Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/689
Title: | การสร้างความหมายทางสังคมและวัฒนธรรมเกี่ยวกับความรู้สึกเป็นตราบาป ในกลุ่มผู้หญิงที่มีบุตรยาก |
Other Titles: | The socio-cultural construction of stigma in infertile women |
Authors: | กังสดาล เชาว์วัฒนกุล |
Advisors: | ภาวิกา ปิยมาพรชัย |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | บทบาทตามเพศ ความรู้สึกเป็นตราบาป การเป็นหมันในหญิง ครอบครัว การปรับตัวทางสังคม |
Issue Date: | 2547 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษาปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรมที่มีผลต่อบทบาทคาดหวังของผู้หญิง ในสังคมไทยสมัยปัจจุบัน กระบวนการเกิด "ความรู้สึกเป็นตราบาป" (Stigma) ของผู้หญิงที่มีบุตรยาก ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะมีบุตรยากของผู้หญิงกับสภาพความสัมพันธ์ในครอบครัว ตลอดจนวิธีการปรับตัวของผู้หญิงในภาวะมีบุตรยาก ซึ่งแนวคิดที่นำมาใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แนวคิดบทบาททางเพศ แนวคิดความรู้สึกเป็นตราบาป แนวคิดภาวะมีบุตรยาก แนวคิดครอบครัว และแนวคิดการปรับตัวทางสังคม งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งผู้วิจัยใช้การวิจัยแบบกรณีศึกษา (Case study) ด้วยวิธีการสังเกตการณ์ การศึกษาประวัติชีวิต และการสัมภาษณ์เจาะลึก โดยการเลือกตัวอย่างเป็นแบบเจาะจง จากประชากรที่มารับการตรวจวินิจฉัยและรักษาการมีบุตรยาก ณ สถานพยาบาลเจตนิน จำนวน 10 ตัวอย่าง ผลการวิจัยพบว่า ความรู้สึกเป็นตราบาปในกลุ่มผู้หญิงที่มีบุตรยาก เกิดมาจากการสร้างความหมายทางสังคมและวัฒนธรรม ดังนี้ 1) กระบวนการขัดเกลาทางสังคมของครอบครัวได้สร้างตัวตนทางสังคมให้ผู้หญิง ยอมรับและดำเนินตามบทบาทคาดหวัง อันได้แก่ บทบาทของบุตรสาว บทบาทของผู้หญิงทำงาน บทบาทของภรรยา และบทบาทของมารดา 2) เมื่อผู้หญิงต้องเผชิญกับภาวะมีบุตรยาก และรู้สึกว่าตนเองแตกต่างจากผู้หญิงคนอื่น ตรงที่ไม่สามารถตั้งครรภ์และให้กำเนิดบุตรได้ เธอจะเกิดความรู้สึกเป็นตราบาปขึ้น เครียดกังวล รู้สึกผิดต่อตนเองและสามี ขาดความมั่นคงในชีวิต รวมทั้งวิตกในผลกระทบที่จะเกิดขึ้น จากการที่ไม่สามารถดำเนินตามบทบาทคาดหวังดังกล่าวได้ 3) ภาวะมีบุตรยากของผู้หญิงยังส่งผลให้ชีวิตของคู่สมรสส่วนใหญ่ เกิดความเครียดและขัดแย้งกันบ่อยขึ้น 4) ผู้หญิงมีบุตรยากส่วนใหญ่จะมีการปรับตัวในช่วงระหว่างการรักษา และหลังการรักษาเพื่อให้ตนเองหลุดพ้นจากความรู้สึกเป็นตราบาป และดำเนินชีวิตต่อไปได้อย่างปกติสุข |
Other Abstract: | To assess the extent to which socio-cultural factors affecting gender roles and the construction of stigma in infertile women. It is a qualitative case study of 10 purposively recruitd infertle women who visited Jetanin Institute of Assisted Conception for infertility treatment. Most of the information is obtained through in-depth interviews with these women. However, the researcher also uses the observation technique together with a study of life history to gather other relevant data. The objectives of this study cover several areas. First of all, it examines the way in which socio-cultural socialization affecting gender role expectation of the contemporary Thai women. Secondly, it intends to investigate processes of stigmatization amongst these infertile women. Moreover, linkages between women's infertility and family relationships are explored. Lastly, the adjustment and coping ability of these women both during and after treatment are observed. "Stigma", "gender role", "infertility", "the family", and "social adjustment" are interrelated concepts used in this study to fully comprehend the socio-cultural construction of stigma in infertile women. Major findins are 1) Socialization processes play a key role in forming "self" of a person. 2) Women infertility is a reality clashes with the expected role of being a mother. 3) Infertility causes stress and conflicts in a relationship. 4) Most women normally adjust themselves to cope with the guilt of being infertile. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 |
Degree Name: | สังคมวิทยามหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สังคมวิทยา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/689 |
ISBN: | 9741761694 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Pol - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Kangsadan.pdf | 1.48 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.