Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7825
Title: กระบวนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมกับการปรับเปลี่ยนบทบาทการพัฒนาของพระสงฆ์นักพัฒนาในภาคอีสาน : รายงานผลการวิจัย
Other Titles: Social change and the change of development monks' roles in Northeastern Thailand
Authors: พินิจ ลาภธนานนท์
Email: [email protected]
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันวิจัยสังคม
Subjects: สงฆ์กับการพัฒนาชนบท
พุทธศาสนากับสังคม
สงฆ์ -- ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ ต้องการวิเคราะห์และสังเคราะห์บทบาทของพระสงฆ์นักพัฒนาในภาคอีสาน ซึ่งนับเป็นบทบาทที่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามภาวการณ์เปลี่ยนแปลงทางสังคมในสังคมไทย ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยนี้ประกอบด้วยข้อมูลจากการสัมภาษณ์เจาะลึกพระสงฆ์นักพัฒนา ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้นำและชาวบ้านในชุมชนที่พระสงฆ์นักพัฒนาทำงานอยู่ และข้อมูลจากการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ของรัฐและองค์กรพัฒนาเอกชน ที่เคยมีประสบการณ์ในการทำงานร่วมกับพระสงฆ์นักพัฒนาด้วย ผลการศึกษาวิจัยนี้ แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าพระสงฆ์นักพัฒนาไม่ใช่ผลผลิตทั้งของโครงการและนโยบายของรัฐ หรือของกิจกรรมและการสนับสนุนขององค์กรพัฒนาเอกชน บทบาทการพัฒนาของพระสงฆ์เป็นรูปแบบหนึ่งของวิถีปฏิบัติแบบพุทธศาสนาชาวบ้านระหว่างพระสงฆ์และชาวบ้านในท้องถิ่น ปัจจัยภายในท้องถิ่นมีอิทธิพลที่เด่นชัดต่อแรงจูงใจและการตัดสินใจแสดงบทบาทการพัฒนาของพระสงฆ์ โดยปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในชุมชนคือแรงจูงใจสำคัญ อย่างไรก็ตามศักยภาพและความสามารถของพระสงฆ์ที่จะส่งเสริมกิจกรรมการพัฒนาต่างๆ มีส่วนเกี่ยวเนื่องกับความสัมพันธ์ทางศาสนาและสังคมระหว่างพระสงฆ์และชาวบ้านในชุมชน ถ้าพระสงฆ์ไม่มีความสัมพันธ์ที่ดีกับชาวบ้านและได้รับความศรัทธาน้อยจากชาวบ้าน พระสงฆ์ก็จะไม่สามารถส่งเสริมกิจกรรมการพัฒนาต่างๆในชุมชนได้ และหลังจากที่ได้ทำงานพัฒนาแล้วถ้าพระสงฆ์ไม่สามารถรักษาความสัมพันธ์ที่ดีและศรัทธาที่ได้รับจากชาวบ้านไว้ได้ พระสงฆ์ก็จะไม่สามารถสานต่อกิกรรมการการพัฒนาได้ ทั้งนี้ธรรมชาติของกิจกรรมสังฆพัฒนานั้นมีส่วนสัมพันธ์อย่างลึกซึ่งกับความต้องการจำเป็นของชาวบ้าน ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายแท้จริงของงานสังฆพัฒนา
Other Abstract: This study aims to analyze and synthesize roles of Isan ‘development monks’ which have changed along with social change in Thai society. The data used here is obtained from intensive in-depth interviews with ‘development monks’ and extensive interviews with community leaders and villagers in the community which the monks implemented their development projects. The officers of some governmental and non-governmental organizations (NGOs) which have had experiences to cooperate with the ‘development monks’ were also investigated. The study clarifies that ‘development monks’ are not either outputs of the government programs and policies or products of NGOs; activities and supports. The monks’ development role is a pattern of local Buddhist practice between local monks and local people. The local factors are obviously having influence on their motives and decision to play development role. Community problems are their main motives. However, the potential and ability for them to promote their development activities are due to their religious and social relations between the monks and local people. If the monks do not have good relations with local people and receive little respect from local people, they will not be able to promote any development activities in their community. And also, after their successful development promotion if they cannot keep those good relations and respects, they will not be able to continue their development activities. The nature of the monks’ development activities is sensitively related to the needs of local people whom they are designed to benefit.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7825
Type: Technical Report
Appears in Collections:Social Research - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pinit_La.pdf2.57 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.