Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80751
Title: | ตัวแบบความร่วมมือสำหรับโซ่อุปทานของมันสำปะหลังในการผลิตเอทานอล |
Other Titles: | Collaborative model for cassava supply chain in ethanol production |
Authors: | ธนิกา จินตนะพันธ์ |
Advisors: | รัฐ พิชญางกูร ธาตรี ใต้ฟ้าพูล ธารทัศน์ โมกขมรรคกุล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเรื่อง “ตัวแบบความร่วมมือสำหรับโซ่อุปทานมันสำปะหลังในการผลิตเอทานอล (COLLABORATIVE MODEL FOR CASSAVA SUPPLY CHAIN IN ETHANOL PRODUCTION) เกิดขึ้นเพื่อสร้างมาตรฐานความร่วมมือใหม่ในระบบห่วงโซ่อุปทานของมันสำปะหลังที่จะสามารถนำไปแก้ปัญหาของอุตสาหกรรมได้อย่างสมบูรณ์ สร้างความยุติธรรมให้กับผู้เกี่ยวข้องทุกส่วนในห่วงโซ่อุปทาน ด้วยการนำตัวปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับห่วงโซ่อุปทานมาเป็นแนวทางในการวิจัย การวิจัยเป็นแบบ Mixed method คือการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง (Semi Structured Interview) จากผู้เชี่ยวชาญที่มีส่วนเกี่ยวข้อง กับโซ่อุปทานของมันสำปะหลังในการผลิตเอทานอล และการใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) ได้ปัจจัยหลัก 6 ปัจจัย ปัจจัยรอง 15 ปัจจัยและปัจจัยย่อย 89 ปัจจัย ที่ใช้การประเมินในรูปแบบ Likert scale กับเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง ในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 381 ราย และใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับแรกและอันดับ 2 (First and Second Order Confirmatory Factor Analysis) พบว่าการจัดอันดับความสำคัญมากที่สุดคือปัจจัยหลักด้านความสัมพันธ์โซ่อุปทาน รองลงมา คือ ปัจจัยหลักด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ปัจจัยหลักด้านความไม่แน่นอนของสภาพแวดล้อม ปัจจัยหลักด้านความคาดหวังของลูกค้า ปัจจัยหลักด้านกระบวนการเพิ่มมูลค่า และ ปัจจัยหลักด้านการบริหารจัดการ ตามลำดับ จากนั้นนำผลการศึกษามาพัฒนาเป็นนวัตกรรมตัวแบบความร่วมมือฯ ทดลองภาคสนามเชิงพาณิชย์ในการเชื่อมโยงโซ่อุปทานซื้อขายมันสำปะหลังจากเกษตรกรถึงโรงงานเอทานอล ประกอบด้วย เกษตรกร สหกรณ์การเกษตร ธนาคาร จุดรับซื้อ ลานตากมันเส้น และโรงงานผลิตเอทานอล รวม 1061 ราย เพื่อหาข้อจำกัดปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน พบว่ามันสำปะหลังเส้นสะอาดที่ได้จากตัวแบบความร่วมมือฯ ได้ผลผลิตเอทานอลสูงถึง 436 ลิตรต่อตันมันเส้น เมื่อเปรียบเทียบกับมันเส้นทั่วไปได้เพียง 330 ลิตร จากนั้นนำขั้นตอนการทำงานมาทำเป็นแผนผังกระบวนการทำงาน และนำไปออกแบบเป็น digital application platform และ เว็บแอพพลิเคชั่น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของระบบในปัจจัยด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร และได้ทดสอบการยอมรับการใช้งานเทคโนโลยี (Technology Acceptance Model) กับเกษตรกรและผู้ที่เกี่ยวข้องจำนวน 30 รายได้ผลเป็นที่ยอมรับของเกษตรกรและโรงงานเอทานอล ส่วนสุดท้ายของงานวิจัยเป็นการศึกษาความเป็นไปได้ เพื่อนำไปใช้เชิงพาณิชย์ ในรูปแบบของแผนการเงินการลงทุนใน Digital Application Platform และ Web Application ในการนำไปใช้กับความร่วมมือของผู้ที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกรมันสำปะหลังทั้งประเทศไทยไม่ต่ำกว่า 600,000 ครัวเรือน ครอบคลุมพื้นที่ให้บริการไม่น้อยกว่า 8 ล้านไร่และเชื่อมโยงตลาดโรงงานเอทานอล โรงแป้งมันสำปะหลัง โรงงานอาหารสัตว์ ผู้ส่งออกมันเส้น เป็นต้น พบว่าแผนธุรกิจนี้มีอัตราผลตอบแทนภายใน (IRR) 36.76% ของประมาณการธุรกิจ 10 ปี มีความเป็นไปได้ในการลงทุน |
Other Abstract: | Research and development innovations on “COLLABORATIVE MODEL FOR CASSAVA SUPPLY CHAIN IN ETHANOL PRODUCTION" were created to generate an innovative standard of cooperation in the cassava supply chain system which comprehensively solve the problems of the industry with fairness for all stakeholders by integrating 6 key factors as guideline. This research was performed by a Mixed method; in-depth, semi-structured interviews, and use of questionnaires designed on 6 main, 15 secondary, and 89 minor factors, in the Likert scale assessment with 381 purposive sampling cassava farmers in Chachoengsao Province. The First and Second-Order Confirmatory Factor analysis were used and found the ranking of 6 main factors were supply chain relationship, information technology, environmental uncertainty, customer expectations, value-adding process, and management, respectively. The finding were used to develop an innovative collaboration model for cassava supply chains for ethanol production and used for commercial field trials to link the cassava trading supply chain. A total of 1061 participants, used in the finding limitations, problems, and obstacles in operation, found the high-quality grade clean cassava chip from the cooperation model yielded 436 liters of ethanol per ton, compared to conventional cassava chip of 330 liters. This collaborative model working steps was used to organize a workflow chart and design a digital application platform and web application to optimize the information technology factor system. A Technology Acceptance Model was tested on 30 farmers and related parties and found acceptable result. The last part was a feasibility study for commercial use of Digital Application Platform and Web Application for 600,000 farmers households in 1.28 million hectare services area and market linking to ethanol factory, tapioca flour mill, animal feed factory, cassava exporters, etc. This research found an IRR of 36.76% from 10 years operation period. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | ธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80751 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.736 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2020.736 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5787782520.pdf | 9.62 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.