Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10969
Title: การศึกษาความสัมพันธ์ของระดับอินเตอร์ลิวคิน ชนิดที่ 1 เบต้า 6 และ 8 ในผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะอาหาร ผู้ป่วยแผลในกระเพาะอาหารและผู้ป่วยกลุ่มอาการนอนอัลเซอร์ ดิสเปปเซียที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร
Other Titles: Association of interleukins 1 beta, 6 and 8 in gastric cancer gastric ulcer and nonulcer dyspepsia with helicobacter pylori infection
Authors: รัฐกร วิไลชนม์
Advisors: ประพันธ์ ภานุภาค
วโรชา มหาชัย
เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
[email protected], [email protected], [email protected]
[email protected]
Subjects: กระเพาะอาหาร -- เนื้องอก
กระเพาะอาหาร -- โรค
กระเพาะอาหาร -- การติดเชื้อ
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การติดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร ที่บริเวณเยื่อบุกระเพาะอาหารกระตุ้นการสร้าง proinflammatory cytokines หลายชนิด เช่น อินเตอร์ลิวคินชนิดที่ 1เบต้า 6 และ8 เป็นต้น ซึ่งการศึกษาในหลอดทดลองพบว่าอินเตอร์ลิวคินทั้ง 3 ชนิดนี้อาจมีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งกระเพาะอาหาร อย่างไรก็ดีในปัจจุบันนี้ยังไม่มีการศึกษาที่ประเมินความสัมพันธ์ที่ชัดเจน ของการติดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร และอินเตอร์ลิวคินชนิดที่ 1เบต้า 6 และ 8 กับโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับของอินเตอร์ลิวคินชนิดที่ 1 เบต้า 6 และ 8 ในเนื้อเยื่อกระเพาะอาหารและซีรั่ม ที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร ในผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะอาหารเปรียบเทียบกับผู้ป่วยแผลในกระเพาะอาหารและ ผู้ป่วยกลุ่มอาการ nonulcer dyspepsia (NUD) ผู้ป่วยเข้าร่วมการวิจัยทั้งหมดจำนวน 172 ราย แบ่งเป็นเพศหญิง 79 ราย เพศชาย 93 รายประกอบด้วย ผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะอาหาร 50 ราย ผู้ป่วยแผลในกระเพาะอาหาร 69 ราย ผู้ป่วยกลุ่มอาการ NUD 53 ราย ชิ้นเนื้อตัวอย่างกระเพาะอาหารในการศึกษาระดับของอินเตอร์ลิวคินครั้งนี้ใช้ เนื้อเยื่อกระเพาะอาหารบริเวณขอบแผลในผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะอาหารและผู้ป่วย แผลในกระเพาะอาหาร สำหรับผู้ป่วยกลุ่มอาการNUDใช้เนื้อเยื่อกระเพาะอาหารปกติบริเวณ antrum การวัดระดับของอินเตอร์ลิวคินชนิดที่ 1เบต้า 6 และ 8 ในเนื้อเยื่อกระเพาะอาหาร และซีรั่มใช้วิธี enzyme-linked immunosorbent assay (ELISA) จากผลการศึกษาพบว่าการติดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร ในผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะอาหาร(87%) และ ผู้ป่วยแผลในกระเพาะอาหาร (80%) นั้นสูงกว่าผู้ป่วยกลุ่มอาการ NUD (47%) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ระดับของอินเตอร์ลิวคินชนิดที่ 1เบต้า 6 และ 8 ในเนื้อเยื่อกระเพาะอาหารของกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะอาหารมีค่าสูงกว่าผู้ ป่วยแผลในกระเพาะอาหาร และผู้ป่วยกลุ่มอาการ NUD อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งความสัมพันธ์นี้พบเฉพาะในกลุ่มที่ติดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร เท่านั้น ในผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะอาหารระดับของอินเตอร์ลิวคินชนิดที่ 1เบต้า 6 และ 8 ในเนื้อเยื่อกระเพาะอาหาร (พิโคกรัมต่อ 1 มิลลิกรัมโปรตีน) ของกลุ่มที่ติดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร มีค่าสูงกว่ากลุ่มที่ไม่ติดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (450 vs. 21.7: p <0.01, 66.6 vs. 4.2: p <0.05 and 2,762 vs. 319: p <0.01, ตามลำดับ) ในผู้ป่วยกลุ่มอาการ NUD ระดับของอินเตอร์ลิวคินชนิดที่ 1เบต้า 6 และ 8 ในเนื้อเยื่อกระเพาะอาหาร ของกลุ่มที่ติดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร มีค่าสูงกว่ากลุ่มที่ไม่ติดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (207 