Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1446
Title: การปรับปรุงแถวคอยปฏิทินสำหรับการจำลองแบบเหตุการณ์ไม่ต่อเนื่อง
Other Titles: Improvement of calendar queue for discrete event simulation
Authors: ทศพร เสียงสุคนธ์, 2523-
Advisors: ลัญฉกร วุฒิสิทธิกุลกิจ
เชาวน์ดิศ อัศวกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
[email protected]
Subjects: ทฤษฎีแถวคอย
แบบจำลองทางคอมพิวเตอร์
การจำลองแบบเหตุการณ์ไม่ต่อเนื่อง
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ เสนอแถวคอยแบบมีลำดับความสำคัญที่พัฒนามาจากแถวคอยปฏิทิน (Calendar Queue: CQ) โดยใช้ค่าตัวคูณความกว้างในการกำหนดค่าความกว้างถังแทนการใช้ค่าเฉลี่ยเวลาระหว่างเหตุการณ์ซึ่งใช้ใน CQ แถวคอยแบบมีลำดับความสำคัญที่เสนอในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้คือ แถวคอยปฏิทินชนิดปรับความกว้างถังอัตโนมัติ (Adaptive Bucker width Calendar Queue: ABCQ) ซึ่งถูกตั้งชื่อตามคุณสมบัติการปรับความกว้างถังอัตโนมัติให้สอดคล้องกับค่าสุ่ม (random variate) ของเวลาของเหตุการณ์ที่ใช้ในการจำลอง วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ จะใช้ค่าเฉลี่ยของเวลาในการดำเนินการเหตุการณ์คงค่า (hold operation) และการทดสอบกับโปรแกรมจำลองจริงในการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของ ABCQ กับ CQ ซึ่งจะมีการทดสอบทั้งกับระบบนิ่ง (Stationary) และระบบไม่นิ่ง (non-stationary) โดยใช้การเปลี่ยนค่าเฉลี่ยของค่าสุ่มระหว่างการทดสอบด้วยการดำเนินการเหตุการณ์คงค่า และการเปลี่ยนค่าโหลดในระบบระหว่างการจำลองเป็นตัวแทนของระบบไม่นิ่ง ผลการเปรียบเทียบแสดงให้เห็นว่า ABCQ สามารถลดเวลาในการประมวลผลได้ทั้งในการทดสอบด้วยการดำเนินการเหตุการณ์คงค่า และการทดสอบด้วยโปรแกรมจำลอง ซึ่งเวลาในการประมวลผลที่ลดลงจะเห็นได้อย่างชัดเจนในกรณีทดสอบกับระบบไม่นิ่ง
Other Abstract: In this thesis, a new priority queue algorithm has been proposed with the basis on the Calendar Queue (CQ). To select an appropriate bucket width, the proposed algorithm uses the width factor (W[subscript f]) in stead of the average inter-event time being used in CQ. The proposed algorithm is called the Adaptive Bucket width Calendar Queue (ABCQ) to reflect its adaptability to the random variate of incremental time in simulation programs. To evaluate ABCQ in comparison with CQ, both the conventional hold operation and real simulation scenarios have been adopted as a benchmark framework. In this thesis, the performance evaluation of ABCQ here focuses on both stationary and non-stationary systems. To emulatenon-stationary systems, the mean of random variate in the hold operation as well as the system loading in the tested simulation scenarios are madetime-dependent. The reported results suggest that ABCQ can decrease the processing time of both hold operation and simulation program especially when the systemsare non-stationary.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมไฟฟ้า
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1446
ISBN: 9741746849
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Todsaporn.pdf1.07 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.