Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43489
Title: การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างแคลคูเลทเต็ดพาเนลรีแอคทีฟแอนติบอดี้และโฟลไซโตเมทรีเบสพาเนลรีแอคทีฟแอนติบอดี้ในผู้ป่วยรอรับการปลูกถ่ายไต
Other Titles: COMPARISON STUDY OF CALCULATED PANEL REACTIVE ANTIBODY AND FLOW CYTOMETRY-BASED PANEL REACTIVE ANTIBODY IN KIDNEY TRANSPLANT RECIPIENT WAITING LIST
Authors: พิชิต เบ็ญจสุพัฒนนันท์
Advisors: เกื้อเกียรติ ประดิษฐ์พรศิลป์
ภาวิณี คุปตวินทุ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
ไม่มีข้อมูล
Subjects: ไต -- การปลูกถ่าย
การบริจาคอวัยวะ เนื้อเยื่อ ฯลฯ
Kidneys -- Transplantation
Donation of organs, tissues, etc.
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ความเป็นมาและเหตุผล: Panel Reactive Antibody (PRA) เป็นการตรวจหาภูมิต้านทานต่อ Human Leukocyte Antigen (HLA Ab) ใช้ทำนายโอกาสการทดสอบการเข้ากันได้ระหว่างผู้บริจาคไตและผู้ป่วยรอรับการปลูกถ่ายไตเป็นบวก (positive crossmatch) ซึ่งเป็นข้อห้ามต่อการปลูกถ่ายไต ค่า PRA ที่สูงสัมพันธ์กับระยะเวลาในการรอรับไตบริจาคที่นาน การจัดสรรไตของประเทศไทยจึงมีการให้แต้มต่อสำหรับผู้ที่มีค่า PRA มากเพื่อเพิ่มโอกาสในการได้รับไตบริจาค อย่างไรก็ตามการตรวจ PRA โดยวิธี solid phase immunoassay PRA (SPI-PRA) ในปัจจุบันไม่อาจทำนายโอกาส positive crossmatch ได้แม่นยำ และอาจเกิดความไม่เป็นธรรมในการจัดสรรอวัยวะได้ วิธีใหม่ที่เรียกว่า Calculated PRA (CPRA) คำนวณจากสัดส่วนของ HLA Ab ที่ผู้ป่วยรอรับการปลูกถ่ายไตมีซึ่งตรวจด้วยวิธี single antigen bead assay (SAB) เทียบกับข้อมูลความถี่ของ HLA (HLA frequency) ในแต่ละประชากรผู้บริจาคไต SAB เป็นการตรวจหา HLA Ab ที่มีความไวและความจำเพาะสูงที่สุดในปัจจุบัน ตามหลักการแล้ว CPRA จะสะท้อนความเสี่ยงทางภูมิคุ้มกันในการปลูกถ่ายไตได้แม่นยำกว่า วัตถุประสงค์: เพื่อสร้างนวัตกรรมซอฟแวร์คำนวณ CPRA ของประเทศไทย และเปรียบเทียบ CPRA กับ SPI-PRA ในผู้ป่วยรอรับการปลูกถ่ายไต วิธีการ: รวบรวม HLA phenotype 4 allele คือ HLA-A, -B, -DR และ -DQ มาจากประชากรไทย 1,160 คน มาสร้างตาราง HLA frequency ได้แก่ HLA-A, -B, -DR, -DQ, -A-B, -A-DR, -A-DQ, -B-DR, -B-DQ, -DR-DQ, -A-B-DR, -A-B-DQ, -A-DR-DQ, -B-DR-DQ และ -A-B-DR-DQ haplotypes และพัฒนาซอฟแวร์ Thai CPRA calculator ขึ้นมา จากนั้นทำการเปรียบเทียบ CPRA กับ SPI-PRA ในผู้ป่วยชาวไทยโรคไตเรื้อรังจำนวน 150 ราย ความถูกต้องของซอฟแวร์ตรวจสอบโดยเปรียบเทียบกับการคำนวณด้วยมือ ผลการดำเนินการ: ค่า CPRA โดยซอฟแวร์ Thai CPRA calculator ถูกต้องตรงกับการคำนวณด้วยมือ ค่าเฉลี่ยของ CPRA มากกว่าของ SPI-PRA อย่างมีนัยสำคัญ (ร้อยละ 54.5 เทียบกับ 25.2; P<0.001) ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง 150 รายมีค่า SPI-PRA อยู่ในช่วงน้อยกว่าร้อยละ 50, 50-80 และมากกว่า 80 จำนวน 116, 24 และ 10 คน ตามลำดับ ในกลุ่มที่มีค่า SPI-PRA น้อยกว่าร้อยละ 50 และ 50-80 พบว่าค่าเฉลี่ยของ CPRA มีค่ามากกว่าค่าเฉลี่ยของ SPI-PRA อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ ร้อยละ 45.0 เทียบกับ 10.9 (P<0.001) และร้อยละ 84.8 เทียบกับ 67.4 (P<0.001) ตามลำดับ ส่วนในกลุ่มที่มีค่า SPI-PRA มากกว่าร้อยละ 80 ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญของค่าเฉลี่ยของ CPRA และ SPI-PRA (ร้อยละ 92.6 เทียบกับ 89.5; P=0.44) สรุป: จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการใช้ SPI-PRA ในจัดสรรไตในปัจจุบันน่าจะมีการให้แต้มต่ออย่างไม่เป็นธรรมในผู้ป่วยรอรับการปลูกถ่ายไตบางรายที่มีค่า SPI-PRA น้อยกว่าร้อยละ 80 CPRA น่าจะเป็นเครื่องมือที่ดีกว่าสำหรับระบบการจัดสรรไตของประเทศไทย
