Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42776
Title: | การพัฒนารูปแบบการเทียบเคียงสมรรถนะอีเลิร์นนิงสำหรับสถาบันอุดมศึกษา |
Other Titles: | DEVELOPMENT OF AN E-LEARNING BENCHMARKING MODEL FOR HIGHER EDUCATION INSTITUTIONS |
Authors: | จิรศักดิ์ แซ่โค้ว |
Advisors: | อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง จินตวีร์ คล้ายสังข์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] [email protected] |
Subjects: | การเปรียบเทียบจุดเด่น (การจัดการ) การเรียนรู้ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยีทางการศึกษา ปริญญาดุษฎีบัณฑิต Benchmarking (Management) Educational technology |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนารูปแบบการเทียบเคียงสมรรถนะอีเลิร์นนิงสำหรับสถาบันอุดมศึกษา การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 สังเคราะห์องค์ประกอบและขั้นตอนการเทียบเคียงสมรรถนะ ขั้นตอนที่ 2 สังเคราะห์และพัฒนาตัวชี้วัดอีเลิร์นนิง ขั้นตอนที่ 3 รับรองรูปแบบการเทียบเคียงสมรรถนะอีเลิร์นนิงสำหรับสถาบันอุดมศึกษา ขั้นตอนที่ 4 ทดลองใช้รูปแบบการเทียบเคียงสมรรถนะอีเลิร์นนิงสำหรับสถาบันอุดมศึกษา ขั้นตอนที่ 5 นำเสนอรูปแบบการเทียบเคียงสมรรถนะอีเลิร์นนิงสำหรับสถาบันอุดมศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการเทียบเคียงสมรรถนะ จำนวน 5 คน ผู้เชี่ยวชาญด้านอีเลิร์นนิง จำนวน 12 คน ผู้ทรงคุณวุฒิรับรองรูปแบบฯ จำนวน 12 คน สถาบันอุดมศึกษาที่ดำเนินงานอีเลิร์นนิงเพื่อทดลองใช้รูปแบบ 2 สถาบัน ผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อพิจารณาและรับรองรูปแบบฯ จำนวน 3 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสังเคราะห์เนื้อหา 2) แบบสอบถาม 3) แบบประเมิน 4) แบบรับรองรูปแบบ 5) แบบประเมินการใช้รูปแบบ 6) แบบพิจารณาและรับรองรูปแบบ การวิเคราะห์ข้อมูลดำเนินการโดยการสังเคราะห์เนื้อหา และการใช้สถิติเชิงบรรยาย ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการเทียบเคียงสมรรถนะอีเลิร์นนิงสำหรับสถาบันอุดมศึกษา ประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ คือ 1) ทีมงาน 2) หัวข้อการเทียบเคียงสมรรถนะ 3) องค์กรคู่เทียบเคียงสมรรถนะ 4) ตัวชี้วัดในการเทียบเคียงสมรรถนะ 5) วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล 6) การวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผล 7) รายงานผลการเทียบเคียงสมรรถนะ และ 8) แผนดำเนินงานสู่การปฏิบัติ 2. รูปแบบการเทียบเคียงสมรรถนะอีเลิร์นนิงสำหรับสถาบันอุดมศึกษา ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นวางแผน มี 6 ขั้นตอนย่อย 2) ขั้นดำเนินการ มี 2 ขั้นตอนย่อย 3) ขั้นตรวจสอบ มี 3 ขั้นตอนย่อย 4) ขั้นแก้ไข มี 3 ขั้นตอนย่อย 3. รูปแบบการเทียบเคียงสมรรถนะอีเลิร์นนิงสำหรับสถาบันอุดมศึกษา มีตัวชี้วัด 7 ตัวชี้วัด คือ 1) สถาบันและองค์กร มี 15 ตัวชี้วัดย่อย 2) หลักสูตรและการออกแบบการเรียนการสอน มี 18 ตัวชี้วัดย่อย 3) ทรัพยากร เทคโนโลยี และเทคโนโลยีสารสนเทศ มี 13 ตัวชี้วัดย่อย 4) กระบวนการเรียนการสอน มี 11 ตัวชี้วัดย่อย 5) ผู้เรียน มี 7 ตัวชี้วัดย่อย 6) คณาจารย์และบุคลากร มี 5 ตัวชี้วัดย่อย และ 7) การวัดและประเมินผล มี 8 ตัวชี้วัดย่อย ผลการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า รูปแบบการเทียบเคียงสมรรถนะอีเลิร์นนิงสำหรับสถาบันอุดมศึกษา สามารถนำไปใช้สร้างแผนพัฒนาอีเลิร์นนิง เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงาน และบริหารจัดการอีเลิร์นนิงให้ประสบผลสำเร็จตามมาตรฐานอีเลิร์นนิงสำหรับสถาบันอุดมศึกษาได้ |
Other Abstract: | The purpose of this research was to develop an e-learning benchmarking model for higher education institutions. The research was conducted in 5 stages: stage 1 synthesizing components and steps of benchmarking; stage 2 synthesizing and developing e-learning indicators; stage 3 certifying e-learning benchmarking model for higher education; stage 4 trying e-learning benchmarking model for higher education; and stage 5 presenting an e-learning benchmarking model for higher education institutions. The samples used in this study included 5 benchmarking experts, 12 e-learning experts, 12 qualified persons for benchmarking model, 2 higher education institutions that operate e-learning trial, and 3 qualified persons for assessment and certification an e-learning benchmarking model for higher education institutions. The research tools consisted of 1) synthetic material, 2) questionnaire, 3) assessment form, 4) certification form, 5) assessment form for benchmarking model; and 6) assessment and certification form. Data were analyzed by using synthesis content and descriptive statistics. The findings were as follows: 1. An e-learning benchmarking model for higher education consisted of 8 components: 1) team members, 2) benchmarking topic, 3) comparative companies, 4) benchmarking indicators, 5) data collection method 6) data analysis and results 7) report of results; and 8) action plan. 2. An e-learning benchmarking model for higher education consisted of 4 phases: 1) 6 sub-stage strategic phase 2) 2 sub-stage action phase, 3) 3 sub-stage verifying phase; and 4) 3 sub-stage revision phase. 3. An e-learning benchmarking model for higher education comprised 7 indicators which are: 1) institutions and organizations with 15 sub-indicators, 2) curriculum and instructional design with 18 sub-indicators, 3) technology and information resources with 13 sub-indicators, 4) learning and teaching with 11 sub-indicators, 5) learners with 7 sub-indicators, 6) faculty and staff with 5 sub-indicators; and 7) measurement and evaluation with 8 sub-indicators. The results obtained from experts revealed that an e-learning benchmarking model for higher education institutions can be applied to develop e-learning strategies in order to guide, implement, and manage e-learning to achieve the standards for higher education institutions. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42776 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.257 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2013.257 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5284211527.pdf | 8.07 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.