Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27403
Title: | กลวิธีการนำเสนอพุทธธรรมในนวนิยายอิงธรรมะของสุชีพ ปุญญานุภาพ |
Other Titles: | The techniques of presenting Buddhist concepts in the Buddhist novels by Suchip Punyanuphap |
Authors: | ภาวินี ตรีเดชี |
Advisors: | สุจิตรา จงสถิตย์วัฒนา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | สุชีพ ปุญญานุภาพ, 2460-2543 นวนิยายพุทธศาสนา วรรณคดีพุทธศาสนา Suchip Punyanuphap, 1917-2000 Buddhist stories Buddhist literature |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษาวิเคราะห์กลวิธีการนำเสนอพุทธธรรมในนวนิยายอิงธรรมะของสุชีพ ปุญญานุภาพ ซึ่งมีการใช้กลวิธีการนำเสนอในรูปแบบนวนิยายที่อิงอาศัยลักษณะของวรรณคดีพุทธศาสนา และมีการอ้างอิงข้อมูลหลักฐานจากคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท จากการศึกษาพบว่า ผู้แต่งนำเสนอหลักธรรมด้วยการผูกเรื่องตามรูปแบบนวนิยายที่ยังคงรักษาเอกลักษณ์ของการเป็นวรรณกรรมศาสนา ด้วยการใช้กลวิธีการนำเสนอที่สัมพันธ์กับลักษณะของวรรณคดีพุทธศาสนา ได้แก่ การนำเอาเหตุการณ์ในพุทธประวัติมาเป็นโครงเรื่อง การสร้างโครงเรื่องย่อยที่ดัดแปลงจากอรรถกถาในนิบาตชาดก การยกอุทาหรณ์และการเล่าเรื่องแทรก การเปิด-ปิดเรื่องที่ได้รับอิทธิพลจากวรรณคดีพุทธศาสนา การใช้ตัวละครที่เป็นบุคคลในพุทธประวัติ การใช้ฉากอินเดียสมัยพุทธกาล การใช้บทสนทนาถาม-ตอบเพื่อแสดงหลักธรรม สำหรับกลวิธีทางภาษาที่ใช้ในการนำเสนอหลักพุทธธรรมนั้นประกอบด้วย การยกพุทธพจน์และพุทธภาษิต การสอดแทรกคำประพันธ์ร้อยกรองในรูปแบบบทเพลง โศลกและฉันท์ การใช้สำนวนโวหาร ภาพพจน์ความเปรียบและสัญลักษณ์ นอกจากนี้ยังมีการใช้คำภาษาบาลี คำศัพท์ทางพระพุทธศาสนาและสำนวนภาษาที่คล้ายกับในคัมภีร์พุทธศาสนา กลวิธีดังกล่าวผู้แต่งนำมาปรับใช้ในการนำเสนอด้วยรูปแบบนวนิยายได้อย่างสอดคล้องกลมกลืน ทำให้การนำเสนอหลักพุทธธรรมมีความน่าสนใจ ชัดเจนและน่าเชื่อถือ อีกทั้งกลวิธีการนำเสนอเหล่านี้ยังมีบทบาทและความสำคัญ ในการช่วยสร้างความรู้ความเข้าใจหลักธรรมตามแนวทางพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท ซึ่งมุ่งเน้นในเรื่องการประพฤติปฏิบัติเพื่อพัฒนาตนเองทั้งในด้านจริยธรรมและความประพฤติ โดยมีสติปัญญาเป็นเครื่องมือกำกับอันนำไปสู่ความเข้าใจในหลักไตรลักษณ์ ทำให้ไม่เกิดความยึดมั่นถือมั่นจนมีความสุขหรือความทุกข์กับชีวิตมากจนเกินไป นอกจากนี้การนำเสนอนวนิยายที่มีการอ้างอิงข้อมูลจากคัมภีร์พุทธศาสนา ยังเป็นการประมวลรวบรวมความรู้เกี่ยวกับประเทศอินเดียโบราณทั้งในด้านสังคม วัฒนธรรม การเมืองการปกครองตลอดจนภูมิศาสตร์และธรรมชาติวิทยา ถือได้ว่าผลงานนวนิยายอิงธรรมมะของสุชีพ ปุญญานุภาพเป็นแบบอย่างของการนำเสนอหลักพุทธธรรมด้วยรูปแบบนวนิยายในยุคแรกเริ่ม อันเป็นแนวทางให้แก่นักเขียนในยุคต่อมา |
Other Abstract: | To analyze the techniques of presenting Buddhist concepts in the Buddhist novels by Suchip Punyanuphap. The author combines the genre of novel with the characteristics of Buddhist literature and references to the Pali Canon. The result reveals that the theme of Buddhist concepts is conveyed by combining the genre of novel with the characteristic of Buddhist literature. Firstly, the author takes the plot from Buddha’s biography, a part of story in Jataka Commentary is taken as a subplot, the use of allegory, the characters are taken from those appear in the Buddha’s biography, uses the setting in India during the Buddha’s life time, the use of questions and answers dialogue to demonstrate Buddhist concepts. Moreover, there are the use of direct quotations of Buddha’s words, poems, Buddhist metaphors, symbol, Pali words and the literary style that are similar to Pali Canon. These techniques make Buddhist concepts conveyed in the novel precise, interesting and rational. These novels by Suchip Punyanuphap, therefore, could be considered as models of Buddhist novels for writers of later generation. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 |
Degree Name: | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ภาษาไทย |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27403 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.2007 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2011.2007 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
pavinee_th.pdf | 8.49 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.