Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36519
Title: การบริหารทรัพยากรกายภาพอาคารสำนักงานให้เช่าระดับ เอ : กรณีศึกษาอาคารสำนักงานให้เช่า จำนวน 15 อาคาร ในบริเวณศูนย์กลางเขตธุรกิจกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Facility management of grade A offices : case investigations of 15 commercial offices in the central business district of Bangkok
Authors: ธงชัย ทองมา
Advisors: เสริชย์ โชติพานิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: อาคารสำนักงาน -- ไทย -- กรุงเทพฯ
อาคารสำนักงาน -- การจัดการ
การบริหารทรัพยากรกายภาพ
Office buildings -- Thailand -- Bangkok
Office buildings -- Management
Facility management
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: อาคารสำนักงานให้เช่าระดับ เอ ในกรุงเทพมหานคร เป็นประเภทอาคารที่สรรหารายได้และมูลค่าของอาคารจากสภาพอาคารที่ดี ความทันสมัยของระบบประกอบอาคาร การทำงานของระบบประกอบอาคารที่ดี และคุณภาพกาบริหารจัดการจึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญและมีรายละเอียดพิเศษเฉพาะ การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาลักษณะทางกายภาพและการใช้อาคาร รูปแบบ แนวทาง วิธีการบริหารงานลักษระโครงสร้างองค์กรของหน่วยงาน และขอบเขต ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารทรัพยากรกายภาพ ของอาคารสำนักงานให้เช่าระดับ เอ ในกรุงเทพมหานคร แนวทางในการศึกษาแบบกรณีศึกษา (Case study approach) และใช้วิธีการเลือกกณีศึกษาแบบเจาะจง (Purposive sampling) ให้สอดคล้องกับการเข้าถึงข้อมูลและระยะเวลาศึกษาที่จำกัด โดยใช้วิธีการสำรวจและสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือหลักในการรวบรวมข้อมูล จากการศึกษาพบว่า อาคารสำนักงานให้เช่าระดับ เอ ในกรงเทพมหานคร ทั้ง 15 อาคาร มีแนวความคิดในเรื่องของนโยบาย ได้แก่ การสร้างความปลอดภัยต่อผู้ใช้อาคาร การดูแลรักษาอาคาร และคุณภาพงานบริการ และมีวัตถุประสงค์หลัก ได้แก่ เพื่อการรักษาสภาพอาคารและระบบประกอบอาคาร การให้บริการที่ดีมีมาตรฐานและสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า การสร้างความปลอดภัย และขอบเขตความรับผิดชอบงานการบริหารทรัพยากรกายภาพ พบว่ามี 3 ส่วน ได้แก่ 1) ส่วนบริหาร จะให้ความสำคัญในเรื่องต่างๆ ได้แก่ การกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ และกำกับดูแล ประเมินผล 2) ส่วนจัดการ จะให้ความสำคัญในเรื่องต่างๆ ได้แก่ การกำหนดหน้าที่ และขอบเขตในการปฏิบัติงาน การจัดการพื้นที่ใช้สอยอาคาร การจัดการประสานงาน ควบคุม กำกับ ประเมินผล การจัดหางานการบริการและการดูแลรักษาอาคารที่จำเป็นให้แก่ผู้ใช้อาคารและอาคาร การจัดการจัดทำงบประมาณประจำปี การจัดการบำรุงรักษาเชิงป้องกันและการจัดทำแผนการบำรุงรักษาเชิงป้องกันประจำปี การรักษาสภาพทรัพยากรภายภาพ การจัดการความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เป็นต้น 3) ส่วนปฏิบัติการ จะให้ความสำคัญในเรื่องต่างๆ ได้แก่ งานบำรุงรักษาอาคารและโครงสร้าง งานบำรุงรักษาระบบประกอบอาคาร งานรักษาความสะอาด งานรักษาความปลอดภัย การป้องกันและกำจัดแมลง งานดูแลสวนและงานการรักษาภูมิทัศน์ งานบริการพิเศษหรืองานเฉพาะทางหรือเจ้าของผลิตภัณฑ์ เป็นต้น รูปแบบการบริหารทรัพยากรกายภาพ (Facility management) พบว่ามี 3 ลักษณะที่ 1 แบบบริหารจัดการดำเนินการเอง (In-house) คิดเป็น 100% ส่วนการปฏิบัติการและการบริการจัดจ้างภายนอก (Outsourcing) คิดเป็น 80-90% พบ 8 อาคาร ลักษณะที่ 2 แบบบริหารจัดการจัดจ้างภายนอก (Outsourcing) คิดเป็น 80-90% พบ 6 อาคาร ลักษณะที่ 3 แบบก้ำกึ่งหรือแบบผสม พบ 1 อาคาร โครงสร้างของหน่วยงานการบริหารทรัพยากรกายภาพ พบว่ามี 3 โครงสร้าง และรูปแบบการบริหารทรัพยากรกายภาพ พบมี 6 แบบ จากการศึกษาสรุปได้ว่าการบริหารจัดการอาคารสำนักงานให้เช่า การบริหารจัดการโดยการดำเนินการเองกับการจัดจ้างภายนอกให้ผลไม่แตกต่างกันมาก แต่สิ่งที่สำคัญ ได้แก่ การกำหนดนโยบาย การจัดสรรงบประมาณ กำลังของบุคคลากรกับงาน มีความเข้าใจและเอาใจใส่ในการติดตามงานอย่างไร การบริหารทรัพยากรกายภาพของอาคารสำนักงาน รูปแบบ แนวทาง วิธีการบริหารงานลักษณะโครงสร้างองค์กรของหน่วยงาน และขอบเขต ของงานการจัดการและงานปฏิบัติการจะมีแนวโน้มที่ใช้ทางเลือก แบบจัดจ้างภายนอก (Outsourcing) เพิ่มมากขึ้น
Other Abstract: Grade A office buildings in Bangkok are of high value because of their excellent condition, modern facilities, and effective facility management. The purpose of this study is to investigate physical condition and uses of grade A office buildings as well as recommend guidelines to help improve the facility management of fifteen commercial office buildings in the central business district of Bangkok. This study adapted multiple case study approach, using purposive sampling criteria in selecting 15 case studies in collecting data and information, semi-structured interview and documentary search were used as main methods. The findings show that the office buildings share similar policies regarding security systems, building maintenance, and quality of services, with the main focus being on building maintenance and building construction management. For service standards, customer satisfaction, security systems, and facility management, three components are considered most important - administration, management, and operations. The administration deals with policy and strategic planning, monitoring, and evaluation. The management team focuses on assigning roles and responsibilities, managing building functional areas, coordinating among different sections, outsourcing needed services and building maintenance, annual budgeting, and providing preventive maintenance services such as annual maintenance planning, facilities maintenance, and security of life and property. The operations section is concerned with the actual maintenance of the buildings, facilities, cleaning, security systems, insect control, gardens, overall landscaping, and special services upon request. Facility management can be classified into three categories: in-house management (100% or eight buildings), outsourcing management (80-90% or six buildings), and mixed management (one building). The study shows a total of three kinds of management structures and six types of facility management.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36519
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1223
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.1223
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
thongchai_th.pdf18.53 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.