Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14058
Title: สิทธิของผู้ต้องหาในคดีอาญา : ศึกษาประวัติความเป็นมาตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นจนถึงพุทธศักราช 2478
Other Titles: Right of the accussed : a historical study of early Rattanakosin period until B.E. 2478
Authors: ชัชวาล อัชฌากุล
Advisors: มัทยา จิตติรัตน์
ธงทอง จันทรางศุ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
ไม่มีข้อมูล
Subjects: สิทธิผู้ต้องหา
กระบวนการยุติธรรมทางอาญา
ความผิดทางอาญา
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เมื่อมีการกระทำผิดทางอาญาเกิดขึ้นผู้ที่กระทำความผิด หรือที่ถูกกล่าวหาว่าได้กระทำความผิดจะตกอยู่ในฐานะผู้ต้องหาตามกฎหมาย การปฏิบัติต่อผู้ต้องหาตั้งแต่การจับกุมควบคุมตัวหรือการสอบปากคำ เป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานซึ่งแต่เดิมนั้นผู้ต้องหาในคดีอาญา แทบจะไม่มีสิทธิใดๆ ทั้งสิ้น วิวัฒนาการของสิทธิของผู้ต้องหานั้นก่อกำเนิดเกิดขึ้นนับแต่ต้นอาณาจักรสุโขทัยผ่านกาลสมัย จนได้สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี ก็หาได้มีการบัญญัติให้สิทธิแก่ผู้ต้องหาในคดีอาญาเป็นที่เด่นชัดไม่ ปรากฏแต่การปฏิบัติเพราะความเวทนาสงสารเฉพาะรายคดีเท่านั้น อันมีสาเหตุเนื่องมาจากสภาพสังคมที่ปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ทำให้สิทธิของผู้ต้องหาในคดีอาญาถูกจำกัด ตามพระราชอำนาจอันสมบูรณ์ของพระมหากษัตริย์ และเพื่อประโยชน์ในการปกครองบ้านเมืองเป็นเหตุสำคัญ แต่กระนั้นก็ทรงยึดถือราชธรรมมาเป็นแนวทางในการปกครองพระราชอาณาจักรให้เกิดความผาสุกร่มเย็น เมื่อประเทศไทยได้มีการเจริญสัมพันธไมตรีทางด้านการค้ากับนานาอารยประเทศทางแถบตะวันตก ประกอบกับเหตุการณ์แวดล้อมจากการที่ลัทธิจักรวรรดินิยมเข้ามาแทรกแซง ส่งผลกระทบต่อเอกราชทางการศาลและการยุติธรรม นำไปสู่การปฏิรูปกฎหมายการศาลและการยุติธรรมปรากฏในแผ่นดินพระบาทสมเด็จฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้มีการเรียกร้องให้สิทธิแก่ผู้ต้องหาในคดีอาญา ซึ่งมีสาเหตุมาจากคนต่างประเทศตกเป็นผู้ต้องหาและต้องถูกดำเนินคดีอาญา ตามกระบวนการของกฎหมายและศาลไทย จึงได้ก่อให้เกิดการแก้ไขตัวบทกฎหมายอันได้รับอิทธิพลจากแนวคิดและทฤษฎีจากประเทศแถบตะวันตก ทำให้ผู้ต้องหาได้รับสิทธิต่างๆ เพิ่มขึ้นและวิวัฒนาการให้เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพการณ์ของสังคมไทย จวบจนได้มีการประกาศใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาในพุทธศักราช 2478
Other Abstract: Once a criminal offence is committed, a wrongdoer or an accused person will be automatically charged as an alleged offender whereby the process of arrestment, taking into custody or investigation of such alleged offender falls under an officer’s authority. Formerly i.e. since Sukhothai to Rattanakosin era, rights bestowed upon the alleged offender had never been clearly specified. It was merely compassion and sympathy that were contrivances in the said process. The occurrence as such was due to the fact that Thailand in earlier times was under the absolute monarchy system and for the benefits of governing a country, the rights of the alleged offender solely depended upon the king’s absolute power. As soon as Thailand had entered into relations with other western civilized countries through trade and dealings together with the interference of imperialism in the country, the incidents gradually affected Thailand’s independence as to Thai courts of justice and justice system. During the reign of King Rama V, the rights of the alleged offender were exceedingly called for owing to the fact that the alleged offender who was primarily accused of committing crime in Thailand was a foreigner and was therefore obliged to be adjudicated under Thai law and Thai courts of justice. Subsequently, laws relating to Thai courts of justice and justice system were reformed and modernized in accordance with western theories and models. The alleged offender had increasingly received a number of rights since then until Thailand’s criminal procedural code was promulgated in 1935.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14058
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.162
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.162
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chatchaval_At.pdf4.18 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.