Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7095
Title: | ความเป็นมาและสถานภาพปัจจุบันของโรคสมองฟ่ามในโค (โคบ้า) : รายงานการวิจัย |
Other Titles: | Etiology and current status of Bovine Spongiform Encephalopathy (Mad cow disease) |
Authors: | พีระศักดิ์ จันทร์ประทีป สุมลยา กาญจนะพังคะ ประโยชน์ ตันติเจริญยศ กัลยาณี ตันศฤงฆาร |
Email: | [email protected] [email protected] ไม่มีข้อมูล [email protected] |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ |
Subjects: | โรควัวบ้า โรคสมองฟ่าม |
Issue Date: | 2541 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | โรคสมองฟ่ามหรือโคบ้า (Bovine Spongiform Encephalopathy, BSE) เป็นโรคระบาดร้ายแรงที่เกิดขึ้น.ในสหราชอาณาจักรเป็นส่วนใหญ่ ทำความเสียหายทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาล จำเป็นต้องกำจัดโคถึง 1 ล้านตัวเพื่อกำจัด BSE ให้หมดไป ยิ่งไปกว่านั้น BSE อาจเป็นอันตรายแก่สุขภาพและชีวิตมนุษย์ด้วย BSE เป็นโรคหนึ่งใน transmissible spongiform encephalopathies (TSEs) โดยมี prion protein เป็นสารก่อโรคที่ทำความเสียหายแก่ระบบประสาท และทำให้คนหรือสัตว์ตายในที่สุด พบเนื้อสมองทั้งส่วน cerebrum และ cerebellum เป็นรูพรุน และอาจพบ plaques และ scrapie-associated fibrils (SAF) ในเนื้อสมองด้วย การศึกษาทางระบาดวิทยาชี้แนะว่าการแพร่ของ BSE เกิดจากโคกินอาหารที่มีสารก่อโรคปนเปื้อนอยู่ และการเปลี่ยนแปลงที่ไม่เหมาะสมในกระบวนการแปรรูปโปรตีนจากซากสัตว์ เพื่อใช้เป็นอาหารเลี้ยงโคก็ช่วยเพิ่มปัจจัยเสี่ยงต่อการกระจายโรค BSE ด้วย prion protein อาจสะสมอยู่ในเลือด เส้นประสาทหรือระบบน้ำเหลืองของโคที่เป็น BSE ก่อนที่จะกระจายไปสู่ระบบประสาทส่วนกลาง แต่เดิมพบเฉพาะสมอง ไขสันหลังและจอตาเท่านั้นที่ก่อให้เกิดโรค BSE ได้ ขณะนี้กำลังรอผลที่ Spongiform Encephalopathy Advisory Committee (SEAC) ดำเนินการให้ตรวจเนื้อ น้ำนม อวัยวะระบบน้ำเหลืองจากโคที่เป็น BSE โดยใช้ลูกโคเป็นสัตว์ทดลอง ซึ่งมีความไวกว่าการฉีดสารก่อโรคเข้าหนู mice ถึง 1000 เท่า รายงานฉบับนี้ได้รวบรวมเหตุการณ์สำคัญ ระบาดวิทยา มาตรการควบคุมกำจัดและป้องกันโรค BSEและวิธีการตรวจวินิจฉัยโรคด้วยวิธีต่าง ๆ รวมทั้งแนวความคิดในการรักษา TSEs ในอนาคตไว้ด้วย Creutzfeldt-Jakob's Disease (CJD) เป็นโรคเกี่ยวกับระบบประสาทในคนและเป็นโรคหนึ่งในกลุ่ม TSEs พบว่า new variant CJD (nvCJD) มีรอยโรคและอาการเฉพาะต่างไปจาก CJD เมื่อใช้เทคนิค Western blot สรุปได้ว่า nvCJD คล้ายกับ BSE แต่ต่างจาก sporadic CJD เป็นไปได้มากว่า nvCJD เกิดขึ้นจากการที่ผู้ป่วยเคยได้รับสารก่อโรค BSE การปลูกถ่ายอวัยวะ เยื่อหุ้มสมอง กระจกตากหรือการใช้เครื่องมือผ่าตัดเกี่ยวกับระบบประสาทที่มี PrPsc ปนเปื้อน ก็ทำให้เกิดการถ่ายทอด CJD ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มคนที่มี homozygous gene ที่ codon 129 นอกจากนี้ยังพบมีผู้ป่วยเป็น CJD 90 ราย (1985-1996) ที่มีประวัติเคยได้รับ growth hormone และ 54 ราย (1989-1993) ที่เคยไดัรับการรักษาด้วย gonadotropin ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อต้นปี 1997 องค์การอนามัยโลกได้สรุปว่าพบสารก่อโรค CJD ใน plasma ของหนู mice จากหลักฐานต่าง ๆ เหล่านี้ จึงควรจะระมัดระวังการรับถ่ายเลือดและการรับบริจาคอวัยวะจากกลุ่มคน ที่มีประวัติญาติพี่น้องที่มีอาการทางประสาท รวมทั้งจากกลุ่มคนที่เคยได้รับ human-derived growth hormone และ gonadotropin ด้วย |
Other Abstract: | Bovine Spongiform Encephalopathy (BSE) in an extremely serious and deadly epizootic disease, mainly spread throughout the United Kingdom. It has caused a tremendous economic loss and up to million cattle have been slaughtered in order to eradicate BSE. Moreover, extensive studies show, BSE could pose a risk to human health and possibly life also. Bovine spongiform encephalopathy is one of the transmissible spongiform encephalopathies (TSEs) with prion protein as the proteinaceous infectious particle, causing damage to the central nervous system (CNS) and death in the final stage. Vacuolation of cerebrum and cerebellum are evident, coupled with plaques and scrapie associated fibrils (SAF). Epidemiological studies point to contamination in cattle feed. Changes in the manufacturing procedure of meat and bone meal for bovine consumption has worsened the transmission risk factor. Prion protein may accumulate in blood, nerve fibers or lymphoreticular organs of the BSE cow before invading the CNS. Originally, only brain, spinal cord and retina were identified as possible prion sources. At the time, the Spongiform Encephalopathy Advisory Committee (SEAC) is waiting for the results of inoculation of BSE infected meat, milk and lymphoreticular organs in calves, which is experimentally tested to be 1000 times more sensitive than mice. Our report also includes BSE chronological events and control measures in some countries. Diagnostic techniques and the possible treatment ideas are also mentioned. Creutzfeldt-Jakob’s Disease (CJD) is one of the fatal human diseases involving the CNS. Lately, a new variant of CJD (nvCJD) has been reported and has been found to have different in clinical signs and neuropathological lesions than the known CJD. Western blotting technique has proved that the causative agent of nvCJD is similar to BSE, not the sporadic CJD. Exposure of nvCJD individuals with BSE prion protein is postulated. Organ, dura matter and retinal transplantation including brain surgery with contaminated equipment can transmit CJD, especially to those groups of people with homozygous gene at codon 129. Apart from this, there are 90 (1985-1996) and 54 (1989-1993) CJD cases treated with growth hormone and gonadotropin (human-deriverd) reported. Also the World Health Organization concluded early in 1997 evidence of a CJD causative agent in plasma of the experimental mice. Precautions should be taken in procedures involving blood transfusion, organ donation from individuals with a history of hereditary nervous disorders and those who have been treated with growth hormones or gonadotropin. |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7095 |
Type: | Technical Report |
Appears in Collections: | Health - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Peerasak_cow.pdf | 7.06 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.