Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3729
Title: ผลของเคอร์เซตินและนารินเจนิน ต่อความสามารถในการหดตัวของหลอดเลือดแดงใหญ่ที่แยกจากกายหนูขาว
Other Titles: Effects of quercetin and naringenin on contractility of isolated rat thoracic aorta
Authors: ปารณีย์ ญาติมาก, 2523-
Advisors: สุรีย์ เจียรณ์มงคล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: เคอร์เซติน
นารินเจนิน
ฟลาโวนอยส์
ระบบหัวใจและหลอดเลือด
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: Quercetin และ naringenin เป็นสารในกลุ่ม flavonoids ที่พบในผลิตภัณฑ์จากพืชสมุนไพรหลายชนิด ซึ่งมีการนำมาบริโภคในรูปของอาหารเสริม เนื่องจากเชื่อว่ามีฤทธิ์ในการป้องกันโรคหลอดเลือดและหัวใจ จึงต้องการศึกษาผลของ quercetin และ naringenin ต่อความสามารถในการหดตัวของกล้ามเนื้อเรียบ ของหลอดเลือดแดงใหญ่ที่ได้มาจากหนูขาวสายพันธุ์ Wistar เพศผู้ น้ำหนัก 250-300 กรัม มาขูดเอา endothelium ออก แล้ววัดผลการหดตัวของกล้ามเนื้อเรียบหลอดเลือด แบบ Isometric ผลการศึกษาพบว่า quercetin ความเข้มข้น 50 micrometre-1 mM และ naringenin ความเข้มข้น 50 micrometre - 3 mM สามารถลดการหดตัวเมื่อกระตุ้นด้วย PE 10 micrometre และ KCl 40 mM อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ quercetin และ naringenin ความเข้มข้น 500 micrometre ยังสามารถลดการหดตัวที่ถูกกระตุ้นด้วย PE 10 micrometre ในสารละลาย Ca[superscript 2+] free Krebs-Henseleit solution แต่มีเพียง naringenin ความเข้มข้น 500 micrometre สามารถลดการหดตัวที่ถูกกระตุ้นด้วย caffeine 10 mM ยิ่งไปกว่านั้น quercetin และ naringenin ความเข้มข้น 500 micrometre สามารถลดการเกิด increase in the resting tone in aorta (IRT) ได้ รวมถึงมีผลลดการหดตัวเมื่อถูกกระตุ้นด้วย CaCl[subscript 2] แบบสะสมความเข้มข้นในสารละลาย high K[superscript +], Ca[superscript 2+] free solution นอกจากนี้ quercetin และ naringenin ทำให้กล้ามเนื้อหลอดเลือดคลายตัวได้โดยไม่ขึ้นกับ endothelium และ propranolol สามารถยับยั้งฤทธิ์ของ quercetin และ naringenin ในการคลายตัวของหลอดเลือดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วน indomethacin, atropine, glybenclamide, 4-AP สามารถยับยั้งฤทธิ์ของ naringenin ในการคลายตัวของหลอดเลือดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่ TEA, methylene blue, L-NAME ไม่มีผลต่อฤทธิ์ในการคลายหลอดเลือดของ quercetin และ naringenin จึงอาจสรุปได้ว่า quercetin และ naringenin อาจจะมีผลโดยตรง ต่อการทำงานของกล้ามเนื้อเรียบหลอดเลือดผ่านทางหลายกลไก โดยส่วนหนึ่งเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ของ Ca[superscript 2+] จากภายนอกเข้าสู่ภายในเซลล์ และบางส่วนมีผลต่อ Ca[superscript 2+] จากภายในเซลล์ อีกทั้งยังทำให้หลอดเลือดคลายตัวได้โดยไม่ขึ้นกับ endothelium รวมทั้งกลไกการออกฤทธิ์คลายหลอดเลือดของ quercetin และ naringenin ในสภาวะที่ไม่มี endothelium อาจเกี่ยวข้องกับการกระตุ้น beta-adrenoceptor นอกจากนี้ naringenin นั้นอาจมีบางส่วนเกี่ยวข้องกับการกระตุ้น K[superscript +] channel, COX pathway และ muscarinic receptor
Other Abstract: Debranching enzyme, one of enzymes involved in starch biosynthesis in plants, catalyzes the hydrolysis of alpha-1,6-glucosidic linkages specifically in alpha-glucan. The enzyme can show either pullulanase or isoamylase activity or both. Debranching enzyme was detectable in parenchyma of cassava tuber but not in cortex. Starch debranching enzyme was purified from parenchyma of cassava tuber by 20-50% saturated ammonium sulfate precipitation followed by chromatographies on DEAE-Sepharose and Sephadex G-150, which resulted in purity of 18 folds. The chromatographic profile showed a peak of pullulanase activity with molecular weight of 103 kDa on Sephadex G-150 and 35 kDa on SDS-PAGE. The debranching enzyme had a pI of 4.75, a pH optimum of 6.0, optimum temperature 37 ํC, and stable at 4-40 ํC. The enzyme showed high specificity for pullulan as a substrate, but lower activity with soluble starch and amylopectin. The K[subscript m] for pullulanase was 0.88 mg/ml. It can be activated by DTT but inhibited by NEMand IAA, indicating the involvement of SH-group on pullulanase activity. The enzyme was activated by Mn[superscript 2+] and Co[superscript 2+] but inhibited by Ni[superscript 2+], Hg[superscript 2+]and Cu[superscript 2+]
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เภสัชวิทยา (สหสาขาวิชา)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3729
ISBN: 9745311383
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Paranee.pdf2.27 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.