Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33156
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorดนีญา อุทัยสุข-
dc.contributor.authorโสภณ เดชฉกรรจ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2013-07-16T13:53:45Z-
dc.date.available2013-07-16T13:53:45Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33156-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาเนื้อหาหลักสูตรของวงไทยบรรเลง 2. เพื่อศึกษาเนื้อหาด้านการสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมในการสอนดนตรีไทยในวงไทยบรรเลง โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ประกอบด้วยการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม ผลวิจัยพบว่า 1.หลักสูตรของวงไทยบรรเลงมี 2 ประเภทคือ หลักสูตรที่สร้างนักดนตรีอาชีพและหลักสูตรที่เสริมความรู้ให้ผู้เรียน ซึ่งงานวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยศึกษาเนื้อหาหลักสูตรใน 2 ประเด็นดังนี้ 1.1 เนื้อหาด้านเพลง หลักสูตรสองประเภทจะแตกต่างกันในขั้นต้น กล่าวคือหลักสูตรที่สร้างนักดนตรีอาชีพเริ่มด้วยเพลงสาธุการ แล้วต่อด้วยเพลงที่ใช้งาน ส่วนหลักสูตรที่เสริมความรู้ให้แก่ผู้เรียนเริ่มด้วยให้เด็กได้สัมผัสกับดนตรีที่มีความง่ายก่อนจึงเริ่มด้วยเพลงที่มีกระสวนทำนองสั้น ๆ ง่าย ๆ หลักสูตรในขั้นที่สูงขึ้นมีการใช้เพลงในการเรียนการสอนประเภทเดียวกัน 1.2 เนื้อหาด้านทักษะ ทั้งสองหลักสูตรมีการสอนทักษะ 5 ทักษะพื้นฐานที่เหมือนกันคือ การแบ่งมือฆ้อง การตีคู่ ลูกกระทบ กรอ เก็บ แต่หลักสูตรที่สร้างนักดนตรีอาชีพจะมีการเพิ่มเติมทักษะเรื่อง การสะเดาะและสะบัด ในขั้นกลางมีทักษะที่ให้ผู้เรียนได้เริ่มใช้ความคิดเช่น เรื่องการแปรทาง สำหรับทักษะในขั้นสูงผู้เรียนจะศึกษาทักษะการบรรเลงที่ซับซ้อนขึ้นและเรื่องการประพันธ์เพลง 2. การสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมในการเรียนการสอนดนตรีไทย พบว่าผู้สอนจะให้ความสำคัญเรื่องคุณธรรมจริยธรรมมากกว่าผู้เรียนในทุกประเด็น ด้านความคิดเห็นของผู้สอนในวงไทยบรรเลงได้ให้ความสำคัญในเรื่องความรักสามัคคีมากที่สุด ส่วนด้านที่ผู้สอนให้ความสำคัญน้อยที่สุดคือความอดทน อดกลั้น โดยมีคะแนนเฉลี่ยที่ 4.91 และ 4.58 ตามลำดับ สำหรับความคิดเห็นของผู้เรียนในวงไทยบรรเลงให้ความสำคัญในเรื่องความสนใจใฝ่รู้มากที่สุด ส่วนประเด็นที่ผู้เรียนให้ความสำคัญน้อยที่สุดคือเรื่องการละเว้นสิ่งเสพติดและการพนันมีค่าเฉลี่ยที่ระดับคะแนน 4.54 และ 3.74 ตามลำดับen_US
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to study the content of the curricula used by the Thaibanleng Ensemble and how the teachers included moral teaching in their instruction. Interviews and observations were used as the methods of study in this qualitative research. The results of this research are as follows. The research found that there are two curricula used by the Thaibanleng Ensemble : a vocational - based curriculum and an extra - activity curriculum. The content of the teaching includes repertoire and instrument playing skills. The repertoire of the vocational curriculum starts with “Sa-dhu-karn” followed by pieces that are normally required at performances, where as the repertoire of the extra - activity curriculum starts with short and simple pieces that have short and easy melodic patterns. Both curricula use a similar repertoire when students - progress to the intermediate level. In terms of playing skills, the vocational curriculum adds two more skills, which are playing triplets in one pitch and playing triplets in three pitches, to the five basic skills that both curricula have in common. At the intermediate level, both curriculums enhance students’ thinking skills encouraging play melodic variations and increasing musicality in playing such as through controlling dynamic variety. At the advanced level, both curricula include complex skills as well as compositional skills. In the area of moral and ethics teaching, the teachers put a higher emphasis on all 12 topics, than what the students perceived. From the teacher’s perspective, the instruction put the strongest emphasis on the unity of the class (M = 4.91) and put the least emphasis on endurance ( M = 4.58). From the students’ perspective, they feel that the instruction put the strongest emphasis on self motivation (M = 4.54 ) and put the least emphasis on avoiding bad behavion (M =3.74).en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1382-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectดนตรีกับศีลธรรมจรรยาen_US
dc.subjectวงดนตรีไทยen_US
dc.subjectดนตรีไทย -- หลักสูตรen_US
dc.subjectวงไทยบรรเลง (สมุทรสงคราม)en_US
dc.subjectดนตรีไทย -- การสอนen_US
dc.subjectการบริหารองค์ความรู้en_US
dc.subjectMusic and moralsen_US
dc.subjectBands (Music), Thaien_US
dc.subjectMusic -- Education -- Curricula-
dc.subjectMusic -- Teaching-
dc.subjectThaibanleag ensemble (Samutsongkhram)-
dc.subjectKnowledge management-
dc.titleการถ่ายทอดวัฒนธรรมดนตรีไทยของชุมชนอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม : กรณีศึกษาวงไทยบรรเลงen_US
dc.title.alternativeThai music cultural transmission of Amphawa Community in Samutsongkhram Province : a case study of Thaibanleag ensembleen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineดนตรีศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisor[email protected], [email protected]-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2010.1382-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
sophon_de.pdf10.78 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.