของรายการโทรทัศน์สำหรับสตรีกับการพัฒนาสตรีไทย |
Other Titles: | Role of woman's programme on the development of Thai women |
Authors: | พิมพ์ประภา ไชยมาลา |
Advisors: | กาญจนา แก้วเทพ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected],[email protected] |
Subjects: | รายการโทรทัศน์สำหรับสตรี -- ไทย สตรีนิยม การพัฒนาตนเอง การพัฒนาสตรี -- ไทย สตรี -- ไทย Women's television programs -- Thailand Feminism Self-culture Women -- Thailand |
Issue Date: | 2545 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการนำเสนอลักษณะเนื้อหาที่สัมพันธ์กับการพัฒนาสตรี ภาพสะท้อนบทบาทสตรี ของรายการโทรทัศน์สำหรับสตรีในปัจจุบันกับการรับรู้และการนำไปใช้ของผู้ชมรายการสตรี ในเขตกรุงเทพมหานคร เพื่อศึกษาว่า รายการโทรทัศน์สำหรับสตรีในปัจจุบันมีการนำเสนอเนื้อหาและผู้ชมสตรีได้รับประโยชน์อย่างไรจากการชมรายการ ศึกษาเนื้อหารายการโทรทัศน์สำหรับสตรีโดยวิเคราะห์ข้อมูลตามแนวคิดการพัฒนาสตรี และศึกษากลุ่มสตรีที่ชมรายการเป็นประจำ จำนวน 30 คน โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เจาะลึก (Indepth Interview) ในการรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลตามทฤษฎีการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจจากการใช้สื่อ (Uses and Gratification) ผลการวิจัยพบว่า 1. เนื้อหารายการโทรทัศน์สำหรับสตรีในปัจจุบันนำเสนอเนื้อหาในเรื่องเกี่ยวกับเรื่องส่วนตัวของสตรีและเรื่องความเป็นไปในสังคม ซึ่งล้วนเป็นเรื่องเบาๆ ทั้งสิ้น 2. รายการโทรทัศน์สำหรับสตรีในปัจจุบันนำเสนอเนื้อหาที่สัมพันธ์กับการพัฒนาสตรีระดับตนเองมากที่สุด (ร้อยละ 60) รองลงมาคือ การพัฒนาระดับโลกภายนอก (ร้อยละ 37) และการพัฒนาสตรีระดับครอบครัว (ร้อยละ 3) ภาพสะท้อนบทบาทสตรีในภาพลักษณ์ใหม่มากที่สุด รองลงมาคือ ภาพลักษณ์ผสม และภาพลักษณ์เดิม แทบจะไม่ปรากฏในรายการโทรทัศน์สำหรับสตรีในปัจจุบัน 3. ด้านการรับรู้ประโยชน์และความพึงพอใจของสตรีที่ชมรายการโทรทัศน์สำหรับสตรีในปัจจุบันนั้นกลุ่มสตรีที่เป็นผู้หญิงทำงานรับรู้และนำเนื้อหาเรื่องสุขภาพและความงามไปใช้ประโยชน์มากที่สุดกลุ่มสตรีที่เป็น แม่บ้านหรือทำงานอยู่กับบ้าน รับรู้ประโยชน์ในเรื่องสุขภาพและความงามมาก ที่สุด แต่มีการนำเรื่องการ ดูแลบ้านและงานครัวไปใช้ประโยชน์มากที่สุด ซึ่งเป็นไปตามบริบทสังคมของตัวสตรี ในเรื่องความพึงพอใจ ในเนื้อหารายการ พบว่า กลุ่มผู้ชมสตรีมีความพอใจมากพอสมควร สรุปได้ว่า ผู้ชมสตรีพึงพอใจในเนื้อหารายการที่สอดคล้องกับชีวิตประจำวันของตนเอง ผู้สนับสนุนรายการและแนวคิดของผู้ผลิตเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้รายการโทรทัศน์สำหรับสตรียังไม่มีส่วนในการช่วยส่งเสริม สนับสนุนบทบาทสตรี เรื่องสิทธิ ความเท่าเทียม และการมีส่วนร่วมในสังคมให้แก่ผู้ชมมากเท่าที่ควร แต่กลับมุ่งเน้นไปที่การส่งเสริมลัทธิบริโภคนิยมมากกว่า |
Other Abstract: | The objectives of this research are to analyze the level of development for women on women’s programmes on Television of Thai, to analyze the images of women and perception, uses and gratification of women’s programmes woman audiences. Results are as follows : 1. Women’s programmes presented light entertainment about beauty, health, entertainment, housework, and travel. They ‘re not promote woman’s right issue to develop process of thinking and social participation role of woman. 2. The programmes are touched on the development level and its progress. It’s revealed that 60% of the broadcasted issues was spent of self-development, 37% of the broadcasted issue was spent on social-development and only 3% of the broadcasted issue was spent on family-development. They show clear focus the most frequency on modern image of women followed by combination of modern and conservative image of women and focus less on conservative image of women. 3. Perceived usefulness of woman audiences are related to their social context. Public working woman audiences are beauty and healthy. Perceived of usefulness of housewife and home working audiences are beauty and healthy issue but they applied content of housework to their life. Uses and gratification of woman audiences are in a good level The research revealed that content of woman ‘s programmes on television in 2002 that not promoted woman’s right, equality of woman and social participation role are mainly from sponsor and producer. Woman audiences are admire on these programmes. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การสื่อสารมวลชน |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64466 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2002.510 |
ISSN: | 9741719523 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2002.510 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pimprapa_ch_front_p.pdf | หน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ | 792.27 kB | Adobe PDF | View/Open |
Pimprapa_ch_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 958.47 kB | Adobe PDF | View/Open |
Pimprapa_ch_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 1.33 MB | Adobe PDF | View/Open |
Pimprapa_ch_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 847.81 kB | Adobe PDF | View/Open |
Pimprapa_ch_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 4.17 MB | Adobe PDF | View/Open |
Pimprapa_ch_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 1.61 MB | Adobe PDF | View/Open |
Pimprapa_ch_back_p.pdf | รายการอ้างอิง และภาคผนวก | 1.06 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.