Other Abstract: Background: Panel Reactive Antibody (PRA) testing detects preformed antibody to Human Leukocyte Antigen (HLA Ab) and predicts the likelihood of positive crossmatch. Positive crossmatch is contraindication for kidney transplantation. High percentage PRA has been associated with waiting time for cadaveric donor. Thai kidney allocation system awards high PRA kidney transplant recipient waiting list (KTRWL) an additional privilege by scoring to increase their access to potentially compatible donors. However, currently used solid phase immunoassay PRA (SPI-PRA) can not accurately predict positive crossmatch, and cause bias for organ allocation. Calculated PRA (CPRA) estimates preformed HLA antibodies by using single antigen bead assay (SAB) and compares with HLA frequency of each specific donor population. SAB is the most sensitive and specific assay to detect HLA Ab. Rationally, CPRA reflects more accurate immunological risk assessment for organ transplantation. Objectives: We aimed to develop the innovative Thai CPRA estimation tool and compared CPRA with SPI-PRA in renal transplant recipients. Methods: We collected HLA phenotype 4 alleles, HLA-A, -B, -DR and -DQ, from 1,160 healthy Thais. The HLA frequency namely; HLA-A, -B, -DR, -DQ, -A-B, -A-DR, -A-DQ, -B-DR, -B-DQ, -DR-DQ, -A-B-DR, -A-B-DQ, -A-DR-DQ, -B-DR-DQ and -A-B-DR-DQ haplotypes were generated for Thai CPRA calculator software. The software was used to compare CPRA with SPI-PRA in 150 Thai end stage renal disease (ESRD) patients. The validation of Thai CPRA calculator was done by manual method. Results: CPRA by software had 100% concordance with manual method. Mean of CPRA was statistically significantly higher than the mean of SPI-PRA (54.5% versus 25.2%; P<0.001). Among 150 ESRD patients, 116, 24 and 10 had SPI-PRA <50%, 50-80% and >80% respectively. In SPI-PRA <50% and 50-80%, the mean of CPRA was statistically significantly higher than the mean of SPI-PRA, 45.0% versus 10.9% (P<0.001) and 84.8% versus 67.4% (P<0.001), respectively. In SPI-PRA >80%, there was no significant different between the mean of CPRA and the mean of SPI-PRA (92.6% versus 89.5%; P=0.44). Conclusions: Our study suggests that organ allocation scoring system using SPI-PRA may award point unfairly to KTRWLs with PRA <80%. CPRA can be a better tool for the national kidney organ allocation.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43489
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.953
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.953
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5574152830.pdf3.51 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.