Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31956
Title: การศึกษาเปรียบเทียบการใช้พลังงานของการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพชนิดต่างๆ ระหว่างหญิงที่มีภาวะน้ำหนักเกินและหญิงที่มีน้ำหนักปกติ
Other Titles: A comparative study of energy expenditure in various types of exercise for health between overweight and normal-weight female
Authors: วีรพัฒน์ ยอดกมลศาสตร์
Advisors: ดรุณวรรณ สุขสม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สำนักวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: สตรีน้ำหนักเกิน
การออกกำลังกาย -- การใช้พลังงาน
แอโรบิก (กายบริหาร)
Overweight women
Exercise -- Energy consumption
Aerobic exercises
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการใช้พลังงานของการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพชนิดต่างๆในหญิงที่มีน้ำหนักเกินและหญิงที่มีน้ำหนักปกติ อาสาสมัครเป็นนิสิตหญิงของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 26 คน (อายุ 18 – 25 ปี) แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มน้ำหนักเกิน (BMI = 25.00 – 29.99 กก./ตร.ม.) จำนวน 11 คน และกลุ่มน้ำหนักปกติ (BMI = 18.50 – 24.99 กก./ตร.ม.) จำนวน 15 คน อาสาสมัครทุกคนได้รับการสุ่มแบบครอสโอเวอร์ดีไซน์ให้ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพทั้ง 4 ชนิด อันได้แก่ การเดิน การวิ่ง การปั่นจักรยาน และการเต้นแอโรบิกที่ความหนักระดับปานกลาง (64 – 76 % ของอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด) เป็นเวลา 30 นาที ก่อนดำเนินการทดลอง ผู้เข้าร่วมวิจัยทุกคนได้รับการวัดค่าพื้นฐานทางสรีรวิทยาและสุขสมรรถนะ ในวันทำการทดลองทั้งก่อนและหลังการออกกำลังกายแต่ละชนิด อาสาสมัครได้รับการวัดองค์ประกอบร่างกาย ได้แก่ น้ำหนักตัว เปอร์เซ็นต์ไขมัน และเปอร์เซ็นต์มวลที่ปราศจากไขมัน ขณะออกกำลังกาย ทำการบันทึกค่าตัวแปรทางสรีรวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการออกกำลังกายและค่าการใช้พลังงาน ได้แก่ อัตราการเต้นหัวใจ ความดันโลหิต สมรรถภาพการใช้ออกซิเจน สมรรถภาพการใช้คาร์บอนไดออกไซด์ สมรรถภาพการใช้ออกซิเจนสูงสุด การระบายอากาศ อัตราส่วนการหายใจ และการใช้พลังงาน (ช่วงเริ่มต้น ช่วงของการออกกำลังกายคงที่ ช่วงหลังหยุดออกกำลังกาย และช่วงการใช้พลังงานโดยรวมของการออกกำลังกาย) แล้วนำผลที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติ หาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทำการเปรียบเทียบความแตกต่างของตัวแปรระหว่างกลุ่มตัวอย่างด้วยการทดสอบค่าที และเปรียบเทียบความแตกต่างของตัวแปรระหว่างชนิดของการออกกำลังกายด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า 1. อัตราการเต้นของหัวใจ อัตราส่วนการหายใจ และความดันโลหิตที่ทำการบันทึกค่าทุกๆนาทีตั้งแต่นาทีที่ 1-35 ขณะออกกำลังกายเพื่อสุขภาพชนิดต่างๆของกลุ่มที่มีภาวะน้ำหนักเกินไม่มีความแตกต่างจากกลุ่มที่มีน้ำหนักปกติ แต่พบว่า กลุ่มที่มีภาวะน้ำหนักเกินมีสมรรถภาพการใช้ออกซิเจน สมรรถภาพการใช้คาร์บอนไดออกไซด์ และการระบายอากาศต่ำกว่ากลุ่มที่มีน้ำหนักปกติ 2. การใช้พลังงานในการออกกำลังกายช่วงเริ่มต้น (นาทีที่ 1-5) ช่วงคงที่ (นาทีที่ 11-20) ช่วงหลังหยุดออกกำลังกาย (นาทีที่ 30-35) และ การใช้พลังงานโดยรวม (นาทีที่ 1-30) ของการเดิน การวิ่ง การปั่นจักรยาน และการเต้นแอโรบิก ในกลุ่มที่มีภาวะน้ำหนักเกินมีค่าสูงกว่ากลุ่มที่มีน้ำหนักปกติ และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างชนิดของการออกกำลังกาย พบว่า การใช้พลังงานโดยรวมในการออกกำลังกายของการเดินและการวิ่งมีค่าสูงกว่าการปั่นจักรยานทั้งในกลุ่มที่มีภาวะน้ำหนักเกินและในกลุ่มที่มีน้ำหนักปกติ 3. การออกกำลังกายด้วยการเดิน การวิ่ง การปั่นจักรยาน และการเต้นแอโรบิก มีผลทำให้น้ำหนักตัวหลังออกกำลังกายมีค่าต่ำกว่าก่อนออกกำลังกาย แต่ไม่พบความแตกต่างของเปอร์เซ็นต์ไขมันและเปอร์เซ็นต์มวลที่ปราศจากไขมันเมื่อเปรียบเทียบระหว่างก่อนและหลังการออกกำลังกาย ทั้งในกลุ่มที่มีภาวะน้ำหนักเกินและในกลุ่มที่มีน้ำหนักปกติ
Other Abstract: The purposes of the study were to compare energy expenditure in various types of exercise for health between overweight and normal-weight female. Twenty six females students of Chulalongkorn University (age 18 – 25 years) were divided into 2 groups: overweight (BMI = 25.00-29.99 kg/m²; n=11) and normal-weight (BMI = 18.50-24.99 kg/m²; n=15). All subjects participated in a crossover design including four types of exercise: walking, running, cycling and aerobic dance with moderate intensity (64 - 76 % of maximal heart rate) for 30 minutes. Resting physiological data and health-related physical fitness were obtained before the study. On the day of experiment, bodyweight, %fat and % fat free mass were measured at rest and immediately after exercise. During each exercise session, heart rate (HR), blood pressure (BP), oxygen uptake (VO₂), carbondioxide production (VCO₂), maximal oxygen consumption (VO₂max), minute ventilation (MV), respiratory exchange ratio (RER) and energy expenditure (EE) at the beginning (min 1-5), the steady state (min 11-20), the recovery period (min 30-35) and the total of exercise task (min 1-30) were assessed. All values are expressed as means and standard deviation. T-test and one way ANOVA was used to determined differences between groups and types of exercise, respectively. Statistical significance was accepted at p < .05. The results were as follows: 1. There were no significant differences in HR, RER and BP that were monitored every minute (min 1-35) during all types of exercise examined between overweight and normal-weight groups. But it was found that overweight subjects had lower VO₂, VCO₂ and MV than normal-weight subjects. 2. EE at the beginning, the steady state, the recovery period and the total of exercise task in all types of exercise were higher in overweight group when compared with normal-weight group. The total EE of walking and running were higher than cycling in both groups of subject. 3. Bodyweight of overweight and normal-weight groups were lower after exercise with walking, running, cycling and aerobic dance. But there were no significant differences in % fat and % fat free mass when compared between before and after exercise in both overweight and normal-weight groups.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์การกีฬา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31956
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.627
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.627
Type: Thesis
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Weerapat_Yo.pdf13.81 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.