Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18203
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ชนิตา รักษ์พลเมือง | - |
dc.contributor.author | ลัดดา สุวรรณเพิ่ม | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2012-03-19T15:04:32Z | - |
dc.date.available | 2012-03-19T15:04:32Z | - |
dc.date.issued | 2526 | - |
dc.identifier.isbn | 9745627321 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18203 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สถานภาพของนักศึกษาที่ย้ายถิ่นเพื่อการศึกษา (2) ศึกษาสาเหตุ และปัญหาของนักศึกษาที่ย้ายถิ่นเพื่อการศึกษา (3) เปรียบเทียบปัญหาของนักศึกษาที่ย้ายถิ่นเพื่อการศึกษาในแต่ละภาค (4) ศึกษาความคาดหวังของนักศึกษาที่ย้ายถิ่นเพื่อการศึกษา เมื่อสำเร็จการศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาที่ย้ายถิ่นเพื่อการศึกษาในวิทยาลัยครูกลุ่มนครหลวง ในระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง ปีที่ 2 ปีการศึกษา 2525 จำนวน 418 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และการสัมภาษณ์ แบบสอบถามแบ่งออกเป็น 3 ตอน ตอนที่ 1 ถามเกี่ยวกับสถานภาพของนักศึกษาที่ย้ายถิ่นเพื่อการศึกษา 14 ตัวแปร ตอนที่ 2 สาเหตุและปัญหาของนักศึกษาที่ย้ายถิ่นเพื่อการศึกษา 11ตัวแปร ตอนที่ 3 ความคาดหวังของนักศึกษาที่ย้ายถิ่นเพื่อการศึกษา เมื่อสำเร็จการศึกษา 8 ตัวแปร ส่วนการสัมภาษณ์ใช้คำถามจากแบบสอบถามในแต่ละตอนเป็นแนวทางในการสัมภาษณ์การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการหาค่าร้อยละ และไคสแควร์ (chi-square) ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1. นักศึกษาที่ย้ายถิ่นเพื่อการศึกษาในวิทยาลัยครูกลุ่มนครหลวงเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 20-22 ปี อยู่ในครอบครัวขนาดกลาง ซึ่งมีบุตร 4-6 คน และเป็นบุตรคนแรกของครอบครัว ย้ายถิ่นเพื่อการศึกษามาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีบิดามารดาเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายให้ขณะที่กำลังศึกษาอยู่ในวิทยาลัยครูกลุ่มนครหลวง โดยนักศึกษาได้รับเงินมากกว่า 1,000 บาทต่อเดือน ปัจจุบันอาศัยอยู่หอพัก การศึกษาเดิมจบระดับ ม.ศ. 5 เป็นส่วนมาก 2. สาเหตุที่ทำให้นักศึกษาต้องย้ายถิ่น คือ ชอบที่จะศึกษาวิชาชีพครู และเชื่อว่า วิทยาลัยครูที่ตนย้ายเข้ามาเรียนมีคุณภาพมากกว่าวิทยาลัยครูในภูมิลำเนาเดิม ส่วนใหญ่เข้าศึกษาโดยการสอบแข่งขัน ให้เหตุผลการเลือกวิชาเอกว่า พิจารณาจากลักษณะความยากง่ายของรายวิชานั้นๆ 3. เมื่อย้ายถิ่นเข้ามาศึกษาในวิทยาลัยครูกลุ่มนครหลวง นักศึกษาที่ย้ายถิ่นเพื่อการศึกษามีปัญหาเรื่องที่พักอาศัยมากที่สุด จึงต้องการความช่วยเหลือเกี่ยวกับที่พักอาศัยเป็นอันดับแรก จากวิทยาลัยครูกลุ่มนครหลวง สำหรับอีกปัญหาหนึ่ง ได้แก่ ปัญหาการใช้จ่าย นักศึกษาได้แก้ไขปัญหาด้วยตัวเอง คือ ประหยัดในสิ่งที่ไม่จำเป็น และปัญหาของนักศึกษาที่ย้ายถิ่นเพื่อการศึกษาในแต่ละภาค มีปัญหาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 4. ความคาดหวังของนักศึกษาที่ย้ายถิ่นเพื่อการศึกษา เมื่อสำเร็จการศึกษามี 2 กลุ่มๆ หนึ่งมีโครงการจะศึกษาต่อ อีกกลุ่มหนึ่งมีโครงการกลับไปทำงานที่ภูมิลำเนาเดิมของตน เพราะเหตุผลบรรยากาศในชนบทน่าอยู่ ชีวิตไม่ต้องดิ้นรน กรุงเทพฯ ค่าครองชีพสูงและเห็นว่าการศึกษาต่อต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง ซึ่งขณะที่ทำงานจะเพิ่มพูนความรู้ด้วยการเข้าอบรมโครงการครูประจำการ ส่วนนักศึกษาที่มีโครงการศึกษาต่อเมื่อสำเร็จการศึกษา ได้ให้เหตุผลในการศึกษาต่อว่า เพราะต้องการปริญญาบัตร และพอใจในสาขาวิชาเอก | - |
