Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10114
Title: | การปรับเปลี่ยนอัตลักษณ์ความเป็นจีนของชาวไทยเชื้อสายจีน ในบริบทขององค์กรประชาสังคมของกลุ่มชาติพันธุ์จีน : ศึกษากรณีองค์กรในจังหวัดอุบลราชธานี |
Other Titles: | Change in Thai-Chinese identity of ethnic Chinese in the context of Chinese civil society |
Authors: | วิมลรัตน์ ทวีสิทธิ์ |
Advisors: | อมรา พงศาพิชญ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | ชาวจีน -- ไทย ชาวจีน -- ไทย -- อุบลราชธานี ประชาสังคม -- ไทย -- อุบลราชธานี องค์กรพัฒนาเอกชน -- ไทย -- อุบลราชธานี |
Issue Date: | 2546 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | กลุ่มชาติพันธุ์จีนในจังหวัดอุบลราชธานีได้ก่อตั้ง องค์กรเพื่อเป็นสาธารณกุศลและสาธารณประโยชน์ต่อชาวอุบลราชธานีเป็นสำคัญ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมา ของกลุ่มชาติพันธุ์จีนในจังหวัดอุบลราชธานี ประกอบกับศึกษาอัตลักษณ์ความเป็นจีน และพัฒนาการขององค์กรประชาสังคมของกลุ่มชาติพันธุ์จีน (องค์กรชาวจีน) ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยกำหนดให้องค์กรชาวจีนในจังหวัดเป็นบริบทในการธำรงอัตลักษณ์ความเป็นจีน ของกลุ่มชาวไทยเชื้อสายจีน ทั้งนี้ผู้ศึกษาได้กำหนดขอบเขตการวิจัย ด้วยการศึกษาเฉพาะกรณีองค์กรของกลุ่มชาติพันธุ์จีน ในจังหวัดอุบลราชธานีจำนวนทั้งหมด 26 องค์กร และใช้ระเบียบวิธีวิจัยทางมานุษยวิทยาในการเก็บข้อมูลภาคสนาม ด้วยการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมและการสัมภาษณ์เจาะลึกบุคคลในแต่ละองค์กรนั้นๆ โดยเน้นศึกษาเจาะลึก 8 องค์กร ผลการศึกษาพบว่าจากอดีตจนถึงปัจจุบัน องค์กรประชาสังคมของกลุ่มชาติพันธุ์จีนในจังหวัดอุบลราชธานี มีลักษณะแตกต่างกันในรายละเอียดของแต่ละองค์กร แต่มีเป้าหมายดำเนินการไปสู่ วัตถุประสงค์อันเดียวกัน คือนอกเหนือจากการทำหน้าที่เป็นองค์กรการกุศล เพื่อตอบสนองความต้องการด้านสวัสดิการสังคมของผู้ยากไร้แล้ว องค์กรเหล่านี้ยังมีส่วนช่วยในการธำรงอัตลักษณ์ความเป็นจีน อีกทั้งยังส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนอัตลักษณ์ความเป็นจีน ของกลุ่มชาวไทยเชื้อสายจีนในจังหวัดอุบลราชธานีด้วย ทั้งนี้เนื่องจากบริบทของกระแสความเปลี่ยนแปลงด้วยวาทกรรมการพัฒนา และความผันแปรของสังคม เศรษฐกิจและการเมืองในแต่ละยุคสมัย ประกอบกับเกิดการแลกเปลี่ยนทาง วัฒนธรรมพื้นถิ่นของเมืองดอกบัวงามแห่งภาคอีสานนี้ด้วย |
Other Abstract: | Ethhnic Chinese people in Ubonratchathani Province have been building benevolent and charitable organizations for the people. This research aims to study the history of ethnic Chinese in Ubonratchathani Province, Thai-Chinese identity, development of ethnic Chinese organizations, and the role of Chinese organizations in the formation of Thai Chinese identity. The research is a case study of 26 organizations in Ubonratchathani Province with special focus on 8 organizations. Anthropological research method with participant observation and in-depth interview of members in each organizations were the field research techniques adopted. The study concludes that through time ethnic Chinese organizations in Ubonratchathani Province have changed in structure, personnel, and activities. But they maintained the goal in providing welfare assistance together with social/cultural/ethnic support to those in need. These organizations can help maintain Chinese identity as well as effectively forming Thai-Chinese identity in Ubonratchathani Province. This process is the result of development discourse, social economic, and especially political, as well as the integration of local culture of the Lotus City (Ubonratchathani) of E-San. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (มน.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 |
Degree Name: | มานุษยวิทยามหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | มานุษยวิทยา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10114 |
ISBN: | 9741748493 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Pol - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Wimonrat.pdf | 6.69 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.