Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14796
Title: การใช้เซลลูโลสแบบผลึกระดับจุลภาคที่เตรียมจากเศษผ้าฝ้ายเป็นสารตัวเติมในฟิล์มพีวีซี
Other Titles: Use of microcrystalline cellulose prepared from waste cotton fabric as filler in pvc film
Authors: ศิริวรรณ สุอุทัย
Advisors: เสาวรจน์ ช่วยจุลจิตร์
สิรีรัตน์ จารุจินดา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
[email protected]
Subjects: โพลิไวนิลคลอไรด์
เซลลูโลส
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในงานวิจัยนี้ เซลลูโลสแบบผลึกระดับจุลภาคถูกเตรียมได้จากการโดรไลซ์เศษผ้าฝ้ายด้วยกรดโดรคลอริกความเข้มข้น 2.5 นอร์แมล ที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 30 นาที แล้วนำไปตรวจสอบโครงสร้างทางเคมี ขนาดอนุภาค สัณฐานวิทยา และสมบัติทางความร้อน จากนั้นนำเซลลูโลสแบบผลึกระดับจุลภาคทีเตรียมได้มาผสมกับพีวีซีคอมพาวด์ในปริมาณ 0 5 10 15 20 25 และ 30 ส่วนโดยน้ำหนักต่อพีวีซีเรซิน 100 ส่วน ด้วยวิธีรีดเรียบให้เป็นฟิล์ม แล้วนำไปตรวจสอบสมบัติเชิงกล สมบัติทางความร้อน สัณฐานวิทยา การดูดซึมน้ำ และความสามารถในการย่อยสลายได้ทางชีวภาพ ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าอนุภาคของเซลลูโลสแบบผลึกระดับจุลภาคที่เตรียมได้มีรูปร่างเป็นเส้นใย และมีขนาดอนุภาคโดยเฉลี่ยประมาณ 40 ไมโครเมตร จากการทดสอบสมบัติเชิงกลของฟิล์มพีวีซี พบว่า ความต้านแรงดึงและยังส์มอดุลัสของฟิล์มมีค่าเพิ่มขึ้นเมื่อปริมาณเซลลูโลสแบบผลึกระดับจุลภาคเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ความต้านแรงฉีกขาดมีค่าเพิ่มขึ้นเช่นกันเมื่อปริมาณเซลลูโลสแบบผลึกระดับจุลภาคเพิ่มขึ้น แต่กลับลดลงเมื่อผสมเซลลูโลสแบบผลึกระดับจุภาคเข้าไปในปริมาณมากกว่า 20 ส่วน และจาก TGA เทอร์โมแกรม แสดงให้เห็นว่าการเติมเซลลูโลสแบบผลึกระดับจุลภาคมีผลต่อพฤติกรรมทางความร้อนของฟิล์มพีวีซีน้อยมาก ในขณะที่การดูดซึมน้ำและความสามารถในการย่อยสลายทางชีวภาพเพิ่มขึ้นเมื่อปริมาณเซลลูโลสแบบผลึกระดับจุลภาคเพิ่มขึ้น จากผลการทดลองเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่าเซลลูโลสแบบผลึกระดับจุลภาคทำหน้าที่เป็นตัวเติมเสริมแรงสำรับฟิล์มพีวีซีและยังมีบทบาทสำคัญในการเร่งการย่อยสลายทางชีวภาพของฟิล์มพีวีซี ซึ่งเมือพิจารณาจากความยากง่านในการขึ้นรูป สมบัติเชิงกล และการย่อยสลายทางชีวภาพแล้ว พบว่าไม่ควรใช้ปริมาณเซลลูโลสแบบผลึกระดับจุลภาคมากกว่า 20 ส่วน
Other Abstract: In this research, microcrystalline cellulose (MCC0 was prepared by hydrolyzing waste cotton fabric with 2.5 N HCl at 100 degree Celsius for 30 min. The chemical structure, particle size, morphology and thermal property of the MCC were investigated. The obtained MCC was blended with PVC compound at the amount of 0, 5, 10, 15, 20, 25, and 30 parts per hundred of PVD resin (phr). The mixtures were processed by calendaring method into a film form. The effects of MCC on the mechanical properties, thermal behaviors, morphology, water absorption and biodegradability of the blend films were investigated. The fibrous-shaped particle of MCC was found to posses average particle size of about 40 m. It was found that the tensile strength and Young's modulus of PVC films increased with the increasing amount of MCC. The tear strength also increased with the increasing amount of MCC. However, it decreased as the amount of MCC was higher than 20 phr. In addition, TGA thermogram showed that the thermal behavior of PVD film was insignificantly affected by the addition of MCC. Water absorption and biodegradability of PVD film were enhanced as the amount of MCC was increased. These results indicated that MCC behaves as reinforcing filler in PVC film and also plays an important role in accelerating the biodegradation of PVC film. By considering the ease of processing, the mechanical properties and the biodegradability, the amount of MCC in pvc film should not exceed 20 phr
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์พอลิเมอร์ประยุกต์และเทคโนโลยีสิ่งทอ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14796
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.958
ISBN: 9741737865
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.958
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Siriwan_Su.pdf5.93 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.