Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8358
Title: การประยุกต์ใช้ระบบผู้เชี่ยวชาญสำหรับกระบวนการสร้างแบบตัดของอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม
Other Titles: An application of the expert system for the pattern making process of the garment industry
Authors: พิชานัน วงศ์พันธุเศรษฐ์
Advisors: เหรียญ บุญดีสกุลโชค
นันทพร ลีลายนกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
ไม่มีข้อมูล
Subjects: การบริหารองค์ความรู้
ระบบผู้เชี่ยวชาญ (คอมพิวเตอร์)
อุตสาหกรรมเสื้อผ้า
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ออกแบบระบบผู้เชี่ยวชาญสำหรับกระบวนการสร้างแบบตัด ของอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม โดยเน้นในเรื่องของการจัดการข้อมูลองค์ความรู้ และนำระบบสารสนเทศเข้ามาเป็นเครื่องมือช่วย เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างสะดวก ถูกต้องและน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น ซึ่งการออกแบบโปรแกรมจะอาศัยโครงสร้างข้อมูลองค์ความรู้เป็นหลัก การทำงานจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ผู้ดูแลระบบข้อมูล จะใช้งานผ่านโปรแกรมแอพพลิคชั่น ส่วนผู้ใช้งานจะใช้งานผ่านเว็บ การออกแบบโครงสร้างองค์ความรู้ในระบบผู้เชี่ยวชาญนี้จะถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลัก คือ 1. ส่วนความรู้เบื้องต้นสำหรับพนักงาน เป็นการให้ความรู้เบื้องต้นในการทำงานสำหรับพนักงานใหม่ พร้อมทั้งทบทวนความรู้ทางทฤษฎี 2. ส่วนความรู้เคล็ดลับเชิงเทคนิค จะเป็นการรวบรวมความรู้ เคล็ดลับต่างๆ ในการสร้างแบบตัดจากประสงการณ์ของพนักงาน 3. ความรู้เชิงปัญหาและแนวทางแก้ไข ที้งนี้การจัดหมวดหมู่องค์ความรู้ทั้งหมด เป็นกลุ่มของความรู้ที่มักจะใช้กันในการดำเนินงาน ในกระบวนการสร้างแบบตัดของอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม โดยในโปรแกรมนี้จะให้ความสำคัญไปยังระบบความรู้เชิงปัญหาและแนวทางแก้ไข ซึ่งมีการออกแบบโครงสร้างของชุดปัญหาที่นำมาใช้เป็น 2 รูปแบบคือ การซักถามเพื่อทราบถึงอาการปัญหาทั่วไปของรูปแบบปัญหา ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้จะแสดงถึงสาเหตุและแนววิธีการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น สามารถนำไปช่วยตัดสินใจในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในการทำงานได้
Other Abstract: The research's focus is on knowledge data management using information technology which allows the pattern making process to be reliable, consistent and easy to apply in real life. The system is divided into 2 parts which are application-based program for data administrator and a web-based program for general user. Both programs are developed based on the knowledge structure designed by the author. The designed knowledge structure is divided into 3 main parts; 1. Getting start Module which educates new staffs to be able to make patterns. 2. Tips & Suggestion Module which provides staff tips and suggestions in making patterns. 3. Q & A Module which allows staffs to solve problems found on the job. It also permits users to use either the basic mode when they can not specify the problems they are encountered with, or in the advance mode when users can give more details of the problem.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8358
ISBN: 9745324736
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pichanan.pdf6.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.