Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43501
Title: | การตอบสนองทางภูมิคุ้มกันต่อการได้รับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าโดยการฉีดเข้าในผิวหนังแบบภายหลังสัมผัสโรคครบภายใน 2 สัปดาห์ |
Other Titles: | IMMUNE RESPONSE TO TWO-WEEK INTRADERMAL REGIMEN FOR RABIES POSTEXPOSURE PROPHYLAXIS |
Authors: | สุนีย์ เมธาจิรภัทร |
Advisors: | ธีระพงษ์ ตัณฑวิเชียร ผกามาศ ขาวปลอด |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | โรคกลัวน้ำ -- การฉีดวัคซีน ภูมิคุ้มกัน Rabies -- Vaccination Immunity |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ความสำคัญและที่มา : โรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ โดยการฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าแบบให้ก่อนหรือหลังสัมผัสโรค โดยฉีดเข้าในผิวหนังแบบ modified TRC-ID regimenใช้เวลา 28 วันจึงจะได้วัคซีนครบกำหนด ทำให้การได้รับวัคซีนไม่ครบอาจพบได้บ่อยกว่าในการฉีดวัคซีนแบบเข้ากล้ามเนื้อ เนื่องจากระยะเวลาที่นานกว่าจึงเกิดการลืมได้ ดังนั้น หากลดระยะเวลาการรับวัคซีนให้สั้นลงจากเดิมโดยการฉีดเข้าในผิวหนังครบใน 14 วันน่าจะทำให้อัตราการได้รับวัคซีนครบกำหนดมากขึ้น จึงเป็นที่มาของการศึกษานี้ วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาระดับของภูมิคุ้มกันในอาสาสมัครที่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าแบบฉีดเข้าในผิวหนัง 2-2-2-2-0-0 ที่ขึ้นถึงระดับที่มากกว่าหรือเท่ากับ 0.5 ยูนิตต่อมิลลิลิตร ระเบียบวิธีวิจัย : อาสาสมัครมารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าโดยฉีดเข้าในผิวหนัง 2 จุด จุดละ 0.1 มิลลิลิตรในวันแรก วันที่ 3 วันที่ 7 และในวันที่ 14 และทำการเก็บตัวอย่างเลือดเพื่อส่งตรวจวัดระดับของภูมิคุ้มกันในวันแรก, วันที่ 14, วันที่ 30 และวันที่ 90 ผลการวิจัย : จากอาสาสมัคร35 คนมี 6คนมีภูมิคุ้มกันอยู่แล้ว จึงถูกคัดออก เหลืออาสาสมัครที่เข้าร่วมการศึกษา 29 คน โดยพบว่าอาสาสมัครทุกคนมีระดับภูมิคุ้มกันมากกว่าระดับที่ถือว่าสามารถป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าได้คือ 0.5 IU/mlในวันที่ 14 โดยมีระดับของค่าเฉลี่ยของระดับภูมิคุ้มกัน (GMTs) เท่ากับ 10.39 ยูนิตต่อมิลลิลิตรโดยมีค่าอยู่ในช่วงตั้งแต่ 4.03 – 30.84 ยูนิตต่อมิลลิลิตร และอาสาสมัครมีระดับภูมิคุ้มกันถึงระดับที่สามารถป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าได้ในวันที่ 90 โดยมีระดับของค่าเฉลี่ยของระดับภูมิคุ้มกัน (GMTs) เท่ากับ1.88 ยูนิตต่อมิลลิลิตร โดยมีค่าอยู่ในช่วงตั้งแต่ 0.57 – 6.77 ยูนิตต่อมิลลิลิตร สรุป: ในวันที่ 90 หลังจากการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าขนาดปกติครบ2 สัปดาห์ ในอาสาสมัคร มีระดับภูมิคุ้มกันที่สูงกว่าระดับที่องค์การอนามัยโลกยอมรับในการป้องกันโรค ร้อยละ100 ไม่แตกต่างจากสูตรที่เป็นมาตราฐาน ดังนั้น การฉีดวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้าแบบฉีดเข้าในผิวหนังเข็มสุดท้าย สามารถฉีดได้ระหว่างวันที่ 14 ถึงวันที่ 28 ในผู้ป่วยที่มีบาดแผลตาม WHO category II |
Other Abstract: | Background : Rabies is an acute progressive fatal encephalitis in developing countries that can be prevented by preexposure or postexposure rabies vaccination. The modified Thai Red Cross intradermal regimen, takes 28 days to make the complete vaccination in non-immunized patient, is more used the intramuscular regimen than in developing countries in Asia. So if shorten the vaccination from 28 days to 14 days, the rate of complete vaccination should be increase. Objective : to study the antibody response of the two-week intradermal regimen for rabies postexposure prophylaxis (2-2-2-2-0-0) in healthy volunteers. Methods : Thirty-five healthy volunteers received two-week intradermal regimen postexposure rabies vaccination . Rabies neutralizing antibody (Nab.) titers were determined by the rapid fluorescent focus inhibition test on day 0, 14, 30 and 90. Results :Six from thirty-five healthy volunteers who already had significant Nab. titer at day 0 was excluded. The response rate was defined by the proportion of the patients who had protective antibody titer greater than 0.5 IU/ml(acceptable protective level). At day 14, all volunteers developed protective antibody titer above 0.5 IU/ml(response rate 100%) and geometric mean titers(GMTs) was 10.38 IU/ml (range 4.03 – 30.84 IU/ml). At day 90, all volunteers have Nab. titer over protective level(response rate 100%) and mean GMTs was 1.88 IU/ml(range 0.57 – 6.77 IU/ml). No serious adverse reactions had been reported during the experiment . Conclusion : At day 90 after two-week intradermal regimen for rabies postexposure vaccination, all volunteers had Nab. titers above acceptable rabies protection established by WHO. New 2-week intrademal without RIG regimen may be used for patients who has rabies exposure as WHO category II. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | อายุรศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43501 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.981 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2013.981 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5574177530.pdf | 2.48 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.