Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32167
Title: ผลของการตั้งเป้าหมายที่มีต่อการพัฒนาความสามารถทางคณิตศาสตร์และการรับรู้ความสามารถของตนเองทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
Other Titles: Effects of goal orientation on mathematical abilities and mathematics self-efficacy of seventh grade students
Authors: ภวิกา ภักษา
Advisors: ปิยวรรณ วิเศษสุวรรณภูมิ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: ความสามารถทางคณิตศาสตร์
ความสามารถในตนเอง
คณิตศาสตร์
นักเรียนมัธยมศึกษา
Mathematical ability
Self-efficacy
Mathematics
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลของลักษณะการตั้งเป้าหมายที่มีต่อความสามารถทางคณิตศาสตร์และการรับรู้ความสามารถของตนเองทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) เปรียบเทียบความสามารถทางคณิตศาสตร์และการรับรู้ความสามารถของตนเองทางคณิตศาสตร์ระหว่างกลุ่มที่ฝึกการตั้งเป้าหมายแบบมุ่งการเรียนรู้ กลุ่มที่ฝึกการตั้งเป้าหมายแบบมุ่งแสดงความสามารถ และกลุ่มที่เรียนด้วยวิธีปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จ. นครศรีธรรมราช จำนวน 3 ห้องเรียน ห้องเรียนละ 60 คน รวมทั้งสิ้น 180 คน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ฝึกการตั้งเป้าหมายแบบมุ่งการเรียนรู้ กลุ่มที่ฝึกการตั้งเป้าหมายแบบมุ่งแสดงความสามารถ และกลุ่มที่เรียนด้วยวิธีปกติ ใช้เวลาในการดำเนินกิจกรรมครั้งละ 60 นาที รวมทั้งสิ้น 12 ครั้ง โดยนักเรียนทั้ง 3 กลุ่มทำแบบทดสอบความสามารถทางคณิตศาสตร์และแบบวัดการรับรู้ความสามารถของตนเองทาคณิตศาสตร์จำนวน 3 ครั้ง คือ ก่อนการทดลอง 2 สัปดาห์ หลังการทดลอง 1 สัปดาห์ และ 3 สัปดาห์หลังการทดลองเสร็จสิ้น วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ (One- Way Repeated Measures ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า 1. ระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผล กลุ่มที่ฝึกการตั้งเป้าหมายแบบมุ่งการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถทางคณิตศาสตร์สูงกว่ากลุ่มที่ฝึกการตั้งเป้าหมายแบบมุ่งแสดงความสามารถ และกลุ่มที่เรียนด้วยวิธีปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผล กลุ่มที่ฝึกการตั้งเป้าหมายแบบมุ่งแสดงความสามารถและ กลุ่มที่เรียนด้วยวิธีปกติมีค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถทางคณิตศาสตร์ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผล กลุ่มที่ฝึกการตั้งเป้าหมายแบบมุ่งการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถทางคณิตศาสตร์สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนกลุ่มที่ฝึกการตั้งเป้าหมายแบบมุ่งแสดงความสามารถมีค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถทางคณิตศาสตร์หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่ในระยะติดตามผลไม่แตกต่างจากก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. ระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผล กลุ่มที่ฝึกการตั้งเป้าหมายแบบมุ่งการเรียนรู้ กลุ่มที่ฝึกการตั้งเป้าหมายแบบมุ่งแสดงความสามารถ และกลุ่มที่เรียนด้วยวิธีปกติ มีค่าเฉลี่ยคะแนนการรับรู้ความสามารถของตนเองทางคณิตศาสตร์ไม่แตกต่างกันและไม่แตกต่างจากก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purposes of this research were 1) to study effects of goal orientation on mathematical abilities and self-efficacy of mathayom suksa one students 2) to compare mathematical abilities and self-efficacy among students who were in a mastery goal orientation training group, a performance goal orientation training group, and a control group. Subjects consisted of 3 classrooms of seventh grade students from Benjamarachutit School, Nakhon Sri Thammarat province. The classrooms were randomly assigned into 3 groups: a mastery goal orientation training group, a performance goal orientation training group and a no- training control group. The intervention involved 12 training sessions, with each session lasting 60 minutes. Instruments included a mathematical ability test and a mathematical self-efficacy test. Pretest, posttest and follow-up test were administrated two weeks before the intervention, one week and three weeks after the intervention. One - Way Repeated Measures (ANOVA) was employed for data analysis. The results were as follows : 1. Mathematical ability posttest and follow-up test scores of students in the mastery goal orientation training group were higher than those in the performance goal orientation training group and the control group at the .05 level of significance. 2. Differences between mathematical ability posttest and follow-up test scores of students in the performance goal orientation training group and those of the control group did not yield at significant level. 3. Mathematical ability posttest and follow-up test scores of students in the mastery goal orientation training group were higher than the pretest scores at .05 level of significance and mathematical ability posttest score of students in the performance goal orientation training group were higher than the pretest scores at the .05 level of significance. However, mathematical ability follow-up test scores of students in the performance goal orientation training group did not yield at significant level. 4. Mathematical self-efficacy posttest and follow-up test scores of students in all groups did not yield and not different from their pretest scores at significant level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยาการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32167
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1414
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.1414
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
phawika_pa.pdf6.53 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.