vs. 96: p <0.05, and 1,115 vs. 217: p <0.001, ตามลำดับ) สำหรับระดับของอินเตอร์ลิวคีนชนิดที่ 1เบต้า 6 และ 8 ในซีรั่มไใใความสัมพันธ์กับชนิดของโรคไม่ว่าจะเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร แผลในกระเพาะอาหาร หรือ NUD และไม่มีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อ เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร กล่าวโดยสรุปว่าระดับของอินเตอร์ลิวคินชนดที่ 1เบต้า 6 และ 8 ในเนื้อเยื่อกระเพาะอาหารมีความสัมพันธ์กับกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะอาหารที่ติดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร อย่างชัดเจน อินเตอร์ลิวคินในเนื้อเยื่อกระเพาะอาหารเหล่านี้ น่าจะมีส่วนสำคัญต่อขบวนการเกิดมะเร็งกระเพาะอาหารโดยผ่านทางการติดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร และสามารถช่วยในการวินิจฉัยแยกโรคระหว่างมะเร็งกระเพาะอาหาร และแผลในกระเพาะอาหารได้อีกด้วย
Other Abstract: Helicobacter pylori infected gastric mucosa has been shown to have elevated levels of proinflammatory cytokines, such as interleukin (IL)-1beta, IL-6 and IL-8. Because these cytokines have been shown to enhance the development of certain cancers, we examined the relationship between cytokines levels and H. pylori infection from patients with gastric cancers, gastric ulcers, and non-ulcer dyspepsia (NUD). The author examined total of 172 patients including 50 patients with gastric cancer, 69 with gastric ulcer and 53 with NUD. Gastric biopsy samples were obtained from cancer margin (cancer patients), ulcer margin (ulcer patients) and antral mucosa (NUD patients). Cytokines levels from serum and biopsy homogenates were measured by enzyme-linked immunosorbent assay (ELISA) The prevalence of H. pylori infection was significantly higher in patients with gastric cancer (87%) or gastric ulcer (80%) than those with NUD (47%). Furthermore, mucosal IL-1beta, IL-6 and IL-8 levels in gastric cancer patients were significantly higher than gastric ulcer and NUD patients respective of H. pylori infection. In gastric cancer patients, mucosal IL-1b, IL-6 and IL-8 levels (median pg/mg protein) were significantly higher in H. pylori positive cases compared with H. pylori negative cases (450 vs. 21.7: p <0.01, 66.6 vs. 4.2: p <0.05 and 2,762 vs. 319: p <0.01, respectively). In NUD patients, mucosal IL-1beta and IL-8 levels were significantly associated with H. pylori infection (207 vs. 96: p <0.05, and 1,115 vs. 217: p <0.001, respectively), whereas these relations were not observed in gastric ulcer patients. We used a ROC curve to obtain a cut-off mucosal cytokine level to separate biopsies from the margin of a gastric cancer from the margin of a benign ulcer(the cut-off point of 1,100 pg/mg protein for IL-1beta, 60 pg/mg protein for IL-6 and 2,550 pg/mg protein for IL-8). Mucosal cytokine levels above the cut-off point were significantly associated with gastric cancer (adjusted odds ratio [OR] = 5.4 and 95% confidence interval [CI] = 1.8-16.1 for IL-1beta, OR = 4.1 and 95% CI = 1.7-9.8 for IL-6, and OR = 2.9 and 95% CI = 1.3-6.5 for IL-8). Serum cytokines levels did not associate with clinical outcome as well as H. pylori status. Mucosal cytokines may play a role in the pathogenesis of H. pylori-related gastric cancer. Measuring cytokine levels may also assist in distinguishing benign from malignant gastric ulcers.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10969
ISBN: 9741724292
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Rathakorn_Vi.pdf1.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.