Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35868
Title: | A comparison of masticatory efficiency using the wax cube analysis method before and after implant-retained lower complete denture insertion |
Other Titles: | เปรียบเทียบประสิทธิภาพการบดเคี้ยวด้วยวิธีวิเคราะห์ชิ้นขี้ผึ้งก่อนและหลังการใส่ฟันเทียมทั้งปากล่างคร่อมรากเทียม |
Authors: | Nuntaporn Chokpreecha |
Advisors: | Orapin Kaewplung |
Other author: | Chulalongkorn University. Faculty of Engineering |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | Dentures Mastication ฟันปลอม การบดเคี้ยว |
Issue Date: | 2012 |
Publisher: | Chulalongkorn University |
Abstract: | The purpose of this study was to evaluation masticatory efficiency of implant-retained lower complete denture by using the wax cube analysis method. Thirty-three complete denture wearers (15 males and 18 females, mean age 67.48 ± 6.17 yrs) who received complete dentures treatment from Prosthodontic clinic, Faculty of Dentistry, Chulalongkorn University were selected. The quality and stability of dentures are acceptable except some retention problems of lower denture. All subjects were classified in to 2 groups from mandibular bone height as high and low bone group. First, two dental implant fixtures were placed at lower canine regions, then 3 months later the ball-type attachments were connected to lower denture. The wax cube analysis method was used to evaluate the masticatory efficiency at three times; 1. before implantation 2. within one week after insert implant retained lower complete denture and 3. one month after. Each test used four wax cubes. The chewed wax was captured and analyzed with the Image J program. The result of masticatory efficiency was shown in term of percentage of chewing ability. The result showed that there was a statistically significant difference in the mean values among 3 tests (P≤0.001). Means of percentage of chewing ability after insertion in one week was 23.94 ± 6.58 (baseline = 15.43 ± 4.36) and increased to 28.17 ± 6.16 in one month after but the level of bone could not induce in the subjects had a significant effect on their masticatory performance overtime (P>0.05). From this study concluded that the edentulous patients can improve chewing ability significantly by 2-implant-retained lower complete denture treatment and mandibular bone height had no effect on chewing ability after treatment. |
Other Abstract: | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการบดเคี้ยวของผู้ป่วยฟันเทียมคร่อมรากเทียมในขากรรไกรล่างโดยวิธีวิเคราะห์ชิ้นขี้ผึ้ง มีผู้เข้าร่วมวิจัยจำนวน 33 คน (ชาย 15 คน หญิง 18 คน อายุเฉลี่ย 67.48 ± 6.17ปี) เป็นผู้ป่วยที่ได้รับการใส่ฟันเทียมทั้ง ปากแบบถอดได้จากภาควิชาทันตกรรมประดิษฐ์ คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหา วิทยาลัย โดยที่ฟันเทียมมีประสิทธิภาพในการใช้งานได้ดี มีเสถียรภาพดีแต่มีปัญหาเรื่องการ ยึดอยู่ของฟันเทียมชิ้นล่าง แบ่งผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่มตามความสูงของกระดูกขากรรไกรล่างเป็น กลุ่มกระดูกสูงและกลุ่มกระดูกต่ำ ผู้เข้าร่วมวิจัยเข้ารับการผ่าตัดฝังรากฟันเทียม 2 ตัวบริเวณ ฟันเขี้ยวในขากรรไกรล่างในการผ่าตัดครั้งที่ 1 และใน 3 เดือนต่อมาทำการผ่าตัดครั้งที่ 2 เพื่อ ยึดติดรากฟันเทียมกับหลักยึดชนิดลูกบอลและยึดกับฟันเทียมเดิม การประเมินประสิทธิภาพการบดเคี้ยวทำโดยใช้วิธีวิเคราะห์ชิ้นขี้ผึ้งจำนวน 3 การทดสอบได้แก่ 1. ก่อนผ่าตัดฝังรากฟันเทียม 2. ภายใน 1 สัปดาห์หลังใส่ฟันเทียมคร่อมรากเทียม และ 3. หลังใส่ฟันเทียมคร่อมราก เทียมเป็นเวลา 1 เดือนโดยแต่ละครั้งของการทดสอบจะเคี้ยวชิ้นขี้ผึ้งจำนวน 4 ชิ้นนำชิ้นขี้ผึ้งที่ ผ่านการเคี้ยวแล้วมาถ่ายภาพและวิเคราะห์ความสามารถในการบดเคี้ยวด้วยโปรแกรมอิมเมจเจ ผลของประสิทธิภาพการบดเคี้ยวจะแสดงเป็นร้อยละของความสามารถในการบดเคี้ยวของแต่ละการทดสอบซึ่งจากสถิติวิเคราะห์ พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติของค่าเฉลี่ยร้อยละของความสามารถในการบดเคี้ยวระหว่างการทดสอบแต่ละครั้ง (P≤.001) โดยที่ค่าเฉลี่ยร้อยละของความสามารถในการบดเคี้ยวหลังใส่ฟันเทียมคร่อมราก เทียม 1 สัปดาห์เท่ากับ 23.94 ± 6.58 (ก่อนฝังรากฟันเทียม เท่ากับ 15.43 ± 4.36) และเพิ่มขึ้นเป็น 28.17 ± 6.16 หลังใส่ฟันเทียมคร่อมรากเทียมไปแล้ว 1 เดือน แต่ความสูงของกระดูกไม่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบดเคี้ยวในแต่ละการทดสอบ (P>.05) จากการศึกษานี้สรุปได้ว่าผู้ป่วยไร้ฟันมีความสามารถในการบดเคี้ยวดีขึ้นหลังใส่ฟันเทียม คร่อมรากเทียมในขากรรไกรล่างและความสูงของกระดูกขากรรไกรล่างไม่มีผลต่อความสามารถในการบดเคี้ยวหลังใส่ฟันเทียมล่างคร่อมรากฟันเทียม |
Description: | Thesis (M.Sc.)--Chulalongkorn University, 2012 |
Degree Name: | Master of Science |
Degree Level: | Master's Degree |
Degree Discipline: | Orthodontics |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35868 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.801 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2012.801 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Dent - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
nuntaporn_ch.pdf | 9.71 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.