Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1318
Title: การจำแนกสัดส่วนแหล่งกำเนิดของอนุภาคมลสารรวมทั้งหมด ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
Other Titles: Total suspended particulte matter source apportionment in Bangkok Metropolitan area
Authors: พงษ์เศวต สุวรรณธานี, 2521-
Advisors: วงศ์พันธ์ ลิมปเสนีย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: คุณภาพอากาศ -- ไทย -- กรุงเทพฯ
ฝุ่น -- ไทย -- กรุงเทพฯ
การควบคุมฝุ่น -- ไทย -- กรุงเทพฯ
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาหาสัดส่วนแหล่งกำเนิดที่มีผลกระทบต่อคุณภาพอากาศของพื้นที่ต่างๆ ในกรุงเทพมหานครโดยใช้แบบจำลองดุลยภาพมวลเคมี และศึกษาการเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นฝุ่นละอองรวมในบรรยากาศ และสัดส่วนจากแหล่งกำเนิดช่วงลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และตลอดทั้งปี พ.ศ. 2545 ในการวิจัย เก็บตัวอย่างฝุ่นละอองรวมในพื้นที่ 4 แห่ง คือ สถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศเคหะชุมชนดินแดง สถาบันราชภัฎจันทรเกษม สถาบันราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา และที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขราษฎร์บูรณะ และการใช้แบบจำลองดุลยภาพมวลเคมีนี้ได้พิจารณาถึงแหล่งกำเนิดหลัก 8 ประเภท ซึ่งมีข้อมูลองค์ประกอบทางเคมีอยู่แล้ว ได้แก่ ไอเสียจากรถดีเซลและมอเตอร์ไซด์ การเผาไหม้ของชีวมวล ฝุ่นจากดินและถนน ละอองไอจากทะเล แอมโมเนียมซัลเฟต โซเดียมไนเตรต การเผาไหม้น้ำมันเตาและโรงหลอมเหล็ก การศึกษาพบว่าช่วงลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ มีความเข้มข้นฝุ่นละอองรวมในบรรยากาศเท่ากับ 128-280 microg./cbm. สัดส่วนและความเข้มข้นฝุ่นละอองรวมจากไอเสียจากรถดีเซลและมอเตอร์ไซด์เท่ากับ 17-41% (22-114 microg./cbm.) การเผาไหม้ของชีวมวลเท่ากับ 33-43% (48-91 microg./cbm.) ฝุ่นจากดินและถนน 2-5% (2-11 microg./cbm.) ละอองไอจากทะเล 1-3% (2-4 microg./cbm.) แอมโมเนียมซัลเฟต 4-10% (12-13 microg./cbm.) และโซเดียมไนเตรต 5-7% (8-15 microg./cbm.) ส่วนการเผาไหม้ของน้ำมันเชื้อเพลิงและโรงหลอมเหล็กไม่สามารถจำแนกได้ ช่วงลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีความเข้มข้นฝุ่นละอองรวมในบรรยากาศเท่ากับ 52-143 microg./cbm. สัดส่วนไอเสียจากรถดีเซลและมอเตอร์ไซค์ 18-35% (14-48 microg./cbm.) การเผาไหม้ของชีวมวล 19-40% (14-57 microg./cbm.) ฝุ่นจากดินและถนน 0.5-3% (1-2 microg./cbm.) ละอองไอจากทะเล 4-17% (7-9 microg./cbm.) แอมโมเนียมซัลเฟต 1-3% (1-3 microg./cbm.) โซเดียมไนเตรต 2-6% (2-5 microg./cbm.) การเผาไหม้น้ำมันเตา 3-11% (5-6 microg./cbm.) และโรงหลอมเหล็ก 3-10% (5-6 microg./cbm.) การศึกษาพบว่าในช่วงลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่ดินแดงและจันทรเกษม ได้รับผลกระทบจากไอเสียจากรถยนต์ดีเซลและมอเตอร์ไซด์มากที่สุด และที่บ้านสมเด็จและราษฎร์บูรณะจะได้รับผลกระทบ จากการเผาไหม้ของชีวมวลในสัดส่วนที่มากที่สุด และในช่วงลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้การเผาไหม้ของชีวมวล และไอเสียจากรถดีเซลและมอเตอร์ไซด์มีความสำคัญมากที่สุด ต่อทุกสถานีในระดับที่ค่อนข้างเท่ากัน มากกว่านั้นละอองไอจากทะเลยังเป็นแหล่งกำเนิดอีกแหล่งหนึ่ง ที่จะส่งผลอย่างเด่นชัดต่อทุกสถานีในช่วงนี้อีกด้วย และพบอีกว่าฝุ่นจากดินและถนนมีผลกระทบต่อคุณภาพอากาศ ในระดับที่ต่ำและลดลงจากปี พ.ศ. 2539 เป็นอย่างมาก
Other Abstract: To identify the contribution from TSP major sources in Bangkok Metropolitan Area using chemical mass balance and study TSP concentration variations in ambient and source contribution in northeast monsoon, southwest monsoon and all of the year 2002. This research was to sampling TSP at 4 stations, namely Dindeang Apartment, Junkasem College, Bansomdet College and Ratburana Post Office. There were 8 major sources used in this model as follows, diesel vehicle and motorcycle emission, biomass burning, soil and road dust, marine aerosol, ammonium sulfate, sodium nitrate, heavy oil combustion and steel mill. The result showed that ambient 24-hour TSP concentrations in northeast monsoon were between 128-280 microg./cbm. Chemical mass balance receptor modeling showed source contribution as follows, diesel and motorcycle emission 17-41% (22-114 microg./cbm), biomass burning 33-43% (48-91 microg./cbm.), soil and road dust 2-5% (2-11 microg./cbm.), marine aerosol 1-3% (2-4 microg./cbm.), ammonium sulfate 4-10% (12-13microg./cbm.) and sodium nitrate 5-7% (8-15 microg./cbm.). Heavy oil combustion and steel mill were not identified at any stations. Ambient 24-hour TSP concentrations in southwest monsoon were between 52-143 microg./cbm. Chemical mass balance receptor modeling showed source contribution as follows, diesel and motorcycle emission 18-35% (14-48 microg./cbm.), biomass burning 19-40% (14-57 microg./cbm.), soil and road dust 0.5-3% (1-2 microg./cbm.), marine aerosol 4-17% (7-9 microg./cbm.), ammonium sulfate 1-3% (1-3 microg./cbm.) and sodium nitrate 2-6% (2-5 microg./cbm.), heavy oil combustion 3-11% (5-6 microg./cbm.) and steel mill 3-10% (5-6 microg./cbm.). The study revealed that diesel and motorcycle emission was the most important source at Dindeang and Junkasem and biomass burning was the most important source at Bansomdet and Ratburana in northeast monsoon. Biomass burning and diesel and motorcycle emission were equally important sources at all stations in southwest monsoon. Moreover, It was also found that marine aerosol was the minor source. Finally, soil and road dust was at low level of concentration, having decreased greatly from 1996.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1318
ISBN: 9741714882
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pongsawet.pdf3.02 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.