Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9020
Title: การรุกรานในกฎหมายระหว่างประเทศ : จากความรับผิดของรัฐสู่ความรับผิดของปัจเจกบุคคล
Other Titles: Aggression in international law : from state responsibilty to individual responsibility
Authors: เฉลิมชาติ บัวสมบูรณ์
Advisors: วิทิต มันตาภรณ์
ศารทูล สันติวาสะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
ไม่มีข้อมูล
Subjects: การรุกราน (กฎหมายระหว่างประเทศ)
อาชญากรรมข้ามชาติ
กฎหมายระหว่างประเทศ
ความรับผิดของราชการ
ความรับผิดของปัจเจกบุคคล
อาชญากรสงคราม
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษากรณีการแก้ไขปัญหาการรุกรานในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ด้วยกรณีศึกษาถึงหลักกฎหมายระหว่างประเทศ ที่เกี่ยวข้องกับการรุกรานในแต่ละยุคสมัย โดยเป็นการวิเคราะห์ประเด็นปัญหาความเคลือบคลุม ของกฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับกรณีดังกล่าว ซึ่งทำให้สันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศถูกคุกคามและละเมิดในที่สุด การศึกษาประเด็นปัญหาทางกฎหมายระหว่างประเทศ ที่เกี่ยวข้องกับการรุกรานในกฎหมายระหว่างประเทศพบว่า ระบบกฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องยังขาดกลไกในการบังคับใช้ องค์กรที่มีอำนาจหน้าที่ในการแก้ไขเยียวยาเช่นคณะมนตรีความมั่นคง ไม่สามารถใช้อำนาจของตนได้อย่างเต็มที่อันเนื่องมาจาก ปัญหาภายในองค์กรโดยเฉพาะยุคสงครามเย็น นอกจากนี้ปัญหาที่สำคัญที่สุดก็คือคำนิยามของการรุกราน ถึงแม้ว่าสมัชชาใหญ่จะได้ออกข้อมติที่ 3314 (XXIX) นิยามความหมายของการรุกรานไว้ แต่ในทางปฏิบัติกลับไม่สามารถป้องปรามการรุกราน และการใช้กำลังในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้ จนกระทั่งองค์การสหประชาชาติประสบความสำเร็จ ในการก่อตั้งศาลอาญาระหว่างประเทศขึ้น ซึ่งมีเขตอำนาจเหนือปัจเจกบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชญากรรม ธรรมนูญศาลอาญาระหว่างประเทศได้กำหนดให้อาชญากรรมการรุกราน อยู่ภายใต้เขตอำนาจของศาลด้วย นอกเหนือไปจากกลไกทั่วไปในการแก้ไขและยับยั้งการรุกราน ในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศซึ่งรัฐมีสิทธิดำเนินการเช่น การป้องกันตนเอง การใช้อำนาจตามหมวด 7 ของกฎบัตรสหประชาชาติแล้ว ศาลอาญาระหว่างประเทศถือเป็นทางเลือกอันหนึ่ง ในการยับยั้งและป้องปรามการรุกรานเนื่องจากเป็นการขยายความรับผิด จากรัฐมาสู่ปัจเจกบุคคลผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ซึ่งถือเป็นการสร้างกลไกในการลงโทษปัจเจกบุคคลที่มีอำนาจ ในการตัดสินใจดำเนินการรุกรานต่อรัฐอื่น ซึ่งจะเป็นการป้องปรามรัฐต่างๆ ที่จะใช้กำลังอาวุธเพื่อเป็นเครื่องมือในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ แต่อย่างไรก็ตามความร่วมมือของรัฐต่างๆ ตลอดจนกลไกที่มีประสิทธิภาพทั้งทางการเมืองและกฎหมายคือ สิ่งที่จำเป็นเพื่อให้แนวทางนี้ประสบผลสำเร็จ
Other Abstract: To study the problem of aggression in international relations by examining the laws related to the agression throughout the ages. Analysis will be given on the vagueness of international law, which threatens peace and international security. It appears that the system of international law requires some applicable mechanisms. The authorized organization such as the Security Council cannot fully exercise their power because of the internal problems especially during the cold war era. The main problem is the lack of definition of the term aggression. Even though the General Assembly adopted the Resolution No.3314 (XXIX) defining aggression, in a practical way, existing mechanisms still cannot prevent aggression and use of armed force in international relations. The United Nations has now established the International Criminal Court, which has the jurisdiction over individuals who are responsible for crimes, and the International Criminal Court Statute includes the crime of aggression under its jurisdiction. Other than the general mechanisms to remedy and prevent aggression in international relation in relation to questions of self-defence or exercising of the power under Chapter VII of the Charter of the United Nations, the International Criminal Court is another option to prevent aggression because this solution is to expand the responsibility from the state to individual. This is the creation of the new mechanism to punish individual, who use their power to commit aggression against other states, and it can be a deterrence measure for the states in their use of armed force against other states. However, the cooperation of all states, and effective mechanisms, both in the political and legal factors, are required for the achievement of this solution.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9020
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chalermchat.pdf2.42 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.