dc.description.abstractalternative | The students who migrated to study in the Teachers Colleges in Bangkok Metropolis were studied in this research. The purposes were (1) to study their personal status (2) to investigate causes and problems of their migration (3) to compare problems of the migrated students from different regions and (4) to investigate their future plans and expectations after graduation. The sample of this research were 418 migrated teachers colleges' students who were enrolled in the 〖2 〗^nd year of the higher certificate level in the academic year 1982 in Bangkok Metropolis Teachers Colleges. Questionnaire and interview were used to collect the data concerning the students' persona status, causes and problems of their migration, and their future plans and expectations after graduation. The data were then analyzed by means of percentage and chi-square. The main findings of the study were the following. 1. Most of the migrated students were girls of 20 - 22 years old who came from middle-class families which had 4 to 6 children. Most of them were the eldest in the families. They migrated from the North- Eastern part of Thailand. Their parents paid all the fee and stipend. They got more than 1,000 bath/month and now lived in dormitories. Their former education level were M.S. 5. 2. The main causes of migration were the preference to study teacher education and the belief that the Teacher Colleges in Bangkok Metropolis were more efficient than those in their hometowns. Most of them took the entrance examination for each of the teachers colleges. Their reason for choosing particular major subject was considered on the difficulty of subject. 3. When migrated into Bangkok Metropolis, the students encountered the problem of lodging and expenditure, therefore they needed the Bangkok metropolis Colleges to assist them in finding places t& live, As for the problems of expenditure, the students solved by cutting the unnecessary expenses. When compared the problems among the students from different regions, it was found that their problems were significantly differences at the .05 level. 4. About the future plans and expectations after graduation, the students were divided into 2 groups; those who planned to work and those who planned to study. The migrated students who planned to work would go back to work in their hometowns because they thought life was easier in the country. Morever, they thought that cost of living in Bangkok was high and it would cost too much to further their studies while they would gain more money from working. However, they planned to attend seminars held for in - service teachers. Those who planned to further studies informed that they needed the diplomas and were satisfied with their major subjects. | - |
dc.format.extent | 434640 bytes | - |
dc.format.extent | 565306 bytes | - |
dc.format.extent | 767213 bytes | - |
dc.format.extent | 384739 bytes | - |
dc.format.extent | 1077746 bytes | - |
dc.format.extent | 639472 bytes | - |
dc.format.extent | 562699 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | นักศึกษาวิทยาลัยครู | en |
dc.subject | การย้ายถิ่นภายในประเทศ | en |
dc.title | การย้ายถิ่นเพื่อการศึกษาของนักศึกษาในวิทยาลัยครูกลุ่มนครหลวง | en |
dc.title.alternative | Migration for education of teachers colleges students in Bangkok Metropolis | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | สารัตถศึกษา | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | [email protected] | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Ladda_Su_front.pdf | 424.45 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Ladda_Su_ch1.pdf | 552.06 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Ladda_Su_ch2.pdf | 749.23 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Ladda_Su_ch3.pdf | 375.72 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Ladda_Su_ch4.pdf | 1.05 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Ladda_Su_ch5.pdf | 624.48 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Ladda_Su_back.pdf | 549.51